ศูนย์สอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ชี้แจงข้อผิดพลาด สอบครูผู้ช่วย 2567 ขออภัยข้อบกพร่อง พร้อมมีมติยกให้คะแนนฟรี 41 ข้อ จากข้อสอบ 17 เอก
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
จากกรณีที่มีผู้เข้าสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี พ.ศ. 2567 หรือ สอบครูผู้ช่วย 2567 ออกมาโพสต์วิพากษ์วิจารณ์ว่า บางวิชาออกข้อสอบยากเกินไป ทั้งยังมีข้อผิดพลาดในข้อสอบอีกหลายวิชา โดยเฉพาะวิชาเอกคณิตศาสตร์ จนมีการเรียกร้องให้คณะกรรมการพิจารณาตรวจข้อสอบใหม่อีกครั้งนั้น
ล่าสุด (10 มิถุนายน 2567) เฟซบุ๊ก ศูนย์สอบธรรมศาสตร์ ได้ออกมาโพสต์ชี้แจงยอมรับข้อทักท้วงดังกล่าวแล้ว พร้อมกับมีมติพิจารณายกประโยชน์ให้คะแนนฟรี 41 ข้อ อีกทั้งน้อมรับข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการจัดสอบให้ดีขึ้น โดยมีข้อความระบุว่า…
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ก่อนอื่น ศูนย์สอบฯ ขออภัยในข้อบกพร่องเรื่องการจัดทำข้อสอบ และยินดีรับข้อทักท้วงและเสนอแนะทุกประการ ในระหว่างการสอบ 2 วันนี้ คณะกรรมการได้มีการรับทราบข้อมูลโดยตลอด และหาทางแก้ไข ก่อนอื่นขอเรียนเหตุผล และข้อมูลดังนี้
1. การสอบครูผู้ช่วย สพฐ. 2567 ต้องยุติธรรมต่อทุกสาขาเอกวิชา และระบบการบริหารจัดการ เน้นเรื่องความปลอดภัย ต้องโปร่งใส ไม่มีเรื่องทุจริต ทั้งสามารถให้ผู้สอบ หรือหน่วยงานตรวจสอบเข้าตรวจสอบภายหลังได้
2. ศูนย์สอบแบ่งคณะกรรมการออกเป็น 3 ทีม ทีมออก ทีมเลือก ทีมพิมพ์ข้อสอบ โดยทุกทีม หลังจากได้รับมอบหมายงานจะถูกเก็บตัว และไม่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลของทีมอื่น
3. หลักของการออกข้อสอบ ภาค ก. คือไม่ให้เอกใด มีความได้เปรียบเสียเปรียบ ดังนั้น คณิตศาสตร์จะเน้นเรื่องการหาคำตอบคล้ายข้อสอบ กพ. (แต่หลายคนบอกง่ายกว่า) เรื่องโจทย์ภาษาไทย ยาว 3 - 4 หน้า เป็นการวัดเรื่องการจับใจความ สรุปความซึ่งจริง ๆ ไม่ยาก ไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งหมด เพราะมีคำตอบบอกชัดในโจทย์ (ย้ำว่าไม่ใช่กับดักเวลา)
ส่วนภาษาอังกฤษ (หลายคนบอก MVP) แค่วัดคนพอสื่อสารภาษาอังกฤษได้ หรือไม่ได้เท่านั้น ส่วนวิชาการเป็นข้าราชการที่ดี (ดาวร้าย) ก็อาจดูยากไป แต่จริง ๆ ก็อยู่ในกรอบเนื้อหา และการเป็นข้าราชการท่านต้องมีความรู้เหล่านี้ด้วย วิชานี้ทุกเอกไม่มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบเท่าไร จึงต้องรับบทผู้ร้าย ทั้งหมดนี้เพื่อคัดผู้สอบไปแข่งกันที่แต่ละเอกวิชา
4. ในส่วนคำเฉลย ภาค ก. ทั้ง 3 วิชา คณะกรรมการ ให้เป็นไปตามที่ผู้ออกเฉลยไว้
5. วันนี้คณะกรรมการได้รับข้อทักท้วงเรื่องข้อสอบ หลังเวลาสอบเสร็จสิ้น จึงมีการประชุมกับทั้งผู้ออก ผู้เลือก ผู้พิมพ์ข้อสอบ โดยใช้ข้อมูลจากใบรายงานเหตุการณ์ที่ผู้สอบเขียน และข้อมูลที่ได้รับจากเพจศูนย์สอบธรรมศาสตร์ ทำให้สรุปได้ว่าเกิดความผิดพลาด 3 สาเหตุหลัก ได้แก่
