เมนต์สนั่น คำชี้แจง ทปอ. ปมข้อสอบ TGAT เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด ร่ายยืดยาว ไม่ช่วยให้หายคาใจ จะสื่ออะไร แห่ทวงคำตอบ-ตรรกะคนเฉลย ช่วยกลับมาตอบคำถามที่มีแต่เธอที่รู้
เป็นประเด็นร้อน ๆ ที่โลกโซเชียลถกเถียงกันสนั่น ในการสอบ TGAT หรือข้อสอบวัดสมรรถนะทั่วไป ของนักเรียน ม.6 หรือ #dek66 ที่มีการตั้งคำถามว่า เมนูอาหารไหนสร้างก๊าซเรือนกระจก และส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด ซึ่งแม้จะมีนักเรียนที่เข้าสอบมาร่วมทำการวิเคราะห์ แต่คนก็ยังอยากรู้ เฉลยข้อไหน และการสอบแบบนี้จะวัดผลอะไรได้
อ่านข่าว : ชาวเน็ตถกสนั่นข้อสอบ TGAT เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด ? คาใจมาก อยากได้เฉลย !
ล่าสุด (11 ธันวาคม 2565) ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊ก Mytcas.com เรื่อง พร้อมอธิบายเจตนาของการปรับการสอบรูปแบบใหม่ โดยระบุว่า...
ตามที่มีประเด็นไวรัลในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับข้อสอบวิชาความถนัดทั่วไป (TGAT) ในข้อคำถามเกี่ยวกับการเลือกเมนูอาหารที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยที่สุดนั้น คณะกรรมการดำเนินงาน TCAS รู้สึกยินดีที่ข้อคำถามดังกล่าวกระตุ้นให้มีการถกเถียงและทำให้ผู้อ่านได้ตระหนักรู้ถึงผลกระทบของการเลือกรับประทานอาหาร ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างก๊าซเรือนกระจก ตามหลักของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 13-Climate Action ของสหประชาติ เพราะนอกจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ประหยัดพลังงาน การเดินทางโดยสาธารณะ การเลือกทานอาหารจากแหล่งในท้องถิ่น และการบริโภคอย่างพอเหมาะ แล้วการเลือกชนิดของอาหารที่รับประทานก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างก๊าซเรือนกระจกด่วยเช่นกัน ข้อสอบดังกล่าวได้พัฒนาบนมาตรฐานความรู้ข้องการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมรรถนะการทำงานในอนาคต ในส่วนที่ 3 ของวิชา TGAT ซึ่งเป็นวิชาใหม่ที่จัดสอบในปีนี้เป็นครั้งแรก
ความมุ่งหวังประการหนึ่งของการพัฒนาระบบการสอบรูปแบบใหม่ ในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุมศึกษาของประเทศไทย คือการกระตุ้นให้ผู้เข้าสอบได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะอนาคตและทัศนคติที่ดี โดยกำหนดให้เป็นส่วนใหม่ของการสอบวิชาความถนัดทั่วไป เช่น การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ การคิดเชิงวิพากษ์และการใช้เหตุผล การบริหารจัดการอารมณ์ การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม และการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาของสังคม และหวังว่าการจัดศึกษาในอนาคตและการพัฒนาตนเองของผู้เรียนรู้จะเป็นไปในทิศทางดังกล่าวควบคู่ไปกับการเรียนรู้และประยุกต์เนื้อหาเชิงวิชาการตามหลักสูตรไปพร้อมกัน
![อาหาร อาหาร]()
![อาหาร อาหาร]()
คนงงใจ คำชี้แจง..ชี้แจงอะไร อ่านจบยังไม่ได้คำตอบ
อย่างไรก็ตาม เมื่อส่องคอมเมนต์จากชาวเน็ตต่อคำชี้แจงดังกล่าว ดูเหมือนแต่ละคนก็ยังคงไม่ได้รับคำตอบ ว่าท้ายที่สุดแล้วการออกข้อสอบแบบนี้ต้องการคำตอบแบบไหน ตอบว่าอะไรกันแน่
โดยบางคอมเมนต์ชี้ว่า คนไม่ได้อยากรู้วิธีการพัฒนาข้อสอบ แต่อยากรู้คำเฉลยรวมถึงเหตุผลที่ว่า ทำไมต้องเฉลยข้อนั้น มีตรรกะอะไรมารองรับกันแน่ ช่วยมาตอบคำถามที่มีแต่เธอที่รู้
แม้แต่ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ก็ยังถามว่า "สรุปว่าตอบข้อไหนเนี่ย ? เหมือนเนื้อหาข้อความไม่มีการบอกใบ้เฉลย แค่แถลงรับกับกระแสไวรัลเรื่องนี้"
![คอมเมนต์ คอมเมนต์]()
![คอมเมนต์ คอมเมนต์]()
![คอมเมนต์ คอมเมนต์]()
![คอมเมนต์ คอมเมนต์]()
![คอมเมนต์ คอมเมนต์]()
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Mytcas.com

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
เป็นประเด็นร้อน ๆ ที่โลกโซเชียลถกเถียงกันสนั่น ในการสอบ TGAT หรือข้อสอบวัดสมรรถนะทั่วไป ของนักเรียน ม.6 หรือ #dek66 ที่มีการตั้งคำถามว่า เมนูอาหารไหนสร้างก๊าซเรือนกระจก และส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด ซึ่งแม้จะมีนักเรียนที่เข้าสอบมาร่วมทำการวิเคราะห์ แต่คนก็ยังอยากรู้ เฉลยข้อไหน และการสอบแบบนี้จะวัดผลอะไรได้
อ่านข่าว : ชาวเน็ตถกสนั่นข้อสอบ TGAT เมนูไหนทำโลกร้อนน้อยที่สุด ? คาใจมาก อยากได้เฉลย !
