x close

ม.ราชภัฏ 40 แห่ง เล็งยกเลิกธุรกรรมการเงินกับไทยพาณิชย์

 
มหาลัยราชภัฏไม่เอาไทยพาณิชย์

          มหาวิทยาลัยราชภัฏ ร่วม 40 แห่ง เล็งยกเลิกธุรกรรมการเงินกับธนาคารไทยพาณิชย์ หลังมีดราม่ารับสมัครงานรับเฉพาะมหาวิทยาลัยชื่อดัง 14 แห่ง แม้ธนาคารไทยพาณิชย์ ชี้แจงแล้ว ระบุสื่อสารผิดพลาด

          กลายเป็นเรื่องร้อนขึ้นมาจนได้ จากกรณีโลกออนไลน์แชร์ภาพประกาศของธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดรับสมัครงานในตำแหน่งที่ปรึกษาทางการเงินฝึกหัด โดยระบุคุณสมบัติของผู้สมัครว่าจะต้องเรียนจบปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยชื่อดัง 14 สถาบันที่ระบุเท่านั้น ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง จนสุดท้ายแล้ว ธนาคารไทยพาณิชย์ ต้องรีบออกแถลงการณ์ขออภัยกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พร้อมระบุว่า เป็นการสื่อสารที่ผิดพลาด

มหาลัยราชภัฏไม่เอาไทยพาณิชย์

          อย่างไรก็ตาม ล่าสุด วันที่ 30 มิถุนายน 2558 รายการเรื่องเล่าเช้านี้ ช่อง 3 เปิดเผยว่า ผศ. ดร.นิวัตกลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) เพชรบุรี ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) ได้ออกแถลงการณ์คัดค้าน และไม่ยอมรับเหตุผลของธนาคารไทยพาณิชย์ กรณีประกาศรับสมัครพนักงานแบบเลือกสถาบัน โดยระบุว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ ยังมีมหาวิทยาลัยราชภัฏบางแห่งเตรียมยกเลิกบัญชีและการทำธุรกรรมกับธนาคารไทยพาณิชย์อีกด้วย

          และไม่เพียงเท่านี้ ผู้สื่อข่าวเปิดเผยว่า เฟซบุ๊ก สำนักทรัพย์สิน และรายได้ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ก็ได้โพสต์ข้อความระบุว่า...

          "ตามมติที่หารือ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 40 แห่ง และสำนักทรัพย์สินและรายได้พร้อมตอบสนองตามมติ มีความเห็นพ้องกันว่า จะทำการตอบโต้โดยเลิกการทำธุรกรรมการเงินทุกชนิดกับธนาคารไทยพาณิชย์แห่งนี้"

          วันเดียวกัน ในเว็บบอร์ดพันทิปพบว่า มีประชาชนและชาวเน็ตเข้าไปแสดงความเห็นในกระทู้ "รายชื่อมหาลัยที่ถูกแบ่งเกรด" กันอย่างหลากหลายทัศนะ ทั้งนี้ ผู้ตั้งกระทู้ได้นำเอกสารที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลของทางธนาคารแบ่งการคัดเลือกผู้สมัครงานจากสถาบันต่าง ๆ เป็นกลุ่ม AA, AB และ BB

          โดยตัวอย่างคอมเม้นท์ อาทิ

          - ดูแล้วก็โอเคนะครับ ผมว่าไม่ได้แบ่งแยกอะไรเลย เรียนไม่เก่ง จบสถาบันไม่ดัง เขาก็รับ แต่ต้องมีประสบการณ์ 3 ปี ขึ้นไป ผมว่าก็เหมาะสมดี

          - นายจ้างมีสิทธิเลือกลูกจ้าง  อย่างน้อยเค้าก็เปิดโอกาสให้สมัครได้ทุกมหาลัย ไม่ได้กีดกันให้เฉพาะบางมหาลัย

          - เป็นเรื่องปกติ มันเป็นสิทธิ์ของเขา ที่จะคัดแบ่งคนที่มาทำงาน จบคณะเดียวกันแต่มาจากมหาลัยดัง คนเรียนก็ต้องเรียนหนักกว่ามหาลัยไม่ดังอยู่แล้ว คุณซื้อทุเรียนคุณก็ต้องเลือก และเขาเป็นผู้จ้างเขามีสิทธิ์เลือกนะ มหาลัยและผู้เรียนต่างหากที่ต้องปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น ไม่ใช่มาโวยวายว่ากีดกันทำไม  

