น้องโอโม่ เผยเคล็ดลับจัดพอร์ตยังไงให้ได้รับเลือก 15 คณะ ของอย่างนี้มันต้องเตรียมตัวตั้งแต่ ม.4 ด้านชาวเน็ตดราม่า ยื่นเยอะแบบนี้ตัดสิทธิ์คนอื่นไหม ก่อนมีคนมาแจง มันเป็นสิทธิ์ของน้อง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Sci project.skr
กรณีที่ น้องโอโม่ ฐิติพันธ์ วะเศษสร้อย นักเรียนโรงเรียนสกลราช จ.สกลนคร ยื่นพอร์ตติด 15 คณะ เรียกเสียงฮือฮาแก่เพื่อนในโรงเรียนและเป็นที่ชื่นชมบนโซเชียลมีเดีย เพราะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่ใครสักคนจะถูกหลายคณะเลือกพร้อมเพรียงกันนั้น
อ่านเพิ่มเติม : เด็กเก่งยื่นพอร์ต 15 คณะ ติดทั้ง 15 คณะ บางที่ให้ทุนเรียนฟรีจบ ป.เอก เฉลยเลือกที่ไหน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Sci project.skr
ล่าสุด วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 เฟซบุ๊ก คนข่าวสกลนคร รายงานว่า น้องโอโม่เปิดเผยถึงเบื้องหลังการทำพอร์ตโฟลิโอว่า เริ่มทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านนวัตกรรมการวิจัยกับ Sci project.skr ตั้งแต่ ม.4 พร้อมกับลงแข่งรายการต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับภูมิภาคถึงระดับประเทศ สะสมผลงานการคว้ารางวัลนานกว่า 3 ปี โดยที่ทำเกรดเฉลี่ยในโรงเรียนออกมาให้ดีที่สุดจนสามารถถูกคัดเลือกได้ถึง 15 คณะ
ส่วนสาเหตุที่เลือกคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เนื่องจากพิจารณาปัจจัยหลาย ๆ ด้านแล้วพบว่าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม รวมถึงเป็นความชอบส่วนตัวด้วย
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Sci project.skr
ชาวเน็ตดราม่า น้องโอโม่เลือกหว่านแบบนี้กั๊กที่คนอื่นไหม
อย่างไรก็ตาม มีชาวเน็ตตั้งคำถามว่า การที่น้องโอโม่เลือกยื่นพอร์ตโฟลิโอหว่านไป 15 คณะ แต่ตัวเองสามารถเลือกเรียนได้คณะเดียว จำเป็นต้องสละสิทธิ์ในคณะที่ไม่ได้เลือก แบบนี้คือการตัดโอกาสคนอื่นหรือไม่ เพราะในบางคณะ บางทุนการศึกษา ไม่ได้มีการจัดอันดับสำรองเอาไว้สำหรับรองรับการสละสิทธิ์
อีกส่วนหนึ่งก็มองว่า น้องโอโม่เลือกคณะหว่านมากเกินไป กล่าวคือ 15 คณะที่ยื่นไป แทบจะแหวกกันคนละสายงาน ไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ถ้าอยากเป็นวิศวกร ก็ยื่นคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้หมด ไม่ใช่หว่านไปคณะอื่นด้วย ควรเลือกสัก 4-5 คณะก็เพียงพอ
ในประเด็นนี้ มีคนแย้งว่า น้องโอโม่อายุ 18 ปี บางทีอาจจะยังไม่ค้นพบตัวเองว่า อยากเรียนคณะอะไร จึงหว่านคณะที่สนใจไปก่อน แล้วค่อยมาทบทวนตัวเองจากตัวเลือกที่มีว่า ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร
นอกจากนี้ ยังมีการยกตัวอย่างถึงคนวัยผู้ใหญ่ สำหรับบางคนอายุถึง 30 ปี ยังไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำว่าชอบอะไร ควรเรียนคณะอะไร ฉะนั้นการที่เด็กอายุ 18 ปี ยังค้นพบตัวเองไม่เจอ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก
กลุ่มสนับสนุนน้องโอโม่ ชี้ ไม่ได้ทำอะไรผิด
ความคิดเห็นของกลุ่มนี้ มองว่า ในเมื่อไม่มีกฎห้ามเอาไว้ว่ายื่นได้สูงสุดกี่คณะ น้องโอโม่ก็มีสิทธิ์ที่จะยื่นพอร์ตโฟลิโอไปกี่คณะก็ได้ เพราะตอนที่เรายื่น ก็ยังไม่รู้ว่าจะได้รับการคัดเลือกหรือไม่ คนเรียนเก่งก็กลัวไม่มีที่เรียนเหมือนกัน การยื่นหลาย ๆ ที่ก็เป็นการเพลย์เซฟ สมมติว่า น้องโอโม่เลือกคณะน้อย ๆ แล้วเกิดพลาดไม่ได้รับการคัดเลือกหมด แบบนี้ใครจะรับผิดชอบชีวิตน้อง
ขณะเดียวกัน เมื่อเทียบกับคนสมัครงาน ก็แทบไม่ต่างกัน น้อยคนที่จะหว่านใบสมัครไปเพียงบริษัทเดียว ยังไงก็ต้องหว่านไปหลายบริษัทแล้วรอติดต่อมา อย่างน้อยก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้ตัวเอง ถ้าหากจะมีคนผิด ก็คือผิดที่ระบบ ควรทำให้มีตัวสำรองทุกคณะเพื่อไม่ให้ใครต้องเสียโอกาสไปหากมีการสละสิทธิ์ และปัญหานี้ก็เกิดขึ้นมานานแล้ว
