x close

เปิดงานมหกรรมการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง ครั้งที่ 2 สืบสานการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับพื้นที่


ชนเผ่าพื้นเมือง

          เปิดงานมหกรรมการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง ครั้งที่ 2 สืบสานการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับพื้นที่
          
          เครือข่ายการจัดการศึกษาภาคประชาชนจัดงานมหกรรมการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง ครั้งที่ 2 “การศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง : หลากหลาย พริก เพื่อพลิกการเรียนรู้” สืบสานการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่และวัฒนธรรมที่สอดคล้องเหมาะสมกับชนเผ่าพื้นเมือง

ชนเผ่าพื้นเมือง
          เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2559 ณ คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ เครือข่ายการจัดการศึกษาภาคประชาชนได้ร่วมกันจัดงานมหกรรมการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง ครั้งที่ 2 ภายใต้หัวข้อ “การศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง : หลากหลาย พริก เพื่อพลิกการเรียนรู้”

ชนเผ่าพื้นเมือง

ชนเผ่าพื้นเมือง

          โดยการจัดงานมหกรรมการศึกษาชนเผ่าพื้นเมืองในครั้งนี้เป็นความร่วมมือกันของเครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง (IEN), เครือข่ายเยาวชนต้นกล้าชนเผ่าพื้นเมือง (TKN), เครือข่ายผู้บริหารโรงเรียนบนพื้นที่สูงและถิ่นทุรกันดาร, เครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคเหนือ, ศูนย์ส่งเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน, มูลนิธิรักษ์เด็ก, มูลนิธิภาษาศาสตร์ประยุกต์, มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ (โรงเรียนโจ๊ะมาโลลือหล่า)
โรงเรียนสาธิตการเรียนรู้สมเด็จย่า มศว แม่แจ่ม, โรงเรียนเซนต์โยเซฟ แม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่, ศูนย์พหุวัฒนธรรมและนโยบายการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.,ล), สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (ศ.ว.ท./IMPECT) และภาคีองค์กรกัลยาณมิตรที่เกี่ยวข้อง
          
          งานดังกล่าวได้รับการสนับสนุนโดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ และมูลนิธิเด็กเพสตาลอซซี่ (Pestalozzi Children’s Foundation)

ชนเผ่าพื้นเมือง

ชนเผ่าพื้นเมือง

          สำหรับงานในช่วงเช้ามีนายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวเปิดงานว่า มหกรรมการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง ครั้งที่ 2 นี้เป็นโอกาสที่ดีที่ภาครัฐจะได้พบปะ พูดคุย รับฟังข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาที่มีความเหมาะสมกับชนเผ่าพื้นเมือง
          
          นายกฤษณ์ กล่าวเติมว่า การประชุมครั้งนี้จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และภาคเหนือที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งเชียงใหม่มีการศึกษาที่เป็นลักษณะเฉพาะมิใช่ใช้รูปแบบส่วนกลางอย่างเดียว เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลาย มีความเป็นพหุวัฒนธรรม การศึกษาที่เหมาะสมกับพื้นที่จะช่วยให้สามารถเข้าถึง เข้าใจ และพัฒนาตนเองเพื่อตอบสนองต่อความจำเป็นในการใช้ชีวิต การอยู่รอดในสังคม ได้อย่างมีคุณภาพ

          ด้านนายไพรัช ใหม่ชมภู รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ย้ำถึงจุดยืนด้านการศึกษาของ อบจ. เชียงใหม่ ซึ่งที่ผ่านมา 2 ปี มีความพยายามประสานการทำงานขององค์กรต่าง ๆ เพื่อดูแลเด็กและเยาวชนในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวนกว่า 400,000 คน ซึ่งเน้นเรื่องการจัดการศึกษาที่สอดคล้องเหมาะสม การศึกษาที่เราจะช่วยกันดูแล รักษา และทำให้เป็นประเด็นสาธารณะ

ชนเผ่าพื้นเมือง

ชนเผ่าพื้นเมือง

          ทั้งนี้นายไพรัช เผยว่า ในวันที่ 30-31 มกราคม พ.ศ. 2560 จะมีการจัดการประชุมการปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ณ ศูนย์แสดงสินค้า จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อนำเสนอรูปแบบ โมเดล หรือนวัตกรรมการด้านการศึกษา ซึ่ง อบจ. เชียงใหม่ ยินดีสนับสนุนงบประมาณ และการช่วยเหลือต่าง ๆ เป็นอย่างยิ่ง
          
          ส่วน ด.ญ.เพชรรัตน์ รักไพรสายเพชร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านปุย อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ผู้แทนเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นเด็กและเยาวชนกะเหรี่ยงโปว์ พวกเราสื่อสารภาษาถิ่นในครอบครัว ในขณะที่อยู่ในโรงเรียนก็จะสื่อสารเป็นภาษาไทย และมีครูที่เข้าใจภาษา และวัฒนธรรมของโปว์ด้วย การศึกษาที่ใช้ภาษาแม่ทำให้พวกเรามีความสุข และมีความตั้งใจที่จะมาเรียนวิถีครอบครัว วิถีการผลิตของชนเผ่าเราซึ่งมีพริกเป็นส่วนประกอบสำคัญของวิถีชีวิต

ชนเผ่าพื้นเมือง

          สำหรับชาวกะเหรี่ยงโปว์ พริกเปรียบเทียบได้กับภาษาถิ่นสามารถพลิกชีวิตให้เป็นคนที่มีคุณธรรม มีสิทธิเท่าเทียมกับกลุ่มต่าง ๆ ตนเองมีความภาคภูมิใจที่ได้เรียนรู้ และสามารถสื่อสารได้ในหลาย ๆ ภาษา ซึ่งเป็นการทำความเข้าใจโลกกว้าง
          
          ด.ญ.เพชรรัตน์ กล่าว่า ตนเองหวังว่ารัฐจะให้ความกรุณาได้เรียนรู้ในลักษณะทวิภาษาแบบนี้ต่อไป การเรียนรู้ที่มีความสุข ทำให้ประสบความสำเร็จ และมีโอกาสได้เรียนต่อในระดับสูง เพื่อกลับมาพัฒนาชุมชน นำไปสู่ความมั่นคงทั้งของประเทศชาติ สังคม และกลุ่มของตน

ชนเผ่าพื้นเมือง

          ทั้งนี้ในงานทั้งยังมีการเสวนาและการแสดงทางวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมืองเผ่าต่าง ๆ เช่น การแสดง “กังฟูดาราอาง” ของกลุ่มเยาวชนชนเผ่าอนุรักษ์วัฒนธรรมดาราอาง บ้านห้วยหมากเลี่ยม, การแสดงเต้นกระทุ้งไม้ไผ่ จากเด็กเยาวชนปกาเกอะญอ โรงเรียนสาธิตการเรียนรู้สมเด็จย่า, การขับร้องบทเพลง “สืบสานวิถีวัฒนธรรมคะฉิ่น” จากบ้านใหม่สามัคคี (คะฉิ่น) ฯลฯ

ภาพจาก สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เปิดงานมหกรรมการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง ครั้งที่ 2 สืบสานการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับพื้นที่ อัปเดตล่าสุด 12 มกราคม 2560 เวลา 16:48:41 1,118 อ่าน
TOP