
แถลงการณ์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มศก.
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก เฟซบุ๊ก Ictsilpakorn , เฟซบุ๊ก ศาสวัต บุญศรี
เด็ก ม.6 โวย! สกอ. ประกาศเลิกรับนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ ม.ศิลปากร บางรัก กลางคัน ระบุไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษา
กลายเป็นเรื่องราวที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในวงการการศึกษาไทยเลยทีเดียว เกี่ยวกับประกาศของ "คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร" ที่ระบุว่า จะงดรับนักศึกษาหลักสูตรดังกล่าวในปี 2556 ในระบบกลาง (Admissions) นอกสถานที่ตั้ง ณ ศูนย์การศึกษา อาคาร กสท. โทรคมนาคม บางรัก เนื่องจากคณะดังกล่าว ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอุดมศึกษา คลิกอ่านที่นี่
ทั้งนี้ จากประกาศดังกล่าว ส่งผลกระทบโดยตรงกับนักเรียนชั้น ม.6 ที่เลือกคณะนี้ นักเรียนที่รอผลแอดมิดชั่น และนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในคณะดังกล่าว เกี่ยวกับเรื่องวุฒิการศึกษา โดยเฉพาะนักเรียนที่สอบตรงและติดคณะดังกล่าว เพราะนักเรียนบางคนไม่ได้สอบ GAT-PAT 2 เนื่องจากติดรับตรงคณะนี้แล้ว
อย่างไรก็ดี ทางเฟซบุ๊กของคณะ ก็ได้มีผู้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้กันอย่างมากมาย ในทำนองที่ผิดหวังการทำงานของ สกอ. และทวงถามความชัดเจน พร้อมกับแนวทางรองรับปัญหาเรื่องวุฒิการศึกษาของนักศึกษาปัจจุบัน
ส่วนทางอาจารย์ศาสวัต บุญศรี อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ศาสวัต บุญศรี เพื่อชี้แจง และสรุปสถานการณ์ในเรื่องราวดังกล่าว ดังนี้...
1. หลักสูตรนิเทศฯ คณะไอซีที โดนประเมินจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ว่าไม่ผ่านเกณฑ์การตั้งนอกที่ตั้ง (สกอ. ทำเพื่อป้องกันผู้บริโภค มาเรียนแล้วโดนหลอก) สกอ. ได้ทำการปิด พูดง่าย ๆ คือให้กลับเรียนเพชรบุรี (หรือวิทยาเขตอื่น ๆ)
2. สกอ. สั่งห้ามรับนักศึกษาในปีการศึกษาใหม่ หากยังรับให้ปีหนึ่งเรียนที่บางรัก จะทำการปิดหลักสูตร (ย้ำว่า หลักสูตร ไม่ใช่คณะ) และจะส่งเรื่องให้ กพ. ให้รับรองวุฒิ
3. ปี 2-4 นิเทศยังเรียนเหมือนเดิม ส่วนธุรกิจและออกแบบ ถือว่าการที่ปีสี่มาเรียนที่บางรักไม่มีปัญหา เพราะเรียนในวิทยาเขตที่ตั้งมาแล้วเกิน 50% ของหน่วยกิจ
4. ทางอธิการฯ และคณะได้หารือด่วน มีหลายทางเลือกมาก สุดท้ายอธิการเสนอให้ปีหนึ่งนิเทศ ปี 56 กลับไปเรียนเพชรบุรี (กลับยังที่ตั้ง) เมื่อได้สำรวจอาคารสถานที่ พบว่าหอในรับเพิ่มได้อีกราว 150 คน โดยเปิดเฉพาะสาขาลูกค้าสัมพันธ์และวารสารฯ เพราะการสร้างสตูดิโอสำหรับเอกที่เหลือยังไม่พร้อม การเรียนการสอนยังเหมือนธุกิจและออกแบบคือ ปีสี่กลับมาเรียนบางรัก
5. ทางสภามหาวิทยาลัยมีนโยบายตั้งแต่เลือกอธิการฯ ว่าใครคนใดได้เป็นต้องทำ city campus แห่งใหม่ให้ลุล่วง โดยท่านอธิการจะเปิดทำ TOR แล้วมีแผนคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 4 ปี เมื่อนั้น นิเทศไอซีที ก็สามารถกลับมาเต็มตัวได้ในแคมปัสแห่งใหม่
6. เหตุผลที่ไม่ผ่าน ขอบอกคร่าว ๆ คือ สกอ. ไม่นับตลิ่งชันเป็นอีกหนึ่งวิทยาเขต นอกจากนั้นยังชี้ว่าอัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษามีน้อยเกินไป บวกกับไม่มีตำแหน่งทางวิชาการและจบปริญญาเอก (ในส่วนวุฒิการศึกษาและตำแหน่งวิชาการเป็นเรื่องจริง แต่ประเด็นอาจารย์พิเศษนั้น ท่านคณบดีท่านเก่าได้วางระบบไว้เพื่อเน้นอาจารย์พิเศษ สายนิเทศจำเป็นต้องเรียนกับมืออาชีพโดยมีอาจารย์ประจำสนับสนุนทางวิชาการ ส่งผลให้เด็กได้รับความรู้จากทั้งสองด้าน) รวมไปถึงมาตรฐานการเรียนที่ยังไม่ถึงเกณฑ์ ยิ่งเทียบกับหลักสูตรแบบเดียวกันของมหาลัยอื่น (แต่บัณฑิตจบแล้วมีงานทำประมาณ 90% และได้เสียงตอบรับจากนายจ้างในระดับดี อันนี้ไม่รู้ว่าเชื่อเกณฑ์ที่วัดหรือความพึงพอใจจากนายจ้างที่ทำงานในสายวิชาชีพจริงดี)
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด ทาง ผ.ศ.ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ก็ได้ชี้แจงถึงเหตุการณ์นี้ว่า ผลดังกล่าวถือว่าเป็นผลสิ้นสุดแล้ว ซึ่งตนก็ไม่สามารถอธิบายอะไรได้ไปมากกว่านี้ ให้ไปถามจาก สกอ. เอง ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเด็กที่เลือกเรียนคณะนี้ ทางมหาวิทยาลัยกำลังดำเนินการหาทางเยียวยาแก้ไขในเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด สำหรับประเด็นที่ถามว่ามีผลกระทบต่อนักศึกษาปัจจุบันที่กำลังศึกษาอยู่ในบางรักหรือไม่ ตนคิดว่าไม่น่าจะมีผลกระทบ เพราะนักเรียนตั้งแต่ปี 2 ขึ้นไป หากเรียนจบแล้ว ก็ยังไมได้รับการัรบรองว่าผ่านหลักสูตรทั้ง สกอ. และ กพ.
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
