สทศ. ประกาศผลสอบ o-net 59 ป.6-ม.3 แล้ว พบคะแนนเฉลี่ย o-net ไม่ถึงครึ่ง เหตุข้อสอบยาก และไม่มีการนำผลไปใช้ ทำให้เด็กไม่ตั้งใจสอบ
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2559 รศ. ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยว่า สทศ. ได้ประกาศผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (o-net) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ประจำปีการศึกษา 2558 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
โดยคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน ป.6 มีรายละเอียด ดังนี้
วิชาภาษาไทย มีผู้เข้าสอบ จำนวน 716,771 คน
- คะแนนเฉลี่ย 49.33
- คะแนนสูงสุด 100.00
- คะแนนต่ำสุด 0.00
วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีผู้เข้าสอบ จำนวน 716,784 คน
- คะแนนเฉลี่ย 49.18
- คะแนนสูงสุด 98.00
- คะแนนต่ำสุด 0.00
วิชาภาษาอังกฤษ มีผู้เข้าสอบ จำนวน 716,780 คน
- คะแนนเฉลี่ย 40.31
- คะแนนสูงสุด 100.00
- คะแนนต่ำสุด 0.00
วิชาคณิตศาสตร์ มีผู้เข้าสอบ จำนวน 716,684 คน
- คะแนนเฉลี่ย 43.47
- คะแนนสูงสุด 100.00
- คะแนนต่ำสุด 0.00
วิชาวิทยาศาสตร์ มีผู้เข้าสอบ จำนวน 716,778 คน
- คะแนนเฉลี่ย 42.59
- คะแนนสูงสุด 100.00
- คะแนนต่ำสุด 0.00
ขณะที่คะแนนเฉลี่ย o-net ของนักเรียน ม.3 ปรากฏว่า มีคะแนนเฉลี่ยทุกวิชาสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของปีการศึกษา 2557 ยกเว้นวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าปีที่ผ่านมา
วิชาภาษาไทย มีผู้เข้าสอบ จำนวน 656,817 คน
- คะแนนเฉลี่ย 42.64
- คะแนนสูงสุด 82.00
- คะแนนต่ำสุด 0.00
วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม มีผู้เข้าสอบ จำนวน 656,724 คน
- คะแนนเฉลี่ย 46.24
- คะแนนสูงสุด 98.00
- คะแนนต่ำสุด 2.00
วิชาภาษาอังกฤษ มีผู้เข้าสอบ จำนวน 656,701 คน
- คะแนนเฉลี่ย 30.62
- คะแนนสูงสุด 96.00
- คะแนนต่ำสุด 0.00
วิชาคณิตศาสตร์ มีผู้เข้าสอบ จำนวน 656,491 คน
- คะแนนเฉลี่ย 32.40
- คะแนนสูงสุด 100.00
- คะแนนต่ำสุด 0.00
วิชาวิทยาศาสตร์ มีผู้เข้าสอบ จำนวน 656,463 คน
- คะแนนเฉลี่ย 37.63
- คะแนนสูงสุด 100.00
- คะแนนต่ำสุด 0.00
ด้าน ศ. ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่าการที่คะแนนเฉลี่ย o-net ทุกวิชาไม่ถึง 50% นั้น มีสาเหตุมาจากข้อสอบค่อนข้างยาก เนื่องจากผู้สร้างข้อสอบส่วนใหญ่เป็นอาจารย์โรงเรียนสาธิต และเป็นนักวิชาการของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ขณะเดียวกันผลการสอบ o-net ก็ไม่ถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากนัก แม้จะนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาคัดเด็กเข้าเรียนต่อในระดับต่าง ๆ แต่ก็เป็นสัดส่วนที่น้อยมาก ประกอบกับเด็กส่วนใหญ่ต่างรู้ดีอยู่แล้วว่า แม้จะทำคะแนน o-net ได้ไม่ดี แต่ยังไงก็เรียนจบอยู่ดี จึงทำให้เด็กไม่ตั้งใจสอบ
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้ บีอีซี-เทโร
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก