x close

เมฆกันชน ปรากฏการณ์เมฆอาร์คัส คืออะไร



เมฆกันชน ปรากฏการณ์เมฆอาร์คัส คืออะไร

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Udonthani Update

           เมฆกันชน หรือ เมฆอาร์คัส shelf cloud ปรากฏการณ์เมฆกันชน คืออะไร มีอันตรายหรือไม่ ไปหาคำตอบกันเลย

           หลังจากที่เกิดปรากฏการณ์เมฆอาร์คัส หรือ เมฆกันชน ที่สนามบินอุดรธานี และต่อมาในเวลาไม่นานก็เกิดปรากฏการณ์นี้เหนือท้องฟ้าบริเวณสนามบินเก่า เขตเทศบาลเมืองเชียงรายอีกครั้ง จนสร้างความฮือฮาให้แก่ประชาชนอย่างมากนั้น ก็ทำให้หลาย ๆ คนอดสงสัยไม่ได้ว่าปรากฏการณ์นี้คืออะไร มีที่มาอย่างไร และมีความรุนแรงหรือไม่ วันนี้กระปุกดอทคอมก็มีเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของปรากฏการณ์นี้มาฝากกันค่ะ

           โดย ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช.และ ชมรมคนรักมวลเมฆ ให้ข้อมูลว่า เมฆฝนฟ้าคะนอง นักอุตุนิยมวิทยาเรียกว่า คิวมูโลนิมบัส (Cumulonimbus, Cb) เป็นเมฆฝนที่มีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง เกิดลูกเห็บ ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า เกิดจากแนวอากาศร้อนที่ความชื้น พัดมาปะทะกับอากาศเย็น อากาศเย็นจะยกอากาศร้อนขึ้น จนมีลักษณะเป็นดอกเห็ด ภายในจะมีทั้งลมกดและลมยก

           ส่วนเมฆอาร์คัส (Arcus) หรือเรียกว่า เมฆกันชน หรือ shelf cloud อยู่บริเวณฐานเมฆ และมีลักษณะโค้งเหมือนกันชนหน้ารถ จะเป็นปฎิกิริยาของเมฆฝนที่จะมีลักษณะโค้งลงมาใกล้พื้นดิน โดยเมฆอาร์คัสจะมี 2 แบบ คือ Roll รูปร่างม้วนแบบหลอด และ Shelf คือรูปร่างเป็นชั้น

           สำหรับเมฆอาร์คัส (Arcus) ไม่มีอันตรายโดยตรง แต่เนื่องจากอาร์คัสเป็นส่วนหนึ่งของเมฆฝนฟ้าคะนอง จึงมีความเสี่ยงจากฟ้าผ่าแฝงอยู่ โดยเฉพาะฟ้าผ่าแบบบวก (positive lighting) ซึ่งสามารถผ่าออกมาไกลจากตัวเมฆได้หลายกิโลเมตร อย่างไรก็ตาม บริเวณฐานกลุ่มเมฆจะเป็นลมกด ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่ค่อยเกิดขึ้นในช่วงฤดูนี้ และโดยเฉพาะปรากฏการณ์อาร์คัสก็ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างง่าย ๆ

           ทั้งนี้ สำหรับปรากฏการณ์เมฆอาร์คัสไม่ได้เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้ เคยเกิดขึ้นมาแล้วที่ย่านบางขุนเทียน และคลองสาน เมื่อวันที่ 24 กันยายน ปี 2554


เมฆกันชน ปรากฏการณ์เมฆอาร์คัส คืออะไร









เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เมฆกันชน ปรากฏการณ์เมฆอาร์คัส คืออะไร อัปเดตล่าสุด 12 มิถุนายน 2557 เวลา 10:51:51 7,783 อ่าน
TOP