- ผู้ออกข้อสอบ เขียนด้วยลายมือ และบางข้อที่มีปัญหานั้น มีหลายเวอร์ชั่น ข้อนั้นเลยมีตัวเลือกทั้งเวอร์ชั่นเก่าใหม่ (บางข้อที่มีปัญหาผู้ออกทำตัวเลือกผิดแต่ต้นทาง)
- ผู้เลือกไม่มีสิทธิ ทราบคำเฉลยได้แต่เพียงเลือกข้อสอบ ทำให้การเลือกข้อสอบบางข้อหลุดไปจริง ๆ
- ผู้พิมพ์ข้อสอบ ต้องพิมพ์ตามข้อสอบที่คัดเลือกแล้ว แต่เนื่องจากเป็นลายมือ และไม่มีความรู้เรื่องศัพท์เฉพาะ โดยคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ข้อที่ใช้สูตรพิมพ์ผิดเยอะ (ทราบภายหลัง) ประกอบกับผู้ตรวจทานมีเวลาน้อย ต้องรีบส่งต้นฉบับ และต้องไม่ให้ผู้ออกข้อสอบรู้ว่า ข้อใดถูกเลือกใช้สอบ ดังนั้นผู้ออกข้อสอบจึงไม่มีสิทธิตรวจต้นฉบับ
6. สำหรับข้อสอบวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ปีนี้คณะกรรมการออกข้อสอบตัดสินใจ รวมชุดกันและใช้ข้อสอบเดียวกัน โดยหลังการสอบจะเสนอให้ สพฐ. พิจารณา ให้ผู้สอบทราบขอบเขตโครงสร้างข้อสอบ ก่อนประกาศการสอบ ทุกวิชาเอก
7. หลังการร่วมกันพิจารณามีมติเรื่องการพิจารณายกประโยชน์ให้ผู้สอบ (ให้คะแนนทุกคน) ดังนี้
- วิชามาตรฐานความรู้ทั่วไปในการจัดการเรียนการสอน ให้คะแนนฟรี 1 ข้อ
- วิชาความรอบรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มี 1 ข้อ ที่มี 2 ตัวเลือกที่ถูก
- วิชาเอกคณิตศาสตร์ มีข้อฟรี 11 ข้อ
- วิชาเอกนาฎศิลป์ มีข้อฟรี 1 ข้อ
- วิชาเอกวิทยาศาสตร์/วิทยาศาสตร์ทั่วไป มีข้อฟรี 2 ข้อ
- วิชาเอกสังคม 1 ข้อ
- วิชาเอกญี่ปุ่น 1 ข้อ
- วิชาเอกภาษาไทย มี 1 ข้อ ที่มี 2 ตัวเลือกที่ถูก
- วิชาเอกพลศึกษา มีข้อฟรี 1 ข้อ และมี 1 ข้อที่มีตัวเลือกถูก 2 ข้อ
- วิชาเอกดนตรีไทย มีข้อฟรี 1 ข้อ
- วิชาเอกเคมี มีข้อฟรี 4 ข้อ และมี 1ข้อที่มีตัวเลือกถูก 2 ข้อ
- วิชาเอกชีววิทยา มีข้อฟรี 5 ข้อ
- วิชาเอกดนตรีสากล มีข้อฟรี 4 ข้อ
- วิชาเอกประถมศึกษา มีข้อฟรี 2 ข้อ
- วิชาเอกธุรกิจศึกษา มีข้อฟรี 1 ข้อ
- วิชาเอกการศึกษาพิเศษ มีข้อฟรี 2 ข้อ
8. ในส่วนผู้ที่ไม่ฝนรหัสชุดข้อสอบ ศูนย์สอบจะต้องหารือกับ สพฐ. ก่อน ไม่สามารถสรุปได้ตอนนี้
ทั้งหมดทั้งปวง คณะกรรมการของศูนย์สอบต้องขออภัย ในข้อผิดพลาด และขอนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุง กระบวนการจัดสอบให้ดียิ่งขึ้น และขอยืนยันว่าผู้สอบครูผู้ช่วย สพฐ. 2567 ต้องได้รับความยุติธรรมทุกคน
ขณะที่ชาวโซเชียลต่างชื่นชมศูนย์สอบธรรมศาสตร์ที่ออกมาชี้แจงเรื่องราวดังกล่าว อีกทั้งยอมรับความผิดพลาดและแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว แต่ก็มีส่วนหนึ่งรู้สึกสงสารคนที่เข้าสอบปีนี้ เพราะมองว่าคนที่เตรียมตัวมาดีมาก ๆ ก็กลับกลายเป็นว่าคะแนนสูสีกับคนเตรียมตัวมาน้อย