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Sci project.skr
กรณีที่ น้องโอโม่ ฐิติพันธ์ วะเศษสร้อย นักเรียนโรงเรียนสกลราช จ.สกลนคร ยื่นพอร์ตติด 15 คณะ เรียกเสียงฮือฮาแก่เพื่อนในโรงเรียนและเป็นที่ชื่นชมบนโซเชียลมีเดีย เพราะไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ที่ใครสักคนจะถูกหลายคณะเลือกพร้อมเพรียงกันนั้น
อ่านเพิ่มเติม : เด็กเก่งยื่นพอร์ต 15 คณะ ติดทั้ง 15 คณะ บางที่ให้ทุนเรียนฟรีจบ ป.เอก เฉลยเลือกที่ไหน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Sci project.skr
ล่าสุด วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 เฟซบุ๊ก คนข่าวสกลนคร รายงานว่า น้องโอโม่เปิดเผยถึงเบื้องหลังการทำพอร์ตโฟลิโอว่า เริ่มทำโครงงานวิทยาศาสตร์ด้านนวัตกรรมการวิจัยกับ Sci project.skr ตั้งแต่ ม.4 พร้อมกับลงแข่งรายการต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับภูมิภาคถึงระดับประเทศ สะสมผลงานการคว้ารางวัลนานกว่า 3 ปี โดยที่ทำเกรดเฉลี่ยในโรงเรียนออกมาให้ดีที่สุดจนสามารถถูกคัดเลือกได้ถึง 15 คณะ
ส่วนสาเหตุที่เลือกคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เนื่องจากพิจารณาปัจจัยหลาย ๆ ด้านแล้วพบว่าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม รวมถึงเป็นความชอบส่วนตัวด้วย
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Sci project.skr
ชาวเน็ตดราม่า น้องโอโม่เลือกหว่านแบบนี้กั๊กที่คนอื่นไหม
อย่างไรก็ตาม มีชาวเน็ตตั้งคำถามว่า การที่น้องโอโม่เลือกยื่นพอร์ตโฟลิโอหว่านไป 15 คณะ แต่ตัวเองสามารถเลือกเรียนได้คณะเดียว จำเป็นต้องสละสิทธิ์ในคณะที่ไม่ได้เลือก แบบนี้คือการตัดโอกาสคนอื่นหรือไม่ เพราะในบางคณะ บางทุนการศึกษา ไม่ได้มีการจัดอันดับสำรองเอาไว้สำหรับรองรับการสละสิทธิ์
อีกส่วนหนึ่งก็มองว่า น้องโอโม่เลือกคณะหว่านมากเกินไป กล่าวคือ 15 คณะที่ยื่นไป แทบจะแหวกกันคนละสายงาน ไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ถ้าอยากเป็นวิศวกร ก็ยื่นคณะวิศวกรรมศาสตร์ให้หมด ไม่ใช่หว่านไปคณะอื่นด้วย ควรเลือกสัก 4-5 คณะก็เพียงพอ
ในประเด็นนี้ มีคนแย้งว่า น้องโอโม่อายุ 18 ปี บางทีอาจจะยังไม่ค้นพบตัวเองว่า อยากเรียนคณะอะไร จึงหว่านคณะที่สนใจไปก่อน แล้วค่อยมาทบทวนตัวเองจากตัวเลือกที่มีว่า ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร
นอกจากนี้ ยังมีการยกตัวอย่างถึงคนวัยผู้ใหญ่ สำหรับบางคนอายุถึง 30 ปี ยังไม่รู้ตัวเองด้วยซ้ำว่าชอบอะไร ควรเรียนคณะอะไร ฉะนั้นการที่เด็กอายุ 18 ปี ยังค้นพบตัวเองไม่เจอ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก
กลุ่มสนับสนุนน้องโอโม่ ชี้ ไม่ได้ทำอะไรผิด
ความคิดเห็นของกลุ่มนี้ มองว่า ในเมื่อไม่มีกฎห้ามเอาไว้ว่ายื่นได้สูงสุดกี่คณะ น้องโอโม่ก็มีสิทธิ์ที่จะยื่นพอร์ตโฟลิโอไปกี่คณะก็ได้ เพราะตอนที่เรายื่น ก็ยังไม่รู้ว่าจะได้รับการคัดเลือกหรือไม่ คนเรียนเก่งก็กลัวไม่มีที่เรียนเหมือนกัน การยื่นหลาย ๆ ที่ก็เป็นการเพลย์เซฟ สมมติว่า น้องโอโม่เลือกคณะน้อย ๆ แล้วเกิดพลาดไม่ได้รับการคัดเลือกหมด แบบนี้ใครจะรับผิดชอบชีวิตน้อง
ขณะเดียวกัน เมื่อเทียบกับคนสมัครงาน ก็แทบไม่ต่างกัน น้อยคนที่จะหว่านใบสมัครไปเพียงบริษัทเดียว ยังไงก็ต้องหว่านไปหลายบริษัทแล้วรอติดต่อมา อย่างน้อยก็เป็นการเพิ่มโอกาสให้ตัวเอง ถ้าหากจะมีคนผิด ก็คือผิดที่ระบบ ควรทำให้มีตัวสำรองทุกคณะเพื่อไม่ให้ใครต้องเสียโอกาสไปหากมีการสละสิทธิ์ และปัญหานี้ก็เกิดขึ้นมานานแล้ว