อยากเรียนต่อหมอ ควรเรียนสายไหน
สำหรับน้อง ๆ ที่ยังเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และอยากเรียนต่อหมอ ควรเลือกเรียนต่อแผนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (วิทย์-คณิต) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพราะจะเน้นการเรียนวิชาสามัญ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา คณิตศาสตร์ (1) ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา แต่ถ้าเลือกเรียนสายอื่นไปแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลไป แค่อาจจะต้องใช้เวลาอ่านหนังสือ ทบทวนความรู้ หรือเรียนพิเศษเสริมในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น รวมถึงควรเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบวิชาความถนัดแพทย์ไว้ด้วย โดยสัดส่วนคะแนนที่ใช้ในการพิจารณามี ดังนี้
- คะแนนวิชาสามัญโดย สทศ. 70% ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา) 40% คณิตศาสตร์ (1) 20% ภาษาอังกฤษ 20% ภาษาไทย 10% และสังคมศึกษา 10% สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ niets.or.th
- คะแนนวิชาเฉพาะ กสพท หรือวิชาความถนัดแพทย์ 30%
วิชาความถนัดแพทย์ คืออะไร
“กสพท คือชื่อย่อของ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย”
1. การทดสอบศักยภาพในการเรียนรู้ คือ การจับใจความ คิดวิเคราะห์สังเคราะห์ เชื่อมโยง ความเป็นเหตุเป็นผล และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
2. การประเมินแนวคิดทางจริยธรรม
อยากเรียนหมอ ต้องสอบอะไรบ้าง
สำหรับใครที่อยากเรียนต่อหมอควรศึกษาประกาศการรับสมัครในแต่ละปีให้ละเอียด เพราะกำหนดการบางปีอาจเร็ว-ช้าแตกต่างกัน เพื่อกำหนดแนวทางในการอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบกัน ซึ่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 เป็นต้นมา มีการนำระบบ TCAS (Thai University Center Admission System) มาใช้ในการคัดเลือกผู้สมัครเข้ามหาวิทยาลัยต่าง ๆ โดยใช้คะแนนในการคัดผู้สอบติดจากการสมัคร โดยแบ่งเป็นรอบ ดังนี้
1. รอบที่ 1 Portfolio ไม่มีการสอบ เน้นดูที่ผลงานและความสามารถเป็นหลักตามเกณฑ์ของแต่ละมหาวิทยาลัย
2. รอบที่ 2 Quota สำหรับนักเรียนในพื้นที่เดียวกับมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่จะเป็นคะแนนสอบกลาง เช่น O-Net 5 วิชา คือ คณิตศาสตร์, วิทยาศาสตร์, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา คะแนนเฉลี่ยรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 หรือ 300 คะแนนขึ้นไป หรือวิชาสามัญ จัดสอบโดย สทศ. เลือกสอบ 7 วิชา คือ คณิตศาสตร์ (1), ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา ซึ่งในแต่ละวิชาต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของคะแนนเต็ม
3. รอบที่ 3 Admission 1 และ 2 เป็นการรับสมัครพร้อมกัน ทั้งโครงการ กสพท, โครงการอื่น ๆ และนักเรียนทั่วไป โดยใช้คะแนนกลาง (O-Net, วิชาสามัญ, GAT/PAT) เป็นเกณฑ์คัดเลือก
Admission 1 ใช้คะแนน O-NET, GAT/PAT, วิชาสามัญ และวิชาเฉพาะ
Admission 2 ใช้คะแนนในชั้นเรียน หรือ GPAX ร่วมกับคะแนน O-NET และ GAT/PAT ด้วย
4. รอบที่ 4 Direct Admission หรือรอบรับตรง เป็นการสอบตรงเข้าโครงการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยนั้น ๆ ที่จัดสอบขึ้นเอง โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานนั้นได้โดยตรง เช่น โครงการ MDX และ MD02 ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น (คลิก) และการสอบแพทย์
CPIRD และ ODOD หรือการสอบแพทย์ชนบท ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ เช่น จฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (คลิก) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (คลิก) และมหาวิทยาลัยมหิดล (คลิก) เป็นต้น
อยากเรียนหมอ สอบเข้าคณะไหน มหาวิทยาลัยอะไรดี
ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยมีสถาบันและมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่เปิดสอนและผลิตแพทย์ในคณะต่าง ๆ ทั้งของรัฐบาลและเอกชนในประเทศไทย ซึ่งสามารถเช็กได้จากลิงก์ด้านล่างนี้เลยค่ะ
สาขาวิชาหรือสาขาเฉพาะทางต่าง ๆ ของการเรียนหมอ
ถึงแม้การสอบเข้าเรียนต่อหมออาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับน้อง ๆ หลาย ๆ คน ด้วยเนื้อหาวิชาจำนวนมากที่ต้องจดจำทำความเข้าใจ แต่ถ้ามีการเตรียมความพร้อมและเตรียมตัวที่ดี ตั้งใจอ่านหนังสือตั้งแต่เนิ่น ๆ ฝึกฝนทำแบบทดสอบบ่อย ๆ เชื่อเลยว่าโอกาสสอบติดเข้าเรียนและจบออกมาเป็นหมอเก่ง ๆ มีคุณภาพ สร้างประโยชน์ให้สังคมมากมาย ก็คงอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแน่ ๆ ค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ทุกคนนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์รับนักศึกษาและการทดสอบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินท์, สทศ., กสพท., มหาวิทยาลัยขอนแก่น, โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท, แพทยสภา