x close

น้องเดียร์ อวดไอเดียนักวิทย์น้อย แผงโซลาร์เซลล์บนจานดาวเทียม



"น้องเดียร์"อวดไอเดียนักวิทย์น้อย แผงโซลาร์เซลล์บนจานดาวเทียม (ข่าวสด)
คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า

          จานกลม ๆ ใบใหญ่ ๆ บนหลังคาบ้านหลาย ๆ คนเป็นสัญลักษณ์ว่าบ้านนี้มีรายการทีวีให้ดูมากมายหลายช่องนอกเหนือจากฟรีทีวีทั่วไป

          อาจไม่เคยมีใครตั้งข้อสังเกตว่าจานใบใหญ่นี้จะมีประโยชน์เพียงแค่รับสัญญาณโทรทัศน์เท่านั้นหรอกหรือ

          แต่ น.ส.นลินี ชีวินกฤตย์กุล หรือ "น้องเดียร์" โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย จ.ขอนแก่น นักเรียนทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มองเห็นประโยชน์ต่อยอดของจานรับสัญญาณโทรทัศน์ที่ว่านี้

          "จานรับสัญญาณดาวเทียม" มีหน้าที่สะท้อนสัญญาณคลื่นความถี่โทรทัศน์ที่ส่งผ่านจากดาวเทียมไปรวม สัญญาณที่อุปกรณ์ ซึ่งมีลักษณะรูปโค้งพาราโบล่าแบบกระทะ ทำด้วยเหล็ก อะลูมิเนียม หรือไฟเบอร์กลาส มีทั้งจานรับแบบทึบ และแบบจานโปร่ง 

          ลักษณะอย่างหนึ่งของจานรับสัญญาณดาวเทียมที่มีรูปร่างโค้งจนน่าจะรวมแสงได้ดี ทำให้น้องเดียร์นึกถึงแผงโซลาร์เซลล์ และเกิดคำถามว่าเราจะประยุกต์จานรับสัญญาณดาวเทียมมาเป็นแผงโซลาร์เซลล์ขนาดย่อม ๆ โดยทำเป็นโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง "เปรียบเทียบค่ากระแสไฟฟ้าที่ได้จากการใช้แผงโซลาร์เซลล์ติดที่บริเวณรวมแสง ของจานรับสัญญาณดาวเทียม เทียบกับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์แบบธรรมดา"



          โซลาร์เซลล์ (Solar cell) มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ หรือ เซลล์สุริยะ เป็นกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากการตกกระทบของแสงบนวัตถุที่มีความสามารถในการเปลี่ยนพลังงานแสงเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ มีลักษณะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำ เมื่อได้รับแสงอาทิตย์โดยตรงจะเปลี่ยนเป็นพาหะนำไฟฟ้า และจะถูกแยกเป็นประจุไฟฟ้าบวกและลบ เพื่อให้เกิดแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วทั้งสองของเซลล์แสงอาทิตย์ เมื่อนำขั้วไฟฟ้าของเซลล์แสงอาทิตย์ต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรง กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้าสู่อุปกรณ์เหล่านั้น ทำให้สามารถทำงานได้

          น้องเดียร์นำเอาจานรับสัญญาณดาวเทียมมาชุบ "โครเมียม" ซึ่งเป็นโลหะมันวาวสีเทาด้วยกระแสไฟฟ้า แล้วติดแผงโซลาร์เซลล์หนึ่งแผงที่บริเวณรวมแสงของจานรับสัญญาณดาวเทียมดังกล่าว และต่อแผงโซลาร์เซลล์บนแผ่นไม้อีกหนึ่งจุด จากนั้นเปรียบเทียบปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ได้จากอุปกรณ์แผงโซลาร์เซลล์บนจานดาวเทียม กับบนแผ่นไม้ โดยใช้มัลติมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าเป็นเวลา 3 วัน วัดปริมาณกระแสไฟฟ้าทุก ๆ 12 นาที เริ่มตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้า ถึงบ่าย 3 โมง ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่มีแสงแดดมากที่สุดของวัน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผล

          ผลการวัดปริมาณกระแสไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ทั้งสองแบบ พบว่าการใช้จานช่วยรวมแสงทำให้กระแสไฟฟ้าที่ได้มีค่าเทียบเท่ากับแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งแบบธรรมดาถึง 3 แผง โดยความเข้มแสงที่บริเวณรวมแสงเทียบกับที่แผงโดยรวมทั้งสามวันเท่ากับ 1.33 เท่า หากเราใช้จานรับสัญญาณดาวเทียมชุบโครเมียมในการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จะช่วยลดจำนวนการใช้แผงโซลาร์เซลล์ได้ถึง 2 แผง ดังนั้น การใช้จานรับสัญญาณดาวเทียมช่วยรวมแสงมาที่โซลาร์เซลล์ จึงทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าดีกว่าแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งแบบทั่วไป

          ผลการทดลองนี้ยังนำความรู้ไปขยายผลต่อ เพื่อหาแนวทางประดิษฐ์แผงโซลาร์เซลล์ให้มีขนาดเล็กลง ทนทานต่อความร้อนอุณหภูมิสูง และลดพื้นที่ในการติดตั้งและนำไปประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ ได้



ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก

                   น้องเดียร์นำเอาจานรับสัญญาณดาวเทียมมาชุบ ซึ่งเป็นโลหะมันวาวสีเทาด้วยกระแสไฟฟ้า แล้วติดแผงโซลาร์เซลล์หนึ่งแผงที่บริเวณรวมแสงของจานรับสัญญาณดาวเทียมดังกล่าว และต่อแผงโซลาร์เซลล์บนแผ่นไม้อีกหนึ่งจุด จากนั้นเปรียบเทียบปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ได้จากอุปกรณ์แผงโซลาร์เซลล์บนจานดาวเทียม กับบนแผ่นไม้ โดยใช้มัลติมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าเป็นเวลา 3 วัน วัดปริมาณกระแสไฟฟ้าทุก ๆ 12 นาที เริ่มตั้งแต่เวลา 9 โมงเช้า ถึงบ่าย 3 โมง ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่มีแสงแดดมากที่สุดของวัน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผล          ผลการวัดปริมาณกระแสไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ทั้งสองแบบ พบว่าการใช้จานช่วยรวมแสงทำให้กระแสไฟฟ้าที่ได้มีค่าเทียบเท่ากับแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งแบบธรรมดาถึง 3 แผง โดยความเข้มแสงที่บริเวณรวมแสงเทียบกับที่แผงโดยรวมทั้งสามวันเท่ากับ 1.33 เท่า หากเราใช้จานรับสัญญาณดาวเทียมชุบโครเมียมในการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จะช่วยลดจำนวนการใช้แผงโซลาร์เซลล์ได้ถึง 2 แผง ดังนั้น การใช้จานรับสัญญาณดาวเทียมช่วยรวมแสงมาที่โซลาร์เซลล์ จึงทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าดีกว่าแผงโซลาร์เซลล์ที่ติดตั้งแบบทั่วไป          ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
น้องเดียร์ อวดไอเดียนักวิทย์น้อย แผงโซลาร์เซลล์บนจานดาวเทียม อัปเดตล่าสุด 27 มกราคม 2553 เวลา 14:54:52
TOP