แนะนำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดทำการสอนครั้งแรกตั้งแต่ปีการศึกษา 2508 เป็นต้นมา โดยใช้ชื่อว่า "แผนกอิสระสื่อสารมวลชน และการประชาสัมพันธ์" ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 ได้มีพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งเป็น "คณะนิเทศศาสตร์" คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ มุ่งเน้นผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ออกไปรับใช้ประเทศเป็นจำนวนมาก และชาวนิเทศจุฬาฯ เหล่านั้นได้กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ปฏิบัติหน้าที่ ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง และเทคโนโลยี อีกทั้งได้แสดงให้สังคมเห็นถึงศักยภาพ และการใช้ความรู้ ความสามารถที่มีอย่างเต็มที่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อประเทศชาติ และประชาชนให้สมกับคำกล่าวที่ว่า "เกียรติภูมิจุฬาฯ คือเกียรติแห่งการรับใช้ ประชาชน"
ปัจจุบันคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนในระดับปริญญาตรี 8 หลักสูตร ระดับปริญญาโท 8 หลักสูตรและระดับปริญญาเอก 1 หลักสูตร โดยทุกปีจะมีผู้ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในคณะนิเทศศาสตร์ ระดับปริญญาบัณฑิตหลักสูตรภาษาไทย ประมาณปีละ 150 คน หลักสูตรภาษาอังกฤษ สาขาวิชาการจัดการการสื่อสาร ประมาณปีละ 100 คน และระดับบัณฑิตศึกษาประมาณปีละ 235 คน
หลักสูตรการศึกษา
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดสอนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก ดังนี้
หลักสูตรปริญญาตรี (ภาคภาษาไทย)
1. นิเทศศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวารสารสนเทศ
2. นิเทศศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการสื่อสารมวลชน
3. นิเทศศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
4. นิเทศศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการโฆษณา
5. นิเทศศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวาทวิทยา
6. นิเทศศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการสื่อสารการแสดง
7. นิเทศศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการภาพยนตร์
หลักสูตรปริญญาตรี (ภาคภาษาอังกฤษ)
1. นิเทศศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการการสื่อสาร
หลักสูตรปริญญาโท
1. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสื่อสารมวลชน
2. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวารสารสนเทศ
3. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ
4. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการประชาสัมพันธ์
5. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการโฆษณา
6. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาวาทวิทยา
7. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสื่อสารการแสดง
8. นิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการภาพยนตร์
หลักสูตรปริญญาเอก
1. นิเทศศาสตรดุษฎีับัณฑิต
การสมัครเข้าศึกษา
ระดับปริญญาตรี
การสมัครเข้าศึกษาในคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรีมีโครงการต่าง ๆ ดังนี้
- ระบบแอดมิชชั่นกลาง
- โครงการรับตรง
- โครงการจุฬาฯชนบท
- โครงการพัฒนากีฬาชาติ
เข้าไปดูรายละเอียดที่เว็บไซต์ http://www.academic.chula.ac.th/thaiver/index.htm
- หลักสูตรนานาชาติ
เข้าไปดูรายละเอียดได้ที่เว็บไซต์ http://www.inter.commarts.chula.ac.th/
ระดับปริญญาโท
คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา
1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่ง จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
2. ผู้สมัครเข้าศึกษาภาคนอกเวลาราชการ ต้องมีประสบการณ์ทำงานด้านนิเทศศาสตร์ หรืออาชีพที่เกี่ยวข้อง มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
3. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้
การสมัครสอบ
กำหนดการรับสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ประจำภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2554 มีดังนี้
1. กรอกข้อมูลใบสมัครผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ http://www.inter.commarts.chula.ac.th/ ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง วันที่ 31 สิงหาคม 2554
2. ผู้สมัครลงทะเบียนสมัครสอบก่อนเข้าสู่ระบบการรับสมัคร กรอกใบสมัครให้ถูกต้องและครบถ้วน และกำหนดส่งใบสมัครทางไปรษณีย์ โดยวันสุดท้ายของการสมัครจะเป็นวันที่ประทับตราไปรษณีย์ต้นทางไม่เกิน 1 วันนับจากวันสุดท้ายของการรับสมัครของแต่ละหลักสูตร
3. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการทดสอบติดประกาศ ณ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและที่ http://www.inter.commarts.chula.ac.th/
4. กำหนดวันทดสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ในรายละเอียดแนบท้ายประกาศการรับสมัครของแต่ละหลักสูตร ที่ http://www.grad.chula.ac.th/
สถานที่ติดต่อ
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ถนนพญาไท กรุงเทพฯ 10330
โทร 0-2218-2205
อีเมล์ commarts@chula.ac.th
เว็บไซต์ http://www.commarts.chula.ac.th/
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย