x close

คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์




คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

          คณะเกษตร เป็นหนึ่งในสี่คณะแรกในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยการโอนกิจการของกองวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จากกรมเกษตร มาดำเนินการตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2486 เมื่อแรกก่อตั้งมีชื่อว่าคณะเกษตรศาสตร์ ตามพระราชกฤษฎีกา จัดแบ่งคณะในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช 2486 ตราไว้ ณ วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ 2486 และประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2486 โดยแบ่งกิจการออกเป็น 5 แผนก คือ แผนกวิชาเกษตรศาสตร์ แผนกวิชาสัตวบาล แผนกวิชาเคมี แผนกวิชากีฏวิทยาและโรคพืช และแผนกวิชาวิศวกรรมเกษตร

          ปัจจุบัน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการเรียนการสอนออกเป็น 2 แห่ง ได้แก่ คณะเกษตร บางเขน และ คณะเกษตร กำแพงแสน และแบ่งเป็น 9 ภาควิชา ดังนี้ 

 ภาควิชากีฏวิทยา (Department of Entomology) 
          ภาควิชากีฏวิทยา ให้การศึกษาทางภาคทฤษฎีและ ปฏิบัติในเรื่องวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับแมลง ดำเนินงานวิจัย ทั้งงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ในสาขาต่างๆ ของวิทยาการทางกีฏวิทยา เผยแพร่ ส่งเสริมและบริการ วิทยาการที่เกี่ยวกับแมลงให้แก่หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษาเอกชน และบุคคลที่เกี่ยวข้องและสนใจ  
 
 ภาควิชาเกษตรกลวิธาน (Department of Farm Mechanics) 
          ภาควิชาเกษตรกลวิธาน สนับสนุนการผลิตบัณฑิตหลักสูตร ต่างๆ ของคณะเกษตร ทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา โดยเน้นการศึกษาด้านเทคโนโลยีเครื่องจักรกลเกษตรเขตร้อน ที่ทันสมัยเหมาะสมกับการใช้งานและประยุกต์ใช้เครื่องจักรกล ในกระบวนการผลิตทางการเกษตร รวมทั้งการวิจัยคิดค้น เครื่องต้นแบบเครื่องจักรกลการเกษตรต่างๆ  

 ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ (Department of Home Economics) 
          ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ ผลิตบัณฑิตด้านคหกรรมศาสตร์ที่มีความรู้ คุณธรรมและจริยธรรม ส่งเสริมสังคมไทยสู่คุณภาพชีวิตที่ดี และมีผลงานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อการประกอบอาชีพ สร้างงานวิจัยและองค์ความรู้ด้าน คหกรรมศาสตร์ ส่งเสริมงานบริการวิชาการเพื่อสร้างรายได้ และให้บริการชุมชน ส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  
 
 ภาควิชาปฐพีวิทยา (Department of Soil Science) 
          ภาควิชาปฐพีวิทยามีหน้าที่รับผิดชอบงานหลักในด้าน การเรียนการสอน การวิจัยและงานส่งเสริมเผยแพร่วิชาการด้าน ดินและปุ๋ย งานวิจัยทางด้านทรัพยากรดินและการอนุรักษ์ดิน และน้ำ งานวิจัยด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน เทคโนโลยีการ ผลิต และผลการใช้ปุ๋ย รวมทั้งงานวิจัยทางด้านปฐพีวิทยา สิ่งแวดล้อม  
 
 ภาควิชาพืชไร่นา (Department of Agronomy) 
          ภาควิชาพืชไร่นาศึกษาวิจัยเกี่ยวกับพืชไร่ที่มี ความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ข้าว ยางพารา ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง สับปะรด พืชเส้นใย พืชน้ำมัน และถั่วต่างๆ เป็นต้น การศึกษาและวิจัยครอบคลุมถึงการผลิต การเพิ่มผลผลิต และคุณภาพของผลผลิต สรีรวิทยาการผลิต การเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ และการปรับปรุงพันธุ์เพื่อสร้างพันธุ์ใหม่ๆ ที่ให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพดี ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืช ตลอดจนทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม การศึกษาและวิจัยจะเน้นตามลำดับความสำคัญทางเศรษฐกิจในปัจจุบันของพืชไร่แต่ละชนิด  
 
