x close

อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2460 โดยเป็นหนึ่งในสี่คณะที่กำเนิดขึ้นพร้อมกับการจัดตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อแรกเริ่มมีชื่อว่า คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ทำหน้าที่สอนวิชาพื้นฐานด้านมนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้แก่คณะอื่น ๆ ต่อมาได้รับภาระผลิตครูมัธยมสายอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในหลักสูตรประโยคครูมัธยม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2477 คณะอักษรศาสตร์จึงเริ่มเปิดหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต ในปัจจุบันคณะอักษรศาสตร์เปิดสอนหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก

 หลักสูตรการศึกษา

หลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต

          การเรียนในระดับปริญญาตรี นิสิตต้องเรียนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรจำนวน 149 - 150 หน่วยกิต โดยสามารถเลือกวิชาเอกจากสาขาวิชาดังต่อไปนี้

      1.  ภาษาไทย
      2.  ภาษาอังกฤษ
      3.  ประวัติศาสตร์
      4.  ภูมิศาสตร์
      5.  สารนิเทศศึกษา
      6.  ปรัชญา
      7.  ศิลปการละคร
      8.  ภาษาบาลีและสันสกฤต
      9.  ภาษาจีน
      10. ภาษาญี่ปุ่น
      11. ภาษาฝรั่งเศส
      12. ภาษาเยอรมัน
      13. ภาษาสเปน
      14. ภาษาอิตาเลียน

 หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา

หลักสูตรพิเศษ

          ปริญญาโท 2 สาขาวิชา

     1. การแปลและการล่าม แยกเป็น   สายการแปล  และ  สายการล่าม
     2. ศิลปการละคร

หลักสูตรปกติ

          ปริญญาเอก 7 สาขาวิชา

     1. ภาษาไทย
     2. ประวัติศาสตร์
     3. ปรัชญา
     4. ภาษาศาสตร์
     5. ภาษาและวรรณคดีฝรั่งเศส
     6. ภาษาเยอรมัน
     7. วรรณคดีและวรรณคดีเปรียบเทียบ (สหภาควิชา)

         ปริญญาโท 14 สาขาวิชา

     1.  ภาษาไทย
     2.  ภาษาอังกฤษ
     3.  ประวัติศาสตร์
     4.  ภูมิศาสตร์
     5.  บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
     6.  ปรัชญา
     7.  ภาษาศาสตร์
     8.  วรรณคดีเปรียบเทียบ
     9.  ภาษาบาลีและสันสกฤต
     10. ภาษาจีน
     11. ภาษาญี่ปุ่น
     12. ภาษาฝรั่งเศส
     13. ภาษาเยอรมัน
     14. พุทธศาสน์ศึกษา

 หลักสูตรนานาชาติ

         
ปริญญาเอก 2 สาขาวิชา
 

          - ไทยศึกษา 
          - ภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (สหสาขาวิชา) 

          ปริญญาโท 5 สาขาวิชา

          - ไทยศึกษา 
          - ภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ (สหสาขาวิชา) 
          - เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา (สหสาขาวิชา) 
          - ภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศ 
          - ภาษาฝรั่งเศสสู่โลกธุรกิจ
 

 สัญลักษณ์ประจำคณะ


          พระสรัสวตี : เทวีอักษรศาสตร์

          ในคัมภีร์ฤคเวท อันเป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่ที่สุดในอินเดีย มีข้อความหลายตอนกล่าวถึงเทวีสององค์ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจมากคือ วาจฺ หรือ วาทฺ หรือ วาคฺเทวี กับ สรสฺวตีเทวี ซึ่งในสมัยต่อมาคือสมัยมหากาพย์และปุราณะได้กลายเป็นเทวีองค์เดียวกัน และมีตำแหน่งเป็น เทพเจ้าแห่งอักษรศาสตร์และวิชาดนตรี เป็นที่นับถือเคารพบูชาของชาวอินเดียตลอดมาจนทุกวันนี้

          สีเทา สีแห่งสติปัญญา เป็นสีประจำคณะอักษรศาสตร์

          ชงโค คือ ต้นไม้ประจำคณะอักษรศาสตร์ เป็นไม้ผลัดใบขนาดเล็ก ความสูงประมาณ ๕– ๑๐ เมตร มีถิ่นกำเนิด ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขึ้นในป่าโปร่งผสมนิยมนำปลูกประดับตามอาคารสถานที่ต่างๆ เพราะลำต้นมีลีลาที่งดงาม และดอกที่สวยงามคล้ายดอกกล้วยไม้ กลีบดอกสีชมพู ออกดอกหลังจากที่ใบใหม่ผลิแล้ว คือหลังเดือนเมษายน ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหัวใจปลายทู่และเว้าลึกมองดูคล้ายใบแฝดติดกัน ผลัดใบในฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนธันวาคม แตกใบใหม่ประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ต้นชงโคเป็นต้นไม้ที่ปลูกง่ายเจริญเติบโตได้ดีในดิน


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
 และ วิกิพีเดีย สารุนุกรมเสรี

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อัปเดตล่าสุด 25 มกราคม 2553 เวลา 14:32:46 1,227 อ่าน
TOP