เผยอีกด้านของดราม่า เรียนออนไลน์ วิชาภาษาอังกฤษ สำเนียงไม่ดีไม่ใช่เรื่องผิด เป็นความสวยงามของภาษา ด้านชาวเน็ตติด #Saveครูวัง เห็นใจที่โดนด่า แต่ต้องว่าไปตามผิด ชี้หากมองข้ามเรื่องสำเนียง การออกเสียงถูกต้องเป็นเรื่องสำคัญ
กลายเป็นคลิปที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อย สำหรับการเรียนออนไลน์ ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือผ่านช่องทาง DLTV โดยในวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ป.6 อาจารย์ที่มาสอนทำให้สังคมเกิดข้อสงสัยเรื่องการออกเสียงอย่างมาก เนื่องจากมีการออกเสียงผิด ๆ ถูก ๆ แกรมม่าไม่ได้ พูดไม่ชัดเจน สื่อการสอนผิดเพี้ยน แถมสำเนียงภาษาอังกฤษยังแปลก ๆ อีกด้วย ส่วนใหญ่ตำหนิเรื่องนี้กันอย่างมาก ส่วนอีกฝั่งก็มองว่าการวิจารณ์สำเนียงของอาจารย์เป็นการบูลลี่ ทำให้คนไทยไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษ
อ่านข่าว : เรียนออนไลน์ ภาษาอังกฤษ ป.6 ผ่าน DLTV ทำดราม่า อาจารย์ออกเสียงผิด ๆ ถูก ๆ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุด (19 พฤษภาคม 2563) ดร.เด่นชัย ปราบจันดี หัวหน้าภาควิชาบัณฑิตศึกษานานาชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา ออกมาแสดงความคิดเห็นในอีกแง่มุมหนึ่ง พร้อมมองว่าคอมเมนต์ต่าง ๆ ที่ตำหนิครูคนดังกล่าว เป็นความคิดที่ทำให้สำเนียงที่หลากหลายถูกจัดในกลุ่มชายขอบ (marginalized) และเป็นหลักฐานชัดเจนว่า คุณติดกับดักห้วงความคิดของโลกจักรวรรดินิยม
ตนในฐานะนักวิจัยหน้าใหม่ด้าน Global Englishes ที่ศึกษาเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนตระหนักถึงความหลากหลายของภาษาอังกฤษ ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยความถ่อมตน ดังนี้
1. สำเนียงที่หลากหลายถือเป็นเรื่องปกติ เพราะ L2 users (คนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2) ที่เรียนภาษาอังกฤษจะได้รับอิทธิพลจากภาษาแม่อยู่แล้ว ต่อให้เราเรียนการออกเสียงจากเจ้าของภาษา เราก็มีสำเนียงไทยอยู่ดี ต่อให้เรียนกับเจ้าของภาษา ถ้าที่บ้านพูดภาษาไทย ก็จะมีสำเนียงไทยปนอยู่ พูดง่าย ๆ คือ เราไม่สามารถถูกฝึกให้เป็นเจ้าของภาษาได้ ธรรมชาติของเราทำแบบนั้นได้ยาก
2. เรามีโอกาสที่จะพบเจอ L2 users ที่มีสำเนียงหลากหลายมากกว่าเจ้าของภาษาอยู่แล้ว เพราะจำนวน L2 users เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคนกลุ่มนี้ที่บอกว่า สำเนียงเจ้าของภาษา ฟังยากกว่า L2 users
3. ในการสื่อสารจริง การบรรลุวัตถุประสงค์ของการสื่อสารและความสามารถในการเจรจาต่อรองความหมาย สำคัญกว่าการมีสำเนียงเป๊ะหรือมีแกรมม่าเป๊ะเหมือนเจ้าของภาษา ดังจะเห็นได้จาก ถึงแม้ว่าเจ้าของภาษาจะสื่อสารกันเอง เขายังต้องเจรจาต่อรองความหมายอยู่ และงานวิจัยก็ระบุชัดว่า เจ้าของภาษาก็มีสำเนียงที่หลากหลายและไม่ได้สื่อสารผ่านแกรมม่าที่เป๊ะ
