สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทศ.ออกเอกสารคำชี้แจงกรณีข้อสอบ O-NET ประจำปีการศึกษา 2553 ดังนี้
คำชี้แจงเกี่ยวกับข้อสอบ O‐NET
1. ทำไมจึงเปลี่ยนรูปแบบข้อสอบ
เพราะข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก เลือก 1 คำตอบ ทำให้มีโอกาสเดาถูก ¼ ตัวอย่างที่พบคือมีนักเรียนไม่รู้ภาษาอาหรับ แต่เมื่อสอบแล้วกลับมีคะแนน แสดงว่าต้องปรับปรุงเครื่องมือวัด โดยทฤษฎีเสนอให้เพิ่มตัวเลือกมากกว่า 4 ตัวเลือก หรือให้ถามคำถามจับคู่ (matching)
2. เปลี่ยนรูปแบบทุกวิชาหรือไม่
บางวิชา (เอกสารหมายเลข 1) โดยยังคงข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกไว้เป็นส่วนใหญ่
3. เปลี่ยนรูปแบบได้อะไร
คะแนนที่ได้จะสะท้อนความสามารถจริง ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้น การนำคะแนนที่เชื่อถือได้น้อยไปใช้ประโยชน์เป็นอันตรายมาก
4. ข้อสอบของสทศ.สวนทางกับการสอนในโรงเรียน
ข้อสอบของสทศ.เน้นการคิดวิเคราะห์ เพราะ
4.1 สังคมต้องการเด็กไทยที่คิดวิเคราะห์ได้
4.2 หลักสูตรเน้นที่การคิดวิเคราะห์
4.3 ใน ปพ.1 (Transcript หรือสมุดพก) โรงเรียนประเมินผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนได้ 3 ระดับ คือ ดีเยี่ยม ดี และผ่านเกณฑ์การประเมิน (เอกสารหมายเลข 2)
5. นักเรียนจะสับสนกับรูปแบบข้อสอบใหม่หรือไม่
ไม่น่าจะสงสัย เพราะมีคำชี้แจงในการตอบ และอธิบายพร้อมยกตัวอย่างในการตอบ
อ่านคำชี้แจงการสอบ O-NET ม.6 ประจำปีการศึกษา 2553 เพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ
สทศ.เผย มีแนวโน้ม ปรับเกณฑ์ให้คะแนน โอเน็ต
คำชี้แจงเกี่ยวกับการสอบ O-NET ม.6 ข้อสอบวิชาสุขศึกษาฯ
คำชี้แจงเกี่ยวกับการสอบ O-NET ม.6 ข้อสอบวิชาศิลปะ
คำชี้แจงเกี่ยวกับการสอบ O-NET ม.6 ข้อสอบวิชาสังคมศึกษา
นักเรียน โต้ สทศ. หากอยากได้คะแนน ต้องเดาใจคนออกข้อสอบ
o-net ม.6 ประกาศเร็วขึ้นปลาย มี.ค.
นักเรียนเผย หากอยากได้คะแนน ต้องเดาใจคนออกข้อสอบ
นักเรียน VS. สทศ. กับข้อโต้แย้ง O-Net
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก