นักฟิสิกส์ไทย พบสูตรคำนวณ Chachiyo’s formula ที่นักวิทย์ฯ เฝ้าหาคำตอบนานกว่า 50 ปี ได้รับการยอมรับจนเผยแพร่ลงวารสารด้านฟิสิกส์ระดับโลก
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2559 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ได้เผยแพร่ข่าวที่น่ายินดีอย่างยิ่ง เมื่อนักฟิสิกส์ชาวไทยได้สร้างผลงานชิ้นประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก เมื่อผลงานวิจัยของ ดร.ทีปานิส ชาชิโย จากวิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน "สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ" มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ได้ถูกคัดเลือกให้เผยแพร่ผ่านคอลัมน์ Physics Update ของวารสาร Physics Today เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2559 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ ได้เผยแพร่ข่าวที่น่ายินดีอย่างยิ่ง เมื่อนักฟิสิกส์ชาวไทยได้สร้างผลงานชิ้นประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับในระดับโลก เมื่อผลงานวิจัยของ ดร.ทีปานิส ชาชิโย จากวิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน "สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ" มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ได้ถูกคัดเลือกให้เผยแพร่ผ่านคอลัมน์ Physics Update ของวารสาร Physics Today เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมที่ผ่านมา
สำหรับวารสาร Physics Today
เป็นวารสารข่าวฟิสิกส์อันดับหนึ่งของโลก ก่อตั้งขึ้นโดย American Institute
of Physics (AIP) ตั้งแต่ปี 2491
ซึ่งในแต่ละเดือนทางวารสารจะเลือกงานวิจัยที่โดดเด่นระดับโลก ขึ้นมา 8-10
ชิ้น ภายใต้หัวข้อข่าว Physics Update
เพื่อแนะนำให้ผู้อ่านได้จับตาและติดตามอย่างใกล้ชิด
โดยบทความที่พูดถึงงานวิจัยของ ดร.ทีปานิส ชาชิโย ได้รับเกียรติจากผู้จัดการอาวุโสของวารสารเป็นผู้เขียนด้วยตัวเอง ภายใต้ชื่อ "A simpler ingredient for a complex calculation" หรือ สูตรผสมที่ง่ายขึ้นสำหรับการคำนวณอันซับซ้อน กล่าวถึงทฤษฎีฟิสิกส์ Density Functional Theory (DFT) ซึ่งคิดค้นขึ้นในช่วงปี 2503 โดยนักวิทยาศาสตร์ 3 ท่าน คือ W. Kohn, P. Hohenberg และ L. Sham ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี แต่ตัวทฤษฎียังขาดส่วนประกอบสุดท้ายที่เรียกว่า Correlation Energy ซึ่งจะต้องเติมเต็มให้สมบูรณ์
โดยบทความที่พูดถึงงานวิจัยของ ดร.ทีปานิส ชาชิโย ได้รับเกียรติจากผู้จัดการอาวุโสของวารสารเป็นผู้เขียนด้วยตัวเอง ภายใต้ชื่อ "A simpler ingredient for a complex calculation" หรือ สูตรผสมที่ง่ายขึ้นสำหรับการคำนวณอันซับซ้อน กล่าวถึงทฤษฎีฟิสิกส์ Density Functional Theory (DFT) ซึ่งคิดค้นขึ้นในช่วงปี 2503 โดยนักวิทยาศาสตร์ 3 ท่าน คือ W. Kohn, P. Hohenberg และ L. Sham ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี แต่ตัวทฤษฎียังขาดส่วนประกอบสุดท้ายที่เรียกว่า Correlation Energy ซึ่งจะต้องเติมเต็มให้สมบูรณ์
อย่างไรก็ตามตลอดเวลากว่า 50 ปีที่ผ่านมา
นักฟิสิกส์ต่างพยายามค้นหาสูตรดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง
แต่ยังขาดความสมบูรณ์และขาดความเรียบง่าย มาจนถึงงานวิจัยของ ดร.ทีปานิส
ชาชิโย ซึ่งได้รับการยอมรับและถูกเรียกจากวารสารให้เป็น "Chachiyo’s
formula" นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่มีชื่อของสมการ การทดลอง
หรือปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ ที่ผูกโยงติดอยู่กับชื่อของคนไทย
อนึ่ง DFT ถูกนำมาใช้ในการออกแบบและวิเคราะห์ศึกษาสิ่งที่มีขนาดเล็ก มีส่วนช่วยในการสร้างนวัตกรรมจำนวนมาก ซึ่งแม้ว่าสูตร Chachiyo\'s formula จะใช้ได้ในเฉพาะกรณีที่กลุ่มหมอกอิเล็กตรอนภายในเนื้อสารกระจายตัวค่อนข้างสม่ำเสมอ แต่ก็ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ ที่จะแตกแขนงนำไปสู่การค้นคว้าในอีกหลาย ๆ ด้านหลังจากนี้
ทั้งนี้ ดร.ทีปานิส ชาชิโย สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี โท เอก และวิจัยหลังปริญญาเอก จากประเทศสหรัฐอเมริกา มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การสอนวิชาบังคับทุกวิชา ในสาขาฟิสิกส์ ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก ทั้งยังมีตำราที่สังคมวิชาการให้การยอมรับคือ กลศาสตร์ควอนตัม ระดับบัณฑิตศึกษา เล่ม 1 และเผยแพร่วิดีโอการสอนฟิสิกส์ผ่านเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม นอกจากนี้ยังเป็นผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้านควอนตัมโมเดลลิ่ง ของมหาวิทยาลัยนเรศวรอีกด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
thep-center.org
อนึ่ง DFT ถูกนำมาใช้ในการออกแบบและวิเคราะห์ศึกษาสิ่งที่มีขนาดเล็ก มีส่วนช่วยในการสร้างนวัตกรรมจำนวนมาก ซึ่งแม้ว่าสูตร Chachiyo\'s formula จะใช้ได้ในเฉพาะกรณีที่กลุ่มหมอกอิเล็กตรอนภายในเนื้อสารกระจายตัวค่อนข้างสม่ำเสมอ แต่ก็ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ ที่จะแตกแขนงนำไปสู่การค้นคว้าในอีกหลาย ๆ ด้านหลังจากนี้
ทั้งนี้ ดร.ทีปานิส ชาชิโย สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี โท เอก และวิจัยหลังปริญญาเอก จากประเทศสหรัฐอเมริกา มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์การสอนวิชาบังคับทุกวิชา ในสาขาฟิสิกส์ ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก ทั้งยังมีตำราที่สังคมวิชาการให้การยอมรับคือ กลศาสตร์ควอนตัม ระดับบัณฑิตศึกษา เล่ม 1 และเผยแพร่วิดีโอการสอนฟิสิกส์ผ่านเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม นอกจากนี้ยังเป็นผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ ด้านควอนตัมโมเดลลิ่ง ของมหาวิทยาลัยนเรศวรอีกด้วย
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
thep-center.org