4. การมี "สำเนียงดี" เป็นเพียงวาทกรรมของโลกจักรวรรดินิยมที่ครอบงำความคิดของคนในสังคมมายาวนาน ด้วยสถานการณ์การใช้ภาษาอังกฤษที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เราต้องปลูกฝังค่านิยมใหม่ให้กับผู้เรียนของเราให้มีจิตใจเปิดกว้างต่อความหลากหลายของภาษา และให้ความเคารพสำเนียงที่หลากหลาย
ทั้งนี้ ไม่อยากให้ดูถูกสำเนียงของคุณครู หยุดว่าคุณครู สงสารท่าน หยุดครอบงำกันเอง เราควรปลดปล่อยการใช้ภาษาอังกฤษให้อิสระ ความหลากหลายของสำเนียงก็คือ ความสวยงามของภาษาอีกอย่างหนึ่ง
ขณะที่โลกออนไลน์มีการติดแท็ก #Saveครูวัง เนื่องจากคลิปดังกล่าวเป็นการเรียนในโรงเรียนวังไกลกังวล มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่รู้สึกสงสารครูท่านดังกล่าว และมองว่าในชีวิตประจำวันนั้น การสื่อสารให้เข้าใจสำคัญที่สุด คือต้องออกเสียงให้ถูกต้อง ไม่ใช่มัวแต่ไปเน้นเรื่องสำเนียง เพราะไม่ว่าสำเนียงจะฝรั่งจ๋าขนาดไหน แต่ถ้าพูดออกเสียงผิด ก็จะทำให้ความหมายผิดเพี้ยนได้
อย่างไรก็ตาม ชาวเน็ตด้านหนึ่งที่เซฟครู
เพราะสงสารที่ครูโดนด่าหรืออาจถูกขั้นโดนคุกคาม มองว่า การเตรียมการเรียนการสอนเป็นเรื่องที่เหนื่อยมาก สงสารในความทุ่มเทของครู
ส่วนอีกฝั่งก็สงสารเช่นกัน แต่ก็มองว่าผิดก็ว่าไปตามผิด
ขณะที่อีกด้านมองว่า การปกป้องครูของหลาย ๆ คน
โดยการอ้างว่าครูเตรียมการสอนเหนื่อย หรือเหตุผลอื่น ๆ นั้น
เป็นการปกป้องครูแบบผิด ๆ แทนที่จะให้ครูรู้ตัวว่าผิด เพื่อกลับไปปรับปรุง
และคัดเลือกคนที่แม่นภาษากว่านี้ หรือคนที่คัดกรองเก่งกว่านี้มาสอน
![เรียนออนไลน์ เรียนออนไลน์]()
![เรียนออนไลน์ เรียนออนไลน์]()
![เรียนออนไลน์ เรียนออนไลน์]()
![เรียนออนไลน์ เรียนออนไลน์]()
![เรียนออนไลน์ เรียนออนไลน์]()
![เรียนออนไลน์ เรียนออนไลน์]()
![เรียนออนไลน์ เรียนออนไลน์]()
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Denchai Prabjandee

ภาพจาก DLTV
กลายเป็นคลิปที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ไม่น้อย สำหรับการเรียนออนไลน์ ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือผ่านช่องทาง DLTV โดยในวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้น ป.6 อาจารย์ที่มาสอนทำให้สังคมเกิดข้อสงสัยเรื่องการออกเสียงอย่างมาก เนื่องจากมีการออกเสียงผิด ๆ ถูก ๆ แกรมม่าไม่ได้ พูดไม่ชัดเจน สื่อการสอนผิดเพี้ยน แถมสำเนียงภาษาอังกฤษยังแปลก ๆ อีกด้วย ส่วนใหญ่ตำหนิเรื่องนี้กันอย่างมาก ส่วนอีกฝั่งก็มองว่าการวิจารณ์สำเนียงของอาจารย์เป็นการบูลลี่ ทำให้คนไทยไม่กล้าพูดภาษาอังกฤษ
อ่านข่าว : เรียนออนไลน์ ภาษาอังกฤษ ป.6 ผ่าน DLTV ทำดราม่า อาจารย์ออกเสียงผิด ๆ ถูก ๆ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุด (19 พฤษภาคม 2563) ดร.เด่นชัย ปราบจันดี หัวหน้าภาควิชาบัณฑิตศึกษานานาชาติ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา ออกมาแสดงความคิดเห็นในอีกแง่มุมหนึ่ง พร้อมมองว่าคอมเมนต์ต่าง ๆ ที่ตำหนิครูคนดังกล่าว เป็นความคิดที่ทำให้สำเนียงที่หลากหลายถูกจัดในกลุ่มชายขอบ (marginalized) และเป็นหลักฐานชัดเจนว่า คุณติดกับดักห้วงความคิดของโลกจักรวรรดินิยม

