x close

โครงงานวิทยาศาสตร์ การใช้พืชทะเลลดความเค็มของดิน




โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง "การใช้พืชทะเลลดความเค็มของดิน"

ผู้จัดทำ 
           1. นายตาตั้ม มนตลักษณ์ 
           2. นางสาวศิริรัตน์ พันธุ์อธิคม 
           3. นางสาวรัชดาภรณ์ เพชรวงศ์

อาจารย์ที่ปรึกษา  
           1. อาจารย์มาฆะ ทิพย์คีรี  
           2. อาจารย์วิมลศรี สุวรรณรัตน์  
           3. อาจารย์ณัฐจรีย์ ธรรมทัศนานนท์ 

ที่มาและความสำคัญและปัญหา

            จากการที่มีการเลี้ยงกุ้งกัน ทำให้มีการแพร่กระจายของเกลือจากนากุ้ง ออกสู่พื้นที่ใกล้เคียงทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ผู้ทำโครงงานเห็นว่ามีพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้บริเวณดินเค็มริมฝั่งทะเล จึงคิดว่าน่าจะนำพืชเหล่านั้นมาดูดซับเกลือที่แพร่กระจายออกมาจากนากุ้งได้ซึ่งจะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้จุดมุ่งหมายของการศึกษา 

            1. เพื่อศึกษาหาชนิดและปริมาณของพืชทะเล นำมาลดมลพิษจากแพร่กระจายของเกลือ 
            2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ การดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล โดยใช้ดินที่ได้จากนากุ้ง 
            3. เพื่อศึกษาการปลูกผักบุ้งทะเล และถั่วทะเลบริเวณว่างเปล่าริมนากุ้งเพื่อลดความเค็ม 
            4. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ การดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล โดยใช้ดินเลนจากก้นบ่อกุ้ง 
            5. เพื่อศึกษาหาปริมาณเกลือในต้นผักบุ้งทะเลที่บริเวณชายฝั่งทะเล เปรียบเทียบกับผักบุ้งทะเลที่อยู่ห่างไกลชายฝั่งทะเลสมมติฐาน 

            พืชที่เจริญได้ดีบริเวณชายฝั่งทะเล สามารถลดมลพิษจากการแพร่กระจายของเกลือที่เกิดจากการทำนากุ้งตัว

แปรที่เกี่ยวข้อง 

            ตัวแปรต้น พืชทะเลบางชนิด 
            ตัวแปรตาม การลดความเค็มของดิน 
            ตัวแปรควบคุม ภาชนะที่ใช้ในการทดลอง, ปริมาณดินที่ใช้ในการทดลองวิธีการวิเคราะห์ความเค็ม 

            1. วิเคราะห์โดยการสังเกตุการเจริญเติบโตของเมล็ดข้าวในดินเค็ม ถ้าข้าวไม่เจริญแสดงว่าดินเค็ม ถ้าข้าวเจริญแสดงว่าดินไม่เค็ม 
            2. วิเคราะห์จากการหาปริมาณ AgNO3 ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา ถ้ามีปริมาณ AgNO3 มาก แสดงว่ามีเกลือมาก

วิธีการทดลอง 

            1. สำรวจชนิด และปริมาณพืชที่ขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเล เพื่อจะคัดเลือกพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณชายฝั่งทะเลมาลดมลพิษการแพร่กระจายของเกลือ 
            2. ทดลองศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลโดยใช้ดินจากนากุ้ง 
            3. ทดลองปลูกผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลบริเวณที่ว่างเปล่าริมนากุ้ง 
            4. ทดลองศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลโดยใช้ดินเลนจากก้นบ่อกุ้ง 
            5. ทดลองศึกษาปริมาณเกลือในต้นผักบุ้งทะเลที่ขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเลเปรียบเทียบกับผักบุ้งทะเลที่ขึ้นบริเวณดินปกติ (ปกติ คือ ดินที่อยู่ห่างไกลจากทะเล)

ผลการวิเคราะห์และวิจารณ์ผล 

            1. พืชทะเลมี 10 ชนิด คือ ผักบุ้งทะเล, ถั่วทะเล, งับพริก, คดดินสอ, แพงพวย, ปอทะเล, บุกรอ, หูกวาง, แห้วหมู, หญ้าหนวดกุ้ง และพบว่า ผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลเจริญเติบโตได้ดีจึงนำพืชทั้ง 2 ชนิดมาดูดซับเกลือ 
            2. การนำผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลดูดซับเกลือในปล้องบ่อได้จริง ในระยะเวลา 120 วัน 
            3. การทดลองดูดซับเกลือในแปลง พบว่าดูดซับเกลือได้เช่นกันในเวลา 120 วัน 
            4. แม้ใช้ดินเลนที่มีขี้กุ้งมาปลูกผักบุ้งทะเลก็ยังสามารถเจริญได้ดีและดูดซับเกลือได้ 
            5. ผลการวิเคราะห์ในลำต้นผักบุ้งที่ขึ้นริมฝั่งทะเลมีเกลือมากกว่าผักบุ้งที่ขึ้นบริเวณดินไม่เค็มประโยชน์ของโครงงาน 

            จากการศึกษาพบว่าพืชทั้ง 2 ชนิด คือ ผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล สามารถลดความเค็มของดินได้จริงดังนั้นผู้ทำโครงงานจึงคิดว่า ควรจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ 2 อย่าง คือ 

            1. นำไปลดความเค็มของดินบริเวณนาที่มีการเลี้ยงกุ้ง 
            2. อาจนำไปลดความเค็มของดินที่แพร่กระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้ (แต่ยังไม่มีการทดลอง)