ข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก ศูนย์สอบธรรมศาสตร์
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
จากกรณีที่มีผู้เข้าสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ปี พ.ศ. 2567 หรือ สอบครูผู้ช่วย 2567 ออกมาโพสต์วิพากษ์วิจารณ์ว่า บางวิชาออกข้อสอบยากเกินไป ทั้งยังมีข้อผิดพลาดในข้อสอบอีกหลายวิชา โดยเฉพาะวิชาเอกคณิตศาสตร์ จนมีการเรียกร้องให้คณะกรรมการพิจารณาตรวจข้อสอบใหม่อีกครั้งนั้น
ล่าสุด (10 มิถุนายน 2567) เฟซบุ๊ก ศูนย์สอบธรรมศาสตร์ ได้ออกมาโพสต์ชี้แจงยอมรับข้อทักท้วงดังกล่าวแล้ว พร้อมกับมีมติพิจารณายกประโยชน์ให้คะแนนฟรี 41 ข้อ อีกทั้งน้อมรับข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการจัดสอบให้ดีขึ้น โดยมีข้อความระบุว่า…
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
เรียน ผู้สอบครูผู้ช่วย สพฐ. 2567
ก่อนอื่น ศูนย์สอบฯ ขออภัยในข้อบกพร่องเรื่องการจัดทำข้อสอบ และยินดีรับข้อทักท้วงและเสนอแนะทุกประการ ในระหว่างการสอบ 2 วันนี้ คณะกรรมการได้มีการรับทราบข้อมูลโดยตลอด และหาทางแก้ไข ก่อนอื่นขอเรียนเหตุผล และข้อมูลดังนี้
1. การสอบครูผู้ช่วย สพฐ. 2567 ต้องยุติธรรมต่อทุกสาขาเอกวิชา และระบบการบริหารจัดการ เน้นเรื่องความปลอดภัย ต้องโปร่งใส ไม่มีเรื่องทุจริต ทั้งสามารถให้ผู้สอบ หรือหน่วยงานตรวจสอบเข้าตรวจสอบภายหลังได้
2. ศูนย์สอบแบ่งคณะกรรมการออกเป็น 3 ทีม ทีมออก ทีมเลือก ทีมพิมพ์ข้อสอบ โดยทุกทีม หลังจากได้รับมอบหมายงานจะถูกเก็บตัว และไม่มีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลของทีมอื่น
3. หลักของการออกข้อสอบ ภาค ก. คือไม่ให้เอกใด มีความได้เปรียบเสียเปรียบ ดังนั้น คณิตศาสตร์จะเน้นเรื่องการหาคำตอบคล้ายข้อสอบ กพ. (แต่หลายคนบอกง่ายกว่า) เรื่องโจทย์ภาษาไทย ยาว 3 - 4 หน้า เป็นการวัดเรื่องการจับใจความ สรุปความซึ่งจริง ๆ ไม่ยาก ไม่จำเป็นต้องอ่านทั้งหมด เพราะมีคำตอบบอกชัดในโจทย์ (ย้ำว่าไม่ใช่กับดักเวลา)
ส่วนภาษาอังกฤษ (หลายคนบอก MVP) แค่วัดคนพอสื่อสารภาษาอังกฤษได้ หรือไม่ได้เท่านั้น ส่วนวิชาการเป็นข้าราชการที่ดี (ดาวร้าย) ก็อาจดูยากไป แต่จริง ๆ ก็อยู่ในกรอบเนื้อหา และการเป็นข้าราชการท่านต้องมีความรู้เหล่านี้ด้วย วิชานี้ทุกเอกไม่มีข้อได้เปรียบเสียเปรียบเท่าไร จึงต้องรับบทผู้ร้าย ทั้งหมดนี้เพื่อคัดผู้สอบไปแข่งกันที่แต่ละเอกวิชา
4. ในส่วนคำเฉลย ภาค ก. ทั้ง 3 วิชา คณะกรรมการ ให้เป็นไปตามที่ผู้ออกเฉลยไว้
5. วันนี้คณะกรรมการได้รับข้อทักท้วงเรื่องข้อสอบ หลังเวลาสอบเสร็จสิ้น จึงมีการประชุมกับทั้งผู้ออก ผู้เลือก ผู้พิมพ์ข้อสอบ โดยใช้ข้อมูลจากใบรายงานเหตุการณ์ที่ผู้สอบเขียน และข้อมูลที่ได้รับจากเพจศูนย์สอบธรรมศาสตร์ ทำให้สรุปได้ว่าเกิดความผิดพลาด 3 สาเหตุหลัก ได้แก่