 ภาควิชาพืชสวน (Department of Horticulture) 
          ภาควิชาพืชสวนเปิดการเรียนการสอนสาขาพืชตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก โดยมีเป้าหมายการผลิตบัณฑิตให้ได้รับการศึกษาตามหลักสูตร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพทางด้านพืชสวนที่มีมูลค่าการตอบแทนสูง และต้องผ่านขั้นตอนการผลิตอย่างพิถีพิถัน โดยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ  
 
 ภาควิชาโรคพืช (Department of Plant Pathology) 
          ภาควิชาโรคพืชมุ่งผลิตบัณฑิตระดับปริญญาตรีและ บัณฑิตศึกษาสาขาวิชาโรคพืช ให้มีความรู้ความสามารถ ในการคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ และประยุกต์ความรู้วิชาการ เพื่อพัฒนาตนเอง และชี้นำสังคมภาคเกษตรและชนบทได้ อย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ในวิชาชีพจนเป็นที่ยอมรับใน ระดับชาติ และนานาชาติ  
 
 ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร (Department of Agricultural Extension and Communication)           
          ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตรจัดการศึกษาสาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร และการสื่อสารเพื่อการพัฒนา ที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการในระดับชาติและนานาชาติ อันเนื่องมาจากการสร้างสรรค์งานวิชาการและพัฒนางานวิจัยที่มีคุณภาพ และมุ่งผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาที่มีความรู้ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ และประยุกต์ความรู้วิชาการ เพื่อพัฒนาตนเอง และชี้นำสังคมภาคเกษตรและชนบท ได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพตลอดจนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ จนเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ  
 
 ภาควิชาสัตวบาล (Department of Animal Science) 
          ภาควิชาสัตวบาลสอนและวิจัยทางสัตวศาสตร์ มีบทบาทร่วมในการเป็นผู้นำและแก้ไขปัญหาการผลิตปศุสัตว์ของประเทศ และผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความเป็นเลิศทางสัตวศาสตร์ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 

หลักสูตรการศึกษา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 หลักสูตรระดับปริญญาตรี 
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (การจัดการศัตรูพืช)
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (คหกรรมศาสตร์)
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เคมีการเกษตร)
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาศาสตร์เกษตร)
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรเขตร้อน) นานาชาติ
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (อาหารและโภชนาการ)

 หลักสูตรระดับปริญญาโท
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ปฐพีวิทยา) 
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พืชไร่) 
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พืชสวน) 
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (โรคพืช) 
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สัตวศาสตร์) 
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมการเกษตร) 
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คหกรรมศาสตร์) 
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (กีฏวิทยา) 
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรเขตร้อน) 
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีระบบเกษตร) 
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรเขตร้อน) นานาชาติ 
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารเพื่อการพัฒนา) นานาชาติ 
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรยั่งยืน)

 หลักสูตรระดับปริญญาเอก 
          + ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (กีฏวิทยา) 
          + ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พืชสวน) 
          + ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (โรคพืช) 
          + ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สัตวบาล) 
          + ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปฐพีวิทยา) 
          + ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พืชไร่) 
          + ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เกษตรเขตร้อน) 
          + ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เกษตรเขตร้อน)นานาชาติ

 โครงการภาคพิเศษ
          + หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (คหกรรมศาสตร์) 
          + วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาส่งเสริมการเกษตร สำหรับผู้บริหาร 
          + วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรเขตร้อน)



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อัปเดตล่าสุด 10 กรกฎาคม 2553 เวลา 17:34:37 5,497 อ่าน
TOP