สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เปิดวิชาโหราศาสตร์ เป็นวิชาเลือกให้ นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ยันไม่ใช่เรื่องงมงาย ใช้หลักการอ้างอิงจากสถิติ ฝึกการคิดให้เป็นระบบ
ดร.อำภาพรรณ ตันตินาครกูล ผู้อำนวยการสำนักวิชาศึกษาทั่วไป สจล. บอกว่า ทางสำนักวิชาฯ ได้รับนโยบายจากอธิการบดี สจล. ให้ไปดูว่ารอบโลกเป็นอย่างไร มีวิชาอะไรใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์กับนักศึกษาบ้าง ทางสำนักวิชาฯ ก็ทำการบ้าน และพบว่ามหาวิทยาลัยต่างประเทศมีการสอนวิชาโหราศาสตร์กันมานานแล้ว เมืองไทยก็น่าจะทำได้ เพื่อให้เด็กเข้าใจ เรียนรู้ตัวตน และมีวิจารณญาณในการคิด ไม่ใช่เรื่องงมงาย เด็ก ๆ น่าจะอยากรู้ และเป็นความรู้ใหม่อีกแขนงหนึ่ง
ด้านอาจารย์ผู้สอน ระบุว่า วิชานี้เป็นเรื่องของหลักวิชาการทางสถิติ ถ้าเด็กได้เรียนก็จะได้ฝึกวิธีคิดอย่างเป็นระบบ เพราะวิชานี้อยู่ในศาสตร์แห่งการคิด เป็นเรื่องของตัวเลข ดวงดาว และหลักคิดที่ได้จากการรวบรวมในเชิงสถิติ และถ่ายทอดในหลักการผูกดวงชะตา
ด้าน ธนากร สะสูรย์ หรือ น้องอู๋ บอกว่า หลังจากเรียนแล้วก็นำไปประยุกต์ใช้ ค่อนข้างตรง ประมาณ 60-70% ตอนแรกคิดว่างมงาย เพราะตนเชื่อในเรื่องวิทยาศาสตร์ พอเรียนก็เห็นว่าเป็นเรื่องสถิติ แล้วเอาไปเป็นอาชีพเสริม
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2561 รายการทีช ทอล์ค ทัวร์ สเตชัน โดยทีมข่าวการศึกษา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ รายงานว่า ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) มีการเปิดวิชาโหราศาสตร์ เป็นวิชาเลือกสำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์
ดร.อำภาพรรณ ตันตินาครกูล ผู้อำนวยการสำนักวิชาศึกษาทั่วไป สจล. บอกว่า ทางสำนักวิชาฯ ได้รับนโยบายจากอธิการบดี สจล. ให้ไปดูว่ารอบโลกเป็นอย่างไร มีวิชาอะไรใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์กับนักศึกษาบ้าง ทางสำนักวิชาฯ ก็ทำการบ้าน และพบว่ามหาวิทยาลัยต่างประเทศมีการสอนวิชาโหราศาสตร์กันมานานแล้ว เมืองไทยก็น่าจะทำได้ เพื่อให้เด็กเข้าใจ เรียนรู้ตัวตน และมีวิจารณญาณในการคิด ไม่ใช่เรื่องงมงาย เด็ก ๆ น่าจะอยากรู้ และเป็นความรู้ใหม่อีกแขนงหนึ่ง
ด้านอาจารย์ผู้สอน ระบุว่า วิชานี้เป็นเรื่องของหลักวิชาการทางสถิติ ถ้าเด็กได้เรียนก็จะได้ฝึกวิธีคิดอย่างเป็นระบบ เพราะวิชานี้อยู่ในศาสตร์แห่งการคิด เป็นเรื่องของตัวเลข ดวงดาว และหลักคิดที่ได้จากการรวบรวมในเชิงสถิติ และถ่ายทอดในหลักการผูกดวงชะตา

ขณะที่ อ.ธาตรี เทียมทอง
ผู้อำนวยการสถาบันโหราศาสตร์วิทยา กล่าวว่า สิ่งที่นำมาสอนก็เป็นเรื่องของสถิติที่มีการเก็บสั่งสมกันมาแต่โบราณ เช่น
วิชาคัมภีร์มหาสัตตเลข และวิชาเลขศาสตร์ ไม่เน้นเรื่องความเชื่อ
หรือความงมงาย
สิ่งสำคัญถ้านักศึกษาได้เรียนและนำไปใช้จะเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้
ด้านน้อง ๆ นักศึกษาที่เรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ ก็ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิชาโหราศาสตร์ อย่างเช่น น้องน้ำฝน จักขุจันทร์ บอกว่า สนใจวิชานี้เพราะแปลกใหม่ ไม่ได้งมงาย เพราะอิงจากหลักสถิติ อยู่ที่วิจารณญาณ
ด้าน ธนากร สะสูรย์ หรือ น้องอู๋ บอกว่า หลังจากเรียนแล้วก็นำไปประยุกต์ใช้ ค่อนข้างตรง ประมาณ 60-70% ตอนแรกคิดว่างมงาย เพราะตนเชื่อในเรื่องวิทยาศาสตร์ พอเรียนก็เห็นว่าเป็นเรื่องสถิติ แล้วเอาไปเป็นอาชีพเสริม
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
