x close

จุฬา ผลิตชุดทดสอบไฟรั่ว ช่วยคนน้ำท่วม







ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลิตชุดทดสอบไฟรั่วสำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วม

           เครื่องมือชนิดนี้ถูกออกแบบให้มีลักษณะคล้ายคันเบ็ดตกปลา โดยที่มีหัววัดไฟอยู่ที่ปลายเชือกด้านที่จะหย่อนลงไปในน้ำ ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้ผู้วัดไม่จำเป็นที่จะต้องเสี่ยงไปอยู่ใกล้กับบริเวณที่วัดไฟรั่ว ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ตัวผู้วัดได้

 คำเตือน / ข้อควรระวัง

           - ระวังมิให้ด้ามจับ และเครื่องตรวจไฟรั่ว (ส่วน ข.) โดนน้ำ เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้ - ห้ามเหวี่ยงหัววัดไฟ (ส่วน ก.) ขณะที่ก าลังวัดไฟรั่ว 

           - ต้องทดสอบอุปกรณ์โดยต่อสำยไฟกับถ่ำนไฟฉายก่อนวัดไฟ 

           - ที่ระดับน้ำที่ลึกกว่า 30 cm ต้องวัดไฟรั่วตามความลึกด้วย 

           - ในขณะวัดไฟรั่ว ควรหมุนหัววัดไฟไปมำบริเวณที่วัดเพื่อให้แน่ใจว่ามีไฟรั่วหรือไม่ 

           - เมื่อหลอดไฟสีแดงเริ่มสว่าง แสดงว่าบริเวณนั้นมีไฟรั่ว ห้ามเข้าใกล้บริเวณดังกล่าว เพราะอาจได้รับอันตรายจากไฟดูดได้

 ความรู้เกี่ยวกับไฟรั่วในน้ำ

           เมื่อไฟรั่วลงน้ำ ศักย์ไฟฟ้าแต่ละจุดในน้ำจะไม่เท่ากันทั้งในแนวระดับผิวน้ำและตามความลึก โดยจุดที่ใกล้กับบริเวณที่ไฟรั่วจะมีศักย์ไฟฟ้ามาก และจะค่อยๆ ลดลงเมื่อห่างออกมา เมื่อเรายืน หรือเดินอยู่ในน้ำที่มีไฟรั่ว ถ้ำเกิดควำมต่ำงศักย์ระหว่างขาทั้งสองข้ำง หรือ มีควำมต่ำงศักย์ระหว่ำงผิวน้ำและพื้นดินจะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่ำงกาย เกิดอาการไฟดูด ร่างกายของคนโดยเฉลี่ยจะรับรู้ถึงกระแสไฟ ฟ้ำเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายตั้งแต่ 0.001 แอมแปร์

           ติดต่อเพื่อขอรับ "ชุดทดสอบไฟรั่ว" ได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ โทร. 02-2185000 หรือ E-mail: scchula@gmail.com  ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีใช้ของ "ชุดทดสอบไฟรั่ว" ได้ที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สกุลธรรม เสนาะพิมพ์ (ทาง E-mail: sakuntam@gmail.com) และอาจารย์ อำนาจ สาธานนท์ (umnarts@hotmail.com)


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
จุฬา ผลิตชุดทดสอบไฟรั่ว ช่วยคนน้ำท่วม อัปเดตล่าสุด 15 พฤศจิกายน 2554 เวลา 12:19:02 1,089 อ่าน
TOP