x close

มก. เจ๋ง สกัดสารในบัวบก เพิ่มคอลลาเจนในเครื่องสำอาง



รูปภาพที่ 1 : ตัวอย่างการจัดอุปกรณ์เพื่อใช้ในกระบวนการจับ
ก้อนด้วยไฟฟ้าในห้องปฏิบัติการ


มก. เจ๋ง พัฒนาเทคนิดสกัดสารในบัวบก ชี้!! เป็นสารสมานแผลเพิ่มคอลลาเจนใน เครื่องสำอางบำรุงผิวหน้า  (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน)

        มูลค่าการส่งออกเครื่องสำอางไทยปี 2555 โดยสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปี 2554 หรือคิดประมาณ 5,000 กว่าล้านบาท และในกลุ่มอาเซียนเองก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 หรือประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทยได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผสมสารสกัดสมุนไพรไทยมากมายหลายชนิด หนึ่งในนั้นมีพืช บัวบก เป็นที่นิยมอย่างมาก ด้วย มีฤทธิ์ลดการอักเสบและอาการบวม มีฤทธิ์ต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Antioxidation) ซึ่งส่งผลให้การลดความเสื่อมของเซลล์ อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย และเร่งการสร้างสารคอลลาเจน (Collagen) ที่เป็นโครงสร้างของผิวจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการกระตุ้นให้แผลสมานตัวได้เร็ว ซึ่งสารตัวที่สำคัญในบัวบกที่ออกฤทธิ์ดังกล่าว มีปริมาณไม่เกิน 1 % ในบัวบกสด เป็นสารกลุ่มไกลโคไซด์ (Glycosides) ชื่อ อะเซียทิโคไซด์ (Asiaticoside)

        ปัญหาสำคัญในการใช้สารสกัดจากบัวบกมาใช้ในเครื่องสำอางคือ ไม่มีเทคโนโลยีที่ดีพอในการกำจัดสีเขียวออกจากสารสกัดได้ ทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ได้ มีเนื้อสีเขียว ที่ผู้บริโภคไม่ชอบ และมีปริมาณอะเซียทิโคไซด์ (Asiaticoside)  ต่ำ ส่งผลต่อการออกฤทธิ์และสรรพคุณเครื่องสำอางไม่ได้มาตรฐาน ล่าสุด กลุ่มวิจัยของ รศ. ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ จากภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน ได้พัฒนาเทคนิคการจับก้อนด้วยไฟฟ้า (Electrocoagulation) ซึ่งเป็นเทคนิคแยกสารสกัดธรรมชาติจากพืช ในระดับอุตสาหกรรม มีความสามารถในการกำจัดสีจากคลอโรฟิลล์และคาโรทีนอยด์ โดยปกติแล้ว การแยกสีออกจากสารสกัดจะใช้ผงถ่านในการดูดซับ และโครมาโทกราฟี (Chromatography) ซึ่งต้องใช้สารละลายอินทรีย์ และมีต้นทุนสูง


รูปภาพที่ 2 : รงควัตถุที่แยกออกได้


รูปภาพที่ 3 : สารสกัดอะเซียทิโคไซด์ (Asiaticoside) เข้มข้นสูง
เมื่อผ่านกระบวนการจับก้อนด้วยไฟฟ้า


        เทคนิคการจับก้อนด้วยไฟฟ้า (Electrocoagulation) ซึ่งเป็นเทคนิคแยกสารสกัดธรรมชาติจากพืช ในระดับอุตสาหกรรม มีความสามารถในการกำจัดสีจากคลอโรฟิลล์และคาโรทีนอยด์ โดยปกติแล้ว การแยกสีออกจากสารสกัดจะใช้ผงถ่านในการดูดซับ และโครมาโทกราฟี (Chromatography) ซึ่งต้องใช้สารละลายอินทรีย์ และมีต้นทุนสูง เทคนิคการจับก้อนด้วยไฟฟ้าของ รศ. ดร. วีรชัย ใช้หลักของการทำอิเล็กโทรไลซีส (Electrolysis) โดยใช้อะลูมิเนียมหรือเหล็กเป็นขั้วอิเล็คโทรด และใช้สารละลายเกลือแกงเป็นตัวช่วยการนำไฟฟ้ากระแสตรง ซึ่งในขบวนการจะผลิตอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ออกมาเพื่อดูดซับองค์ประกอบสีหลัก แยกออกจากสารละลายสกัดด้วยน้ำหรือแอลกอฮอล์  และได้สารสกัดที่มีปริมาณอะเซียทิโคไซด์ (Asiaticoside)  สูง เมื่อวิเคราะห์ด้วยเครื่อง HPLC  โดยโครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) ฝ่ายวิชาการ ร่วมทุนวิจัยกับบริษัท เอเชียนไลฟ์ จำกัด ในเครือ บริษัท เอเชียน ไฟย์โตซูติคอล จำกัด ซึ่งเป็นภาคเอกชนที่นำเทคโนโลยีนี้ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการผลิตเครื่องสำอางของบริษัท

        ผลงานบางส่วนของโครงการวิจัยนี้ได้ดำเนินการจดอนุสิทธิบัตรในนามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สกว. และ บริษัทผู้ร่วมโครงการตามลำดับ


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
มก. เจ๋ง สกัดสารในบัวบก เพิ่มคอลลาเจนในเครื่องสำอาง อัปเดตล่าสุด 17 เมษายน 2556 เวลา 16:51:43 1,212 อ่าน
TOP