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

             1. นายตาตั้ม มนตลักษณ์            2. นางสาวศิริรัตน์ พันธุ์อธิคม            3. นางสาวรัชดาภรณ์ เพชรวงศ์            1. อาจารย์มาฆะ ทิพย์คีรี             2. อาจารย์วิมลศรี สุวรรณรัตน์             3. อาจารย์ณัฐจรีย์ ธรรมทัศนานนท์              จากการที่มีการเลี้ยงกุ้งกัน ทำให้มีการแพร่กระจายของเกลือจากนากุ้ง ออกสู่พื้นที่ใกล้เคียงทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ผู้ทำโครงงานเห็นว่ามีพืชบางชนิดสามารถเจริญเติบโตได้บริเวณดินเค็มริมฝั่งทะเล จึงคิดว่าน่าจะนำพืชเหล่านั้นมาดูดซับเกลือที่แพร่กระจายออกมาจากนากุ้งได้ซึ่งจะแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้จุดมุ่งหมายของการศึกษา             1. เพื่อศึกษาหาชนิดและปริมาณของพืชทะเล นำมาลดมลพิษจากแพร่กระจายของเกลือ             2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ การดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล โดยใช้ดินที่ได้จากนากุ้ง             3. เพื่อศึกษาการปลูกผักบุ้งทะเล และถั่วทะเลบริเวณว่างเปล่าริมนากุ้งเพื่อลดความเค็ม             4. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ การดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล โดยใช้ดินเลนจากก้นบ่อกุ้ง             5. เพื่อศึกษาหาปริมาณเกลือในต้นผักบุ้งทะเลที่บริเวณชายฝั่งทะเล เปรียบเทียบกับผักบุ้งทะเลที่อยู่ห่างไกลชายฝั่งทะเลสมมติฐาน             พืชที่เจริญได้ดีบริเวณชายฝั่งทะเล สามารถลดมลพิษจากการแพร่กระจายของเกลือที่เกิดจากการทำนากุ้งตัว            พืชทะเลบางชนิด             การลดความเค็มของดิน             ภาชนะที่ใช้ในการทดลอง, ปริมาณดินที่ใช้ในการทดลองวิธีการวิเคราะห์ความเค็ม             1. วิเคราะห์โดยการสังเกตุการเจริญเติบโตของเมล็ดข้าวในดินเค็ม ถ้าข้าวไม่เจริญแสดงว่าดินเค็ม ถ้าข้าวเจริญแสดงว่าดินไม่เค็ม             2. วิเคราะห์จากการหาปริมาณ AgNO3 ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา ถ้ามีปริมาณ AgNO3 มาก แสดงว่ามีเกลือมาก             1. สำรวจชนิด และปริมาณพืชที่ขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเล เพื่อจะคัดเลือกพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในบริเวณชายฝั่งทะเลมาลดมลพิษการแพร่กระจายของเกลือ             2. ทดลองศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลโดยใช้ดินจากนากุ้ง             3. ทดลองปลูกผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลบริเวณที่ว่างเปล่าริมนากุ้ง             4. ทดลองศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับความเค็มของผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลโดยใช้ดินเลนจากก้นบ่อกุ้ง             5. ทดลองศึกษาปริมาณเกลือในต้นผักบุ้งทะเลที่ขึ้นบริเวณชายฝั่งทะเลเปรียบเทียบกับผักบุ้งทะเลที่ขึ้นบริเวณดินปกติ (ปกติ คือ ดินที่อยู่ห่างไกลจากทะเล)             1. พืชทะเลมี 10 ชนิด คือ ผักบุ้งทะเล, ถั่วทะเล, งับพริก, คดดินสอ, แพงพวย, ปอทะเล, บุกรอ, หูกวาง, แห้วหมู, หญ้าหนวดกุ้ง และพบว่า ผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลเจริญเติบโตได้ดีจึงนำพืชทั้ง 2 ชนิดมาดูดซับเกลือ             2. การนำผักบุ้งทะเลและถั่วทะเลดูดซับเกลือในปล้องบ่อได้จริง ในระยะเวลา 120 วัน             3. การทดลองดูดซับเกลือในแปลง พบว่าดูดซับเกลือได้เช่นกันในเวลา 120 วัน             4. แม้ใช้ดินเลนที่มีขี้กุ้งมาปลูกผักบุ้งทะเลก็ยังสามารถเจริญได้ดีและดูดซับเกลือได้             5. ผลการวิเคราะห์ในลำต้นผักบุ้งที่ขึ้นริมฝั่งทะเลมีเกลือมากกว่าผักบุ้งที่ขึ้นบริเวณดินไม่เค็มประโยชน์ของโครงงาน             จากการศึกษาพบว่าพืชทั้ง 2 ชนิด คือ ผักบุ้งทะเลและถั่วทะเล สามารถลดความเค็มของดินได้จริงดังนั้นผู้ทำโครงงานจึงคิดว่า ควรจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ 2 อย่าง คือ             1. นำไปลดความเค็มของดินบริเวณนาที่มีการเลี้ยงกุ้ง             2. อาจนำไปลดความเค็มของดินที่แพร่กระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยได้ (แต่ยังไม่มีการทดลอง) ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
โครงงานวิทยาศาสตร์ การใช้พืชทะเลลดความเค็มของดิน อัปเดตล่าสุด 19 มิถุนายน 2556 เวลา 16:37:23 8,809 อ่าน
TOP