          - มหาลัยในต่างประเทศเขาก็มีการจัดอันดับ ถึงแม้ไม่ได้แบ่งเกรด แต่อันดับมันก็บอกอยู่ ถ้าอยากยกฐานะของตนเองขึ้นมา ก็ต้องปรับปรุงคุณภาพของมหาวิทยาลัย ในทุก ๆ ด้าน เพื่อที่จะจูงใจให้นักศึกษาที่เก่งและมีความสามารถเข้ามาเรียนเยอะ ๆ ในอเมริกาเอง มหาลัยเอกชนติดอันดับ top เยอะพอสมควร ดังนั้นมหาลัยดังๆ ไม่จำเป็นต้องเป็นของรัฐเสมอ ในแง่ของนักศึกษาเอง ถ้าอยากเรียนมหาลัยดัง ๆ ก็ต้องขวนขวาย รู้จักบทบาทหน้าที่ของนักศึกษา มีความรับผิดชอบต่อการเรียนอย่างสม่ำเสมอ ของดีมีน้อยต้องแย่งกันเป็นหลักพื้นฐานอยู่แล้ว อยากได้งานดี ก็ต้องมุมานะ ขวนขวาย เหมือนอยากได้หุ้นดีก็ต้องหมั่นทำการบ้าน

          - กำลังสงสัยว่าถ้าความแตกต่างมันทำให้คนรู้สึกแย่ขนาดนี้ ทำไมไม่ตั้งชื่อมหาวิทยาลัยทั่วประเทศเป็นชื่อเดียวกัน ค่าเทอมเท่ากัน เนื้อหาวิชาเหมือนกัน ข้อสอบเหมือนกัน แล้วลองให้นักศึกษามาทั่วประเทศสอบแข่งกันดู อยากจะรู้ว่าผลลัพธ์จะเป็นยังไง ? แล้วยึดผลลัพธ์นั้น ๆ เพื่อไปเข้างาน จะได้ไม่เหลื่อมล้ำกันอีก ตอน ป.ตรี เราอยู่ xn--y3c.BB ค่ะ เลือกเรียนเพราะใกล้บ้าน ขี้เกียจนั่งรถนาน ตอนนี้เรียน ป.โท อยู่ ม.AA ความยากค่อนข้างต่างกันแต่ไม่แน่ใจว่าเพราะระบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยหรือเพราะระดับชั้นที่สูงขึ้น

          - ทำไม มศว ถึงไปอยู่ใน AB ได้หว่า ทั้งที่คะแนนแอดก็ค่อนข้างสูง แถมค่อนข้างมีชื่อเสียงระดับนึงในสาขาบัญชี การเงิน และในประกาศรับสมัครของธนาคารสีม่วงก็ยังมีชื่อ มศว อยู่เลย สงสัยเฉย ๆ ครับ ผมไม่ได้จบจาก มศว นะ

          - เกรดเฉลี่ยและเรียนจบสถาบันดัง วัดได้อย่างเดียวว่า คุณเรียนเก่ง วัดได้แค่นั้น ส่วนทำงานเก่งไหม ไม่รู้ วัดความรับผิดชอบได้ไหม ตอบได้เลย ไม่ได้ ไม่ได้เพราะอะไร เพราะบางคนหัวดีอยู่แล้ว อ่านหนังสือ ก่อนสอบแค่ 2 วัน สอบได้เกรด A อีกคน กลับบ้านมา อ่านหนังสือ ทบทวนบทเรียนทุกวัน สอบได้ B+ คุณว่า 2 คนนี้ คนไหนเรียนเก่ง  คนไหน มีความรับผิดชอบมากกว่ากัน
 
           
          ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ทางธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ออกหนังสือชี้แจงและขออภัยอย่างสูงที่เกิดข้อผิดพลาดในการสื่อสาร ดังนี้




ภาพจาก ธนาคารไทยพาณิชย์, เฟซบุ๊ก สำนักทรัพย์สิน และรายได้
 
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
, เฟซบุ๊ก สำนักทรัพย์สิน และรายได้




เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ม.ราชภัฏ 40 แห่ง เล็งยกเลิกธุรกรรมการเงินกับไทยพาณิชย์ อัปเดตล่าสุด 30 มิถุนายน 2558 เวลา 14:38:14 28,478 อ่าน
TOP