เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
น้องหลายคนที่เป็นนักกีฬา หรือมีความถนัดทางด้านกีฬาเป็นพิเศษ อาจจะไม่รู้ว่าเมื่อเรียนจบแล้ว จะเรียนอะไรต่อดี? บางคนอาจไปเป็นนักกีฬาอาชีพ หรือบางคนอาจผันตัวเองไปเรียนด้านอื่นเลย
หากน้อง ๆ ยังคิดไม่ออกว่าจะเรียนอะไรต่อดี วันนี้ กระปุกดอทคอม ขอแนะนำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาให้รู้จักกันค่ะ
ประวัติความเป็นมา
สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พัฒนามาจากภาควิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถาบันแห่งแรกที่มุ่งเน้นการและให้ความสำคัญด้านพละศึกษาและสุขศึกษา ต่อมาจึงปรับเปลี่ยนไปสู่การเป็นคณะ คือ คณะสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
หลังจากนั้น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้องการนำเสนอแผนการจัดตั้งคณะให้สอดคล้องกับแนวคิดของมหาวิทยาลัย จึงเปลี่ยนชื่อเป็น คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จนกระทั่งปี 2541 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เสนอให้ตั้ง สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา เพื่อที่จะให้สามารถพัฒนาสาขาวิชานี้ได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถเปิดสอนหลักสูตรบัณฑิตศึกษา รวมทั้ง การบริหารคณาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา และการบริหารจัดการสถานที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย แผนการเรียน
ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา (Sport Science and Technology)
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ (Applied Health Science)
- กลุ่มวิชาการโค้ชกีฬาและจิตวิทยาการกีฬา (Sport Coaching and Sport Psychology)
- กลุ่มวิชานันทนาการศาสตร์และการจัดการกีฬา (Recreation Science and Sport Management)
ปริญญาโท วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
- แขนงวิชาสรีรวิทยาการกีฬา (Sports Physiology)
- แขนงวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพประยุกต์ (Applied Health Science)
- แขนงวิชาการโค้ชกีฬา (Sports Coaching)
- แขนงวิชาการจัดการนันทนาการการท่องเที่ยว (Management of Recreation Tourism)
- แขนงวิชาการจัดการกีฬา (Sports Management)
ปริญญาเอก วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา
- แขนงวิชาวิทยาการส่งเสริมสุขภาพ (Health Promotion Science)
- แขนงวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา (Sports Science and Technology)
- แขนงวิชาวิทยาการบริหารจัดการกีฬาและนันทนาการ (Management and Administrative Science in Sports and Recreation) คุณสมบัติและรับสมัครเข้าเรียนต่อ
1. สอบผ่านทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
คะแนนที่ใช้ Gpax = 20% O-Net = 30% Gat = 20% Pat =2 30%
2. โครงการพัฒนากีฬาชาติ
โครงการพัฒนากีฬาชาติเป็นโครงการที่รับสมัครนิสิต ที่มีความสามารถ ทางด้านกีฬาระดับชาติ เข้าคัดเลือกและศึกษาต่อระดับปริญญาตรี รวม 6 คณะ
รับสมัครในเดือนกันยายนทางเว็บไซต์ โดยดาวน์โหลดใบสมัคร ในช่วงเปิดรับสมัครได้ที่
- http://www.atc.chula.ac.th/
- http://www.admissions.chula.ac.th/
3. โครงการจุฬาฯ ชนบท
โครงการจุฬาฯชนบท เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้กับผู้ที่สนใจเข้าศึกษาที่มีฐานะยากจน และอยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลออกไปในชนบทได้เข้าศึกษาต่อ ในระดับอุดมศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับทุนอุดหนุนการศึกษาจนจบหลักสูตรปกติ สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.rural.chula.ac.th/
4. โครงการโดยวิธีรับตรง
เรียนจบแล้วประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง
สำหรับน้อง ๆ ที่กำลังจะตัดสินใจเรียนต่อคณะนี้ คงเกิดคำถามใหญ่ ๆ เลยว่า เรียนจบแล้วไปทำอะไร? ไปเป็นนักกีฬา หรือเปล่า จริง ๆ แล้ว การเรียนวิทยาศาสตร์การกีฬา สามารถประกอบอาชีพได้มากมาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้ค่ะ
1. โค้ชกีฬา
น้องสามารถผันตัวเองไปเป็นโค้ชของนักกีฬาได้ เฉพาะการเรียนวิทยาศาสตร์การกีฬา จะต้องเรียนทั้งศาสตร์ เช่น สรีรวิทยา, ชีวกลศาสตร์ ทักษะและการฝึกซ้อมกีฬา โภชนาการทางการกีฬา ฯลฯ และ ศิลป์ เช่น จิตวิทยากีฬา เวชศาสตร์ทางการกีฬา (การฟื้นฟู บำบัด ร่างกายของนักกีฬาให้สมบูรณ์) ซึ่งความรู้เหล่านี้ จำเป็นมากสำหรับการเป็นโค้ชที่ดีในอนาคต เพราะจะทำให้เราเข้าใจว่า นักกีฬาต้องการอะไร ทั้งทางร่างกายและจิตใจ จึงจะสามารถมุ่งมั่นสู่ความเป็นที่ 1 ได้
2. นักวิชาการทางด้านกีฬา
หากน้องๆคนใดที่ดูกีฬาอยู่บ่อย ๆ จะเห็นว่าการเล่นกีฬาชนิดหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นทีม หรือเดี่ยว จะไม่ได้มีแค่นักกีฬาและโค้ชเท่านั้น แต่มีเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ ช่วยเหลือโค้ช วางแผนการเล่น ช่วยโค้ชแก้แผนการเล่น ซึ่งบุคคลเบื้องหลังเหล่านี้ ไม่ได้สำคัญน้อยไปกว่า โค้ชหรือนักกีฬาเองเลย
3. ครูพละศึกษา
หลาย ๆ คนอาจจะบอกว่า ครูพละศึกษา สามารถให้ใคร จบอะไรมาทำก็ได้ ความเป็นจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้น นักกีฬาที่มีชื่อเสียงระดับโลก หลายๆคนก็ได้ครูพละศึกษาช่วยแนะนำ ชี้แจง ว่ากีฬาประเภทไหนที่เหมาะกับรูปร่าง โภชนาการแบบไหน ที่เหมาะกับประเภทกีฬาที่อยู่ บางคนอาจจะได้ครูพละศึกษาช่วยติว ช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้ผันตัวเข้าสู่วงการกีฬาอาชีพ และประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงระดับโลก
อย่าลืมนะคะ ว่าครูพละคือคนแรกๆที่เห็นแววของนักกีฬา และผลักดันนักกีฬาจนประสบความสำเร็จ
จากนี้ น้องๆยังสามารถเป็น นักสรีรวิทยาการกีฬา นักจิตวิทยาการกีฬา นักเวชศาสตร์การกีฬา นักโภชนาการกีฬา ผู้แนะนำการออกกำลังกายในฟิตเนส
ข้อมูลเพิ่มเติม
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนน พระราม 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์: 02-218-1032โทรสาร: 02-2181019
อีเมล: spscmail@chula.ac.th
เว็บไซต์ : http://www.spsc.chula.ac.th/