ตนในฐานะนักวิจัยหน้าใหม่ด้าน Global Englishes ที่ศึกษาเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนตระหนักถึงความหลากหลายของภาษาอังกฤษ ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วยความถ่อมตน ดังนี้
1. สำเนียงที่หลากหลายถือเป็นเรื่องปกติ เพราะ L2 users (คนใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2) ที่เรียนภาษาอังกฤษจะได้รับอิทธิพลจากภาษาแม่อยู่แล้ว ต่อให้เราเรียนการออกเสียงจากเจ้าของภาษา เราก็มีสำเนียงไทยอยู่ดี ต่อให้เรียนกับเจ้าของภาษา ถ้าที่บ้านพูดภาษาไทย ก็จะมีสำเนียงไทยปนอยู่ พูดง่าย ๆ คือ เราไม่สามารถถูกฝึกให้เป็นเจ้าของภาษาได้ ธรรมชาติของเราทำแบบนั้นได้ยาก
2. เรามีโอกาสที่จะพบเจอ L2 users ที่มีสำเนียงหลากหลายมากกว่าเจ้าของภาษาอยู่แล้ว เพราะจำนวน L2 users เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และคนกลุ่มนี้ที่บอกว่า สำเนียงเจ้าของภาษา ฟังยากกว่า L2 users
3. ในการสื่อสารจริง การบรรลุวัตถุประสงค์ของการสื่อสารและความสามารถในการเจรจาต่อรองความหมาย สำคัญกว่าการมีสำเนียงเป๊ะหรือมีแกรมม่าเป๊ะเหมือนเจ้าของภาษา ดังจะเห็นได้จาก ถึงแม้ว่าเจ้าของภาษาจะสื่อสารกันเอง เขายังต้องเจรจาต่อรองความหมายอยู่ และงานวิจัยก็ระบุชัดว่า เจ้าของภาษาก็มีสำเนียงที่หลากหลายและไม่ได้สื่อสารผ่านแกรมม่าที่เป๊ะ
4. การมี "สำเนียงดี" เป็นเพียงวาทกรรมของโลกจักรวรรดินิยมที่ครอบงำความคิดของคนในสังคมมายาวนาน ด้วยสถานการณ์การใช้ภาษาอังกฤษที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เราต้องปลูกฝังค่านิยมใหม่ให้กับผู้เรียนของเราให้มีจิตใจเปิดกว้างต่อความหลากหลายของภาษา และให้ความเคารพสำเนียงที่หลากหลาย

ทั้งนี้ ไม่อยากให้ดูถูกสำเนียงของคุณครู หยุดว่าคุณครู สงสารท่าน หยุดครอบงำกันเอง เราควรปลดปล่อยการใช้ภาษาอังกฤษให้อิสระ ความหลากหลายของสำเนียงก็คือ ความสวยงามของภาษาอีกอย่างหนึ่ง
ขณะที่โลกออนไลน์มีการติดแท็ก #Saveครูวัง เนื่องจากคลิปดังกล่าวเป็นการเรียนในโรงเรียนวังไกลกังวล มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่รู้สึกสงสารครูท่านดังกล่าว และมองว่าในชีวิตประจำวันนั้น การสื่อสารให้เข้าใจสำคัญที่สุด คือต้องออกเสียงให้ถูกต้อง ไม่ใช่มัวแต่ไปเน้นเรื่องสำเนียง เพราะไม่ว่าสำเนียงจะฝรั่งจ๋าขนาดไหน แต่ถ้าพูดออกเสียงผิด ก็จะทำให้ความหมายผิดเพี้ยนได้

ภาพจาก DLTV
นอกจากนี้ยังมีบางส่วนที่มองข้ามตัวครูไป
แต่วิจารณ์ไปถึงระบบเรียนออนไลน์
ที่ไม่มีความพร้อม
ไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนออกอากาศทั่วประเทศ
รวมถึงมองว่าคลิปดังกล่าวเป็นคลิปที่เก่ามากแล้ว แต่ยังนำมาสอนเด็ก ๆ อีก





