x close

วิธีคิดคะแนน admission 53


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม


          การคัดเลือกด้วยระบบ Admissions ซึ่งเริ่มเมื่อปีการศึกษา 2549 ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ว่ามีการให้สัดส่วนผลการเรียนมากเกินไป ซึ่งความจริงการสอบคัดเลือก Entrance ก็ดี การคัดเลือกด้วยระบบ Admissions ก็ดี ล้วนถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้เกี่ยวข้องทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

          การรับเข้าศึกษาด้วยระบบ Admissions มีเป้าหมายว่า ถ้าดำเนินการได้เต็มรูปแบบจะต้องถึงจุดที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณารับเข้าและประกาศเกณฑ์ดังกล่าวให้ทราบทั่วกัน นักเรียนหรือผู้ประสงค์จะสมัครเข้าศึกษาต่อ ณ สถาบันอุดมศึกษาแห่งใด จะต้องนำคะแนนผลการสอบที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติจัดสอบเพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกันและต้องไม่เพิ่มภาระแก่นักเรียน โดยนักเรียนจะนำคะแนนไปยื่นสมัคร ณ หน่วยคัดเลือกลางที่มีกลไกดำเนินงานที่เป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในความยุติธรรมโปร่งใสและมีธรรมาภิบาล เป็นผู้ทำหน้าที่คัดเลือกให้

          การปรับระบบการสอบคัดเลือกปีการศึกษา 2553 ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยได้มอบให้ กลุ่มเสวนา Admissions  และ Assessment ดำเนินการ โดยมีหลักการตามที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยเห็นชอบคือ ให้พิจารณานำผลการเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและการสอบ Aptitude Test เป็นองค์ประกอบของการคัดเลือก ผลการเรียนประกอบด้วย GPAX และผลการสอบ O-NET ส่วนการสอบ Aptitude Test จะแทนที่การสอบ A-NET และ/วิชาเฉพาะ เนื่องจากหลักการของ Aptitude Test เป็นการทดสอบความถนัดทางการเรียนซึ่งไม่เน้นเนื้อหาวิชา จึงสามารถจัดสอบได้หลายครั้งในแต่ละปี

          องค์ประกอบการคัดเลือกฯ ปีการศึกษา 2553 ที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบมีดังนี้

          1. GPAX                                                20% 
          2. O-NET (8 กลุ่มสาระ)                            30%
          3. GAT (General Aptitude Test)          10-50%
          4. PAT (Professional Aptitude Test)     0-40%

          ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) มีมติ ทปอ. ในข้อสรุปเกี่ยวกับ Admissions 2553-2554 ดังนี้ 

          1.  องค์ประกอบและค่าร้อยละของกลุ่มสาขาวิชาในระบบ Admissions ปีการศึกษา 2553-2554 ยังเหมือนเดิม  

          2. คะแนน GAT-PAT ใช้ได้ 2 ปีนับจากวันสอบ  

          3. การสอบ GAT-PAT ให้สอบได้ตั้งแต่ ม.6 และสอบปีละ 3 ครั้ง เพื่อสามารถนำผลสอบของเดือนกรกฎาคมไปใช้ในการสมัครรับตรงของมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ทันด้วย  

          4. ไม่มีการเพิ่ม PAT ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น PAT 2, PAT 6 หรือ PAT อื่นๆ ก็ตาม เพราะหากให้นักเรียนสอบ PAT มากขึ้นอาจย้อนกลับไปสู่การสอบในลักษณะ Entrance เหมือนเดิม 

          5. ใช้คะแนนดิบในการคิดคะแนน Admissions ปีการศึกษา 2553 และให้ตั้งคณะกรรมการที่เชี่ยวชาญทำการศึกษาวิธีคิดคะแนน โดยใช้คะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานอีกครั้ง เพื่อเสนอในที่ประชุมและสรุปผลการใช้คะแนน Admissions ในปีการศึกษา 2554 ต่อไป

          สำหรับ วิธีคิดคะแนน admission 53 นั้น บนเว็บไซค์การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ได้จัดทำ โปรแกรมทดลองคำนวณคะแนน Admission พร้อม คู่มือโปรแกรมทดลองคำนวณคะแนน Admission ประจำปีการศึกษา 2553 ดังรายละเอียดต่อไปนี้

           โปรแกรมทดลองคำนวณคะแนน Admission 2553 (.ZIP) 

           โปรแกรมทดลองคำนวณคะแนน Admission 2553 (.RAR) 

           คู่มือโปรแกรมทดลองคำนวณคะแนน Admission 2553 



 การคิดคะแนนสอบวิชา O-NET วิชา A-NET และ / หรือวิชาเฉพาะ 

          คะแนนทุกวิชาที่นำมาคิดจะต้องผ่านเกณฑ์ที่คณะ / ประเภทวิชานั้นๆ กำหนดไว้ หากไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ จะไม่รับพิจารณา 

          1. ให้นำคะแนนสอบวิชา O-NET วิชา A-NET และ / หรือวิชาเฉพาะ ของผู้สมัคร คูณกับค่าน้ำหนัก ของแต่ละวิชาที่คณะ / ประเภทวิชานั้นๆ กำหนด 

          2. นำคะแนนที่คูณกับค่าน้ำหนักเรียบร้อยแล้วตามข้อ 1 มารวมกัน จะได้คะแนนรวมวิชา O-NETวิชา A-NET และ / หรือวิชาเฉพาะ

          3. คะแนนเต็มแต่ละวิชามีค่าเท่ากับ 100 คