x close

คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์



คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติความเป็นมา

 
         การเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ .2475 ส่งผลให้มีการ จัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองขึ้นในปี พ . ศ . 2477 นับเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นรูปธรรม ของการจัดการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ในประเทศไทยกล่าวคือในสมัยแรกเริ่มนั้นการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์ได้แทรกปะปนอยู่กับเนื้อหาของหลักสูตรวิชา “ ธรรมศาสตร์ บัณฑิต ” ( ธ . บ .) ในระดับชั้นปริญญาตรีในขณะที่ในระดับชั้นปริญญาโทและระดับชั้นปริญญาเอกของมหาวิทยาลัยวิชาธรรม ศาสตร์ และการเมืองได้แยกหลักสูตรออกเป็น 3 ทางอย่างชัดเจน ได้แก่ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และ เศรษฐศาสตร์ 

          ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2491-2492 ภายหลังจากเกิดความผันผวนทางการเมืองอย่างรุนแรงภายหลัง รวมทั้งการที่สภาพแวดล้อมทาง การเมืองระหว่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป กล่าวได้ว่ามีผลกระทบโดยตรงต่อการจัดการเรียนการสอนของ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งมีความเห็นใน แนวทางเดียวกันว่าการเรียนการสอนในหลักสูตรธรรมศาสตร์บัณฑิตนั้นมีความ “ ไม่เพียงพอ ” ที่จะผลิตบัณฑิตได้ตรงกับหน้าที่การงาน อีกทั้งธรรมศาสตร์บัณฑิต จัดการเรียนการสอนในแบบตลาดวิชา จาก แนวความคิดดังกล่าวข้างต้นประกอบกับการที่มีสภาวะแวดล้อมทางการเมืองทั้งภายในและ ภายนอกประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ได้ผลักดันให้มีการ ลงมติให้ตรา “ ข้อบังคับเพิ่มเติมว่าด้วยการแบ่งแยกการศึกษาเป็น 4 คณะ และกำหนดสมัยการศึกษาและการสอบไล่ พ.ศ. 2492” ขึ้น ข้อบังคับดังกล่าวมีผลโดยตรงต่อ ระบบการศึกษาของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง กล่าวคือ ได้มีการจัดตั้ง คณะรัฐศาสตร์ขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ . ศ . 2492 ในสมัยแรกเริ่มของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นั้น คณบดีและคณะ กรรมการร่าง หลักสูตรของคณะรัฐศาสตร์ ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบหลักสูตรของมหาวิทยาลัยต่างประเทศเป็น จำนวน หลายประเทศ รวมทั้งได้รับความช่วยเหลือในทางวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญของมูลนิธิ Fulbright ซึ่ง เดินทางเข้ามาประเทศไทยในช่วงสมัยนั้นด้วย

          นับจากวันนั้นตราบจนถึงปัจจุบัน คณะรัฐศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีคณบดีต่อ เนื่องกันรวม 18 คน ต่อมาในปี พ . ศ .2498 เมื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับความช่วยเหลือในทางวิชาการ โดยตรงจากประเทศสหรัฐอเมริกา ก็มีการเปิดแผนกวิชา รัฐประศาสน ศาสตร์ในระดับชั้นปริญญาโท โดยทำการเรียนการสอนทั้งในระบบภาษาอังกฤษและภาษาไทย เป็นต้น ในปี พ . ศ . 2502 คณะรัฐศาสตร์ ได้มีมติให้จัดตั้งแผนกการทูตในระดับชั้นปริญญาตรีขึ้นเป็นครั้งแรก ( หลังจากที่มีการเรียนการสอนในระดับชั้นปริญญาโทมาเป็นเวลาช้านาน ) รวมทั้งได้มีการจัดตั้ง แผนกบริหารรัฐ กิจ และแผนกรัฐศาสตร์ศึกษาในระดับชั้นปริญญาตรีเพิ่มเติมขั้นอีกสองแผนก ในช่วงต้นทศวรรษที่ 2510 เมื่อถึงช่วงต้นทศวรรษที่ 2520 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้เปิดการเรียนการสอนทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทขึ้นรวม 4 แผนก ได้แก่ การปกครอง บริหารรัฐกิจ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ( หรือแผนกการทูตเดิม ) และปรัชญาการเมืองก่อนที่จะยุบรวมลงเหลือ เพียง 3 แผนก ได้แก่ การเมืองการปกครอง บริหารรัฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ใน สมัยปัจจุบัน นอกจากนี้ นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 2530 เป็นต้นมา คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังได้ตระหนักถึงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคม และระบบการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศว่าได้ มีการเปลี่ยนแปลงไป คณะรัฐศาสตร์จึงได้มีการเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรพิเศษในระดับชั้นปริญญาโทขึ้นรวม 3 แผนก ได้แก่ หลักสูตรปริญญาโท สำหรับผู้บริหาร สาขาบริหารรัฐกิจ (EPA) หลักสูตรปริญญาโท สาขาการปกครอง สำหรับผู้บริหาร (MPE) และหลักสูตรปริญญาโท สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (MIR) ซึ่งจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งหลักสูตร 

        จากพัฒนาการของคณะรัฐศาสตร์ดังกล่าวแล้วข้างต้น ทำให้คณะฯ ได้ผลิตบัณฑิตสาขาต่าง ๆ ออกไปมากมาย เพื่อรับใช้ประเทศชาติ 

หลักสูตรการศึกษา

 - ระดับปริญญาบัณฑิต

          หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต 
           - สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

          หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต 
           - สาขาวิชาการระหว่างประเทศ
           - โครงการหลักสูตรปริญญาตรีควบโทภาคภาษาอังกฤษ (BMIR)

          หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต
           - สาขาวิชาบริหารรัฐกิจ

 - ระดับปริญญามหาบัณฑิต
          หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) 
           - สาขาวิชาการปกครอง (ภาคปกติ)
           - โครงการปริญญาโท สาขาวิชาการเมืองการปกครอง สำหรับนักบริหาร (MPE)]

          หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ) 
           - สาขาวิชาการระหว่างประเทศและการทูต (ภาคปกติ)
           - โครงการปริญญาโทสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ภาคภาษาอังกฤษ (MIR)

          หลักสูตรรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (บริหารรัฐกิจ)
           - สาขารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (ภาคปกติ)
           - โครงการปริญญาโท สาขาการบริหารจัดการสาธารณะ สำหรับนักบริหาร (EPA)

 - ระดับปริญญาดุษฏีบัณฑิต
          หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์

 
สัญลักษณ์ประจำคณะ

           สัญลักษณ์ คือ สิงห์แดง

           สีประจำคณะ คือ สีดำ

           ต้นไม้ประจำคณะ คือ ต้นจำปี

           คำขวัญ คือ สามัคคี ประเพณี เป็นพี่น้อง

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
 และ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ โพสต์เมื่อ 25 มกราคม 2553 เวลา 13:22:13
TOP