- ผู้ออกข้อสอบ เขียนด้วยลายมือ และบางข้อที่มีปัญหานั้น มีหลายเวอร์ชั่น ข้อนั้นเลยมีตัวเลือกทั้งเวอร์ชั่นเก่าใหม่ (บางข้อที่มีปัญหาผู้ออกทำตัวเลือกผิดแต่ต้นทาง)
- ผู้เลือกไม่มีสิทธิ ทราบคำเฉลยได้แต่เพียงเลือกข้อสอบ ทำให้การเลือกข้อสอบบางข้อหลุดไปจริง ๆ
- ผู้พิมพ์ข้อสอบ ต้องพิมพ์ตามข้อสอบที่คัดเลือกแล้ว แต่เนื่องจากเป็นลายมือ และไม่มีความรู้เรื่องศัพท์เฉพาะ โดยคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ ข้อที่ใช้สูตรพิมพ์ผิดเยอะ (ทราบภายหลัง) ประกอบกับผู้ตรวจทานมีเวลาน้อย ต้องรีบส่งต้นฉบับ และต้องไม่ให้ผู้ออกข้อสอบรู้ว่า ข้อใดถูกเลือกใช้สอบ ดังนั้นผู้ออกข้อสอบจึงไม่มีสิทธิตรวจต้นฉบับ
6. สำหรับข้อสอบวิทยาศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ปีนี้คณะกรรมการออกข้อสอบตัดสินใจ รวมชุดกันและใช้ข้อสอบเดียวกัน โดยหลังการสอบจะเสนอให้ สพฐ. พิจารณา ให้ผู้สอบทราบขอบเขตโครงสร้างข้อสอบ ก่อนประกาศการสอบ ทุกวิชาเอก
7. หลังการร่วมกันพิจารณามีมติเรื่องการพิจารณายกประโยชน์ให้ผู้สอบ (ให้คะแนนทุกคน) ดังนี้
- วิชามาตรฐานความรู้ทั่วไปในการจัดการเรียนการสอน ให้คะแนนฟรี 1 ข้อ
- วิชาความรอบรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง มี 1 ข้อ ที่มี 2 ตัวเลือกที่ถูก
- วิชาเอกคณิตศาสตร์ มีข้อฟรี 11 ข้อ
- วิชาเอกฟิสิกส์ มีข้อฟรี 2 ข้อ
- วิชาเอกวิทยาศาสตร์/วิทยาศาสตร์ทั่วไป มีข้อฟรี 2 ข้อ
- วิชาเอกสังคม 1 ข้อ
- วิชาเอกญี่ปุ่น 1 ข้อ
- วิชาเอกภาษาไทย มี 1 ข้อ ที่มี 2 ตัวเลือกที่ถูก
- วิชาเอกพลศึกษา มีข้อฟรี 1 ข้อ และมี 1 ข้อที่มีตัวเลือกถูก 2 ข้อ
- วิชาเอกบรรณารักษ์ มีข้อฟรี 1 ข้อ
- วิชาเอกเคมี มีข้อฟรี 4 ข้อ และมี 1ข้อที่มีตัวเลือกถูก 2 ข้อ
- วิชาเอกชีววิทยา มีข้อฟรี 5 ข้อ
- วิชาเอกดนตรีสากล มีข้อฟรี 4 ข้อ
- วิชาเอกประถมศึกษา มีข้อฟรี 2 ข้อ
- วิชาเอกธุรกิจศึกษา มีข้อฟรี 1 ข้อ
- วิชาเอกวิศวกรรมศาสตร์ มีข้อฟรี 1 ข้อ
8. ในส่วนผู้ที่ไม่ฝนรหัสชุดข้อสอบ ศูนย์สอบจะต้องหารือกับ สพฐ. ก่อน ไม่สามารถสรุปได้ตอนนี้
ทั้งหมดทั้งปวง คณะกรรมการของศูนย์สอบต้องขออภัย ในข้อผิดพลาด และขอนำข้อเสนอแนะไปปรับปรุง กระบวนการจัดสอบให้ดียิ่งขึ้น และขอยืนยันว่าผู้สอบครูผู้ช่วย สพฐ. 2567 ต้องได้รับความยุติธรรมทุกคน
ขณะที่ชาวโซเชียลต่างชื่นชมศูนย์สอบธรรมศาสตร์ที่ออกมาชี้แจงเรื่องราวดังกล่าว อีกทั้งยอมรับความผิดพลาดและแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว แต่ก็มีส่วนหนึ่งรู้สึกสงสารคนที่เข้าสอบปีนี้ เพราะมองว่าคนที่เตรียมตัวมาดีมาก ๆ ก็กลับกลายเป็นว่าคะแนนสูสีกับคนเตรียมตัวมาน้อย
ข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก ศูนย์สอบธรรมศาสตร์