วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง
วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง
รองศาสตราจารย์ ดร.จิติ หนูแก้ว คณบดี
รองศาสตราจารย์ ดร.จิติ หนูแก้ว คณบดี
วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง (ว.นาโน สจล.) พร้อมเปิดสอนระดับปริญญาตรี เป็นที่แรก
รองศาสตราจารย์ ดร.จิติ หนูแก้ว คณบดี วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.) กล่าวว่า ปัจจุบันนาโนเทคโนโลยี เข้ามามีส่วนสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก แต่เรามีผู้มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญในเรื่องของนาโนเทคโนโลยี จำนวนน้อยไม่เพียงพอแก่ความต้องการ
แต่เดิมวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี สจล. เปิดให้การเรียนการสอนในระดับสาขาปริญญามหาบัณฑิตและปริญญาดุษฎีบัณฑิต เท่านั้น แต่ความต้องการผู้เชี่ยวชาญที่มีความสามารถในด้านนี้เพิ่มขึ้นทุกๆปี ทำให้ปีนี้ ทางวิทยาลัยจึงตัดสินใจเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีขึ้น โดยเปิดรับสมัครแบบสอบตรง
"ในตลอดระยะเวลา 3-4 ปีที่ผ่านมา ทางวิทยาลัยจะได้รับโทรศัพท์เข้ามาสอบถามว่า เรามีบัณฑิตจบจากวิทยาลัยนาโน กี่คน มีพอที่จะสามารถนำความรู้และงานวิจัย ออกไปทำงานในบริษัทเอกชนได้หรือยัง ซึ่งที่ผ่านมาทาง วิทยาลัยต้องคอยตอบคำถามนี้เสมอ"
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมวัสดุนาโน
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมวัสดุนาโน
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมวัสดุนาโน
ทางวิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี จึงตัดสินใจเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี โดยเป็นการเปิดแบบรับตรง เป็นที่แรกของประเทศ ในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมวัสดุนาโน สาเหตุที่เปิดรับตรงเพราะต้องการคัดเลือกผู้ที่มีความสนใจในเรื่องนาโนเทคโนโลยี จริงๆและมีศักยภาพในการเรียนรู้เพียงพอ ที่จะเรียนได้ตลอดจนจบ เพราะเนื้อหาวิชาและการเรียนรู้ในห้องปฏิบัติการค่อนข้างยากและเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยมีการลงพื้นที่ปฏิบัติภาคสนามเพื่อทำการวิจัยอย่างจริงจัง โดยจะเปิดรับประมาณ 40-50 คน
วิชาพื้นฐานที่ต้องสอบ มี คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และการเขียนบทความภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ "ความรู้ทั่วไปด้านนาโนเทคโนโลยี" เพื่อประกอบการสอบสัมภาษณ์ ในรอบถัดไป พร้อมกันนี้ยังเปิดรับในหลักสูตรตามโครงการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีแบบก้าวหน้าหรือหลักสูตร 4+1 คือให้ผู้ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ได้มีโอกาสเรียนต่อในระดับปริญญาโทควบไปพร้อมกับปริญญาตรีในปีที่ 4 ซึ่งจะทำให้เรียนจบปริญญาโทเร็วขึ้นกว่าการเรียนจบปริญญาโทแบบปกติ 1 ปี
โดยในปีการศึกษานี้ได้เปิดสาขาวิชาวิศวกรรมวัสดุนาโนเป็นสาขาแรก และจะเปิดอีก 2 สาขาวิชาในเร็วๆนี้ คือสาขานาโนเทคโนโลยีชีวภาพโดยเน้นด้านไบโอเซนเซอร์ และสาขานาโนอิเล็กทรอนิกส์ คุณสมบัติทั่วไปสำหรับผู้สนใจศึกษาต่อด้านนาโนสำหรับปริญญาตรี ต้องสำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนสายวิทยาศาสตร์ หรือเทียบเท่า
สำหรับหลักสูตรในระดับปริญญาโท-เอก เราเปิดทำการเรียนการสอนมาหลายปีแล้วซึ่งถือว่าเราเป็นแหล่งผลิตนักนาโนเทคโนโลยีที่มีคุณภาพอีกแห่งหนึ่ง และเราเปิดสอนทั้ง 3 สาขาวิชาแล้วเช่นกัน
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
PMD Plus Co.,Ltd