ล่าสุด (11 ธันวาคม 2565) ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้ชี้แจงผ่านเฟซบุ๊ก Mytcas.com เรื่อง พร้อมอธิบายเจตนาของการปรับการสอบรูปแบบใหม่ โดยระบุว่า...
ตามที่มีประเด็นไวรัลในสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับข้อสอบวิชาความถนัดทั่วไป (TGAT) ในข้อคำถามเกี่ยวกับการเลือกเมนูอาหารที่ส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยที่สุดนั้น คณะกรรมการดำเนินงาน TCAS รู้สึกยินดีที่ข้อคำถามดังกล่าวกระตุ้นให้มีการถกเถียงและทำให้ผู้อ่านได้ตระหนักรู้ถึงผลกระทบของการเลือกรับประทานอาหาร ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและการสร้างก๊าซเรือนกระจก ตามหลักของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนข้อ 13-Climate Action ของสหประชาติ เพราะนอกจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ประหยัดพลังงาน การเดินทางโดยสาธารณะ การเลือกทานอาหารจากแหล่งในท้องถิ่น และการบริโภคอย่างพอเหมาะ แล้วการเลือกชนิดของอาหารที่รับประทานก็เป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างก๊าซเรือนกระจกด่วยเช่นกัน ข้อสอบดังกล่าวได้พัฒนาบนมาตรฐานความรู้ข้องการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสมรรถนะการทำงานในอนาคต ในส่วนที่ 3 ของวิชา TGAT ซึ่งเป็นวิชาใหม่ที่จัดสอบในปีนี้เป็นครั้งแรก
ความมุ่งหวังประการหนึ่งของการพัฒนาระบบการสอบรูปแบบใหม่ ในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุมศึกษาของประเทศไทย คือการกระตุ้นให้ผู้เข้าสอบได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาทักษะอนาคตและทัศนคติที่ดี โดยกำหนดให้เป็นส่วนใหม่ของการสอบวิชาความถนัดทั่วไป เช่น การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ การคิดเชิงวิพากษ์และการใช้เหตุผล การบริหารจัดการอารมณ์ การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม และการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมแก้ปัญหาของสังคม และหวังว่าการจัดศึกษาในอนาคตและการพัฒนาตนเองของผู้เรียนรู้จะเป็นไปในทิศทางดังกล่าวควบคู่ไปกับการเรียนรู้และประยุกต์เนื้อหาเชิงวิชาการตามหลักสูตรไปพร้อมกัน

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
คนงงใจ คำชี้แจง..ชี้แจงอะไร อ่านจบยังไม่ได้คำตอบ
อย่างไรก็ตาม เมื่อส่องคอมเมนต์จากชาวเน็ตต่อคำชี้แจงดังกล่าว ดูเหมือนแต่ละคนก็ยังคงไม่ได้รับคำตอบ ว่าท้ายที่สุดแล้วการออกข้อสอบแบบนี้ต้องการคำตอบแบบไหน ตอบว่าอะไรกันแน่
โดยบางคอมเมนต์ชี้ว่า คนไม่ได้อยากรู้วิธีการพัฒนาข้อสอบ แต่อยากรู้คำเฉลยรวมถึงเหตุผลที่ว่า ทำไมต้องเฉลยข้อนั้น มีตรรกะอะไรมารองรับกันแน่ ช่วยมาตอบคำถามที่มีแต่เธอที่รู้
แม้แต่ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยาคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย ก็ยังถามว่า "สรุปว่าตอบข้อไหนเนี่ย ? เหมือนเนื้อหาข้อความไม่มีการบอกใบ้เฉลย แค่แถลงรับกับกระแสไวรัลเรื่องนี้"




