x close

ตัวอย่างการเขียน บทคัดย่อ โครงงานวิทยาศาสตร์





          บทคัดย่อ ถือเป็นเนื้อหาที่สำคัญส่วนหนึ่งของของโครงงาน เพราะเป็นส่วนของการเขียนเนื้อหาที่สำคัญ และสรุปงานวิจัยในรูปแบบที่สั้น กระชับ ผู้อ่านสามารถมองภาพของโครงงานได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะติดตามอ่านเนื้อหาของโครงงานทั้งหมดในภายหลัง

          วันนี้ กระปุกดอทคอม เลยขอยกตัวอย่างการเขียนบทคัดย่อ ที่ได้รับรางวัลในระดับ นานาชาติ มาเพื่อเป็นแนวทางในการเขียนบทคัดย่อกันค่ะ

ตัวอย่างบทคัดย่อโครงงานที่ได้รับรางวัลจากการประกวดในงาน Intel ISEF 2010 (ประเภททีม สาขาวิทยาศาสตร์พืช)

          โครงงาน : Modification of Breeding Rice Grains through Artificial Colors, Flavor and Smell Used in Prevention of Grain-Consuming Birds (ผลของการดัดแปลงสี รสชาติ และกลิ่นของเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสารสกัดธรรมชาติต่อการป้องกันนกกินข้าวในนาหว่าน)

          ผู้พัฒนา : นางสาวสายฝน นภนิภา และ นางสาวอภิชญา นพเลิศ

          โรงเรียน : พนมสารคาม "พนมอดุลวิทยา" จ.ฉะเชิงเทรา

          ที่ปรึกษา : นายนิรันดร์ เหลืองสวรรค์

          (โครงงานนี้ได้รับรางวัล Grand Awards อันดับที่ 4 ประเภททีม (Team Project) จากการประกวดในงาน Intel ISEF 2010 ณ เมือง San Jose มลรัฐ California ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 9-14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553)

บทคัดย่อ

          การศึกษาผลของการดัดแปลงสี รสชาติและกลิ่นของเมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยสารสกัดธรรมชาติต่อการป้องกันนกกินข้าวในนาหว่าน ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ เมล็ดพันธุ์ข้าวดัดแปลง ผลการทดลองพบว่า นกที่กินข้าวในนาหว่านและพบมากที่สุดคือ นกพิราบ Columba livia และนกกระจอกบ้าน Passer montanus โดยนกทั้ง 2 ชนิดนี้ ได้ทำความเสียหายให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวเป็นอย่างมาก เนื่องจากนกจะมาจิกกินเมล็ดพันธุ์ข้าวในนาหว่าน ทำให้ข้าวที่ได้มีจำนวนน้อยลง และจากการศึกษาเปรียบเทียบชนิดของสีจากธรรมชาติ ในการย้อมเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีผลต่อการกินของนก พบว่า เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ย้อมสีจากธรรมชาติ จำนวน 5 สีได้แก่ สีเหลือง (ขมิ้น) สีเขียว (ใบเตย) สีแดง (กระเจี๊ยบ) สีส้มแดง (แครอท) สีน้ำเงิน (อัญชัน) มีผลต่อการกินข้าวของนกต่างกัน โดยเมล็ดพันธุ์ข้าวที่ย้อมสีผสมอาหารสีส้มแดง ให้ผลดีที่สุด คือส่งผลให้นกพิราบกินเมล็ดพันธุ์ข้าวเพียงร้อยละ 6.20±1.92 และนกกระจอกกินเมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยละ 0.60±0.89 ส่วนการศึกษาเปรียบเทียบชนิดของสารสกัดจากพืชรสชาติต่างๆ ในการชุบเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีผลต่อการกินของนก พบว่า เมล็ดพันธุ์ข้าวชุบสารสกัดจากพืชรสชาติต่างๆ จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ บอระเพ็ด (รสขม) อ้อย (รสหวาน) มะนาว (รสเปรี้ยว) และเกลือแกง NaCl (รสเค็ม) มีผลต่อการกินของนกแตกต่างกัน โดยสารสกัดจากบอระเพ็ดซึ่งให้รสขมได้ผลดีที่สุด คือส่งผลให้นกพิราบกินเมล็ดพันธุ์ข้าวเพียงร้อยละ 19.20±0.83 และนกกระจอกกินเมล็ดพันธุ์ข้าวร้อยละ 0.00±0.00 จากการศึกษาเปรียบเทียบชนิดของกลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากพืชวงศ์ Rutaceae ในการชุบเมล็ดพันธุ์ข้าวที่มีผลต่อการกินของนก พบว่า เมล็ดพันธุ์ข้าวที่ชุบกลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากพืชวงศ์ Rutaceae จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ส้ม มะนาว และมะกรูด มีผลต่อการกินของนกต่างกัน โดยเมล็ดพันธุ์ข้าวชุบกลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดให้ผลดีที่สุด คือส่งผล ให้นกพิราบกินเมล็ดพันธุ์ข้าวเพียงร้อยละ 4.20±0.83 และนกกระจอกกินเมล็ดพันธุ์ข้าว ร้อยละ 13.00±1.22 จากนั้นเมื่อทำการทดลองใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวดัดแปลงในนาหว่านสภาพจริง พบว่า สามารถป้องกันนกกินเมล็ดพันธุ์ข้าวในนาหว่านได้จริงและมีประสิทธิภาพและไม่มีผลข้างเคียงในด้านประสิทธิภาพการงอกแต่อย่างใด

          Thai farmers have had difficulty in plantation and production of rice as a result of lower quantity per acre, lower price of products with higher costs of breeding rice grains, hazardous pesticide and, especially, the breeding grains eaten or destroyed by a large number of birds including pigeons and tree sparrows, subsequently causing a much lower amount or rice production. Therefore, the purpose of this study was to examine whether the modified grains would prevent the birds from destroying the breeding rice grains. There were three major findings. First, the birds tended to least eat rice grains coated by orange- red, bitter taste, kaffir lime smell. Second, the ratio of sprouting rice gains coated by colors was equivalent to that of the rice grains unmodified. Also, the grains coated by bitter flavor resulted in the same ratio of sprouting rice gains unmodified. However, the grains coated by any smell resulted in the same ratio of sprouting rice gains unmodified. Third, in actual rice plantation during the first week, the rice grains coated by kaffir lime smell were hardly eaten, indicating that this type of modified grains could be used to prevent birds from eating/destroying the breeding grains. During the second week, the birds hardly consumed the grains coated by bitter flavor. The findings suggest that the modification of rice grains coated by artificial colors, flavor and smell can be of use to Thai farmers to prevent their breeding rice grains from those birds.



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ตัวอย่างการเขียน บทคัดย่อ โครงงานวิทยาศาสตร์ อัปเดตล่าสุด 19 มิถุนายน 2556 เวลา 16:36:27 52,332 อ่าน
TOP