ดราม่าอีก ตำราเรียนเด็ก รอบนี้ให้กินข้าวมันไก่กับน้ำปลา ไปเอาน้ำปลาร้านอื่น ก่อนถามหาความมีน้ำใจ เจอเพจดังฉะทุกจุด คอมเมนต์เดือด ๆ หรือจะสอนเด็กเป็นมนุษย์ป้า !?
ภาพจาก เพจ Drama-addict
เกิดเป็นประเด็นดราม่าตำราภาษาไทย ชั้น ป.5
ซึ่งเขียนเล่าเรื่องตัวละครเด็กที่มีฐานะยากจน
ต้องกินไข่ต้มคลุกน้ำปลาเพื่อความพอเพียง จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสังคม
ทั้งการตีความหมายเรื่องพอเพียงแบบผิด ๆ ยัดเยียดความโรแมนติกในความจน
ทั้งที่การบริโภคอาหารเช่นนั้นมีความไม่เหมาะสมด้านโภชนาการ
ซัดคำพูดความสุขอยู่ที่ใจ ใช่จะใช้ได้กับทุกเรื่อง
ล่าสุด (24 เมษายน 2566) เพจ Drama-addict ก็ได้ออกมาเปิดเนื้อหาอีกส่วนหนึ่ง จากตำราของเด็กนักเรียน ซึ่งมีใจความกล่าวถึงตัวละครชื่อ ใบพลู ซึ่งไปซื้อข้าวมันไก่ แต่น้ำจิ้มข้าวมันไก่เผ็ด จึงไปขอน้ำปลาจากร้านข้าวแกง ทำให้ถูกคนขายต่อว่า เพราะไม่ได้ซื้อข้าวแกงที่ร้าน แต่จะมาขอน้ำปลา
ล่าสุด (24 เมษายน 2566) เพจ Drama-addict ก็ได้ออกมาเปิดเนื้อหาอีกส่วนหนึ่ง จากตำราของเด็กนักเรียน ซึ่งมีใจความกล่าวถึงตัวละครชื่อ ใบพลู ซึ่งไปซื้อข้าวมันไก่ แต่น้ำจิ้มข้าวมันไก่เผ็ด จึงไปขอน้ำปลาจากร้านข้าวแกง ทำให้ถูกคนขายต่อว่า เพราะไม่ได้ซื้อข้าวแกงที่ร้าน แต่จะมาขอน้ำปลา
แม้ต่อมาคนขายข้าวแกงจะอนุญาต
ใบพลูกลับเดินคอหดออกจากร้าน มองว่าหากเขาไม่เต็มใจให้ก็อย่าไปเอาของเขา
พร้อมตั้งคำถามว่า ทำยังไงขนมธรรมเนียมประเพณีดี ๆ
ของไทยที่มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน จึงจะอยู่ในจิตใจของคนไทย
โดยทางเพจ Drama-addict ได้ออกมาเปิดมุมมองเห็นต่าง ชนิดจี้ทีละจุดของเนื้อหาส่วนนี้ ที่สร้างเหตุการณ์ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงตั้งแต่เริ่ม ไปจนถึงเรื่องน้ำจิ้ม รวมถึงการยัดเยียด บังคับเรียกร้องความมีน้ำใจจากคนอื่น ระบุว่า...
2. ปกติไม่ค่อยเห็นคนกินน้ำปลากับข้าวมันไก่นะครับ กลิ่นคาวน้ำปลามันทำข้าวมันไก่เสียรสหมด มันไม่เข้ากัน ต้องซีอิ๊วหวาน อร่อยมาก เด็กที่กินเผ็ดไม่ได้ก็กินได้
3. น้ำปลา ของร้านอาหารเขาก็มีต้นทุนเอาไว้บริการลูกค้า ถ้าไม่ใช่ลูกค้าแล้วไปขอ ถ้าเขาให้ก็ดี ถ้าไม่ให้ ก็เป็นสิทธิของเขา เรื่องน้ำใจมันต้องมอบให้เองโดยสมัครใจไม่ใช่เรียกร้องให้เขามีน้ำใจอะนะ
งานนี้ก็มีชาวเน็ตเข้ามาคอมเมนต์กันสนั่น บ้างก็ว่าหลักสูตรสอนให้เด็กเป็นมนุษย์ป้า มนุษย์ลุงชัด ๆ รวมถึงมองเรื่องที่คนแต่งหลักสูตร พยายามจะให้เด็กกินแต่น้ำปลา ทั้ง ๆ ที่ตัวคนเขียนก็ไม่น่าจะกินข้าวมันไก่ใส่น้ำปลาด้วยซ้ำ แทนที่จะสอนถึงความพอเพียง บทเรียนแบบนี้อาจยิ่งสร้างความขัดแย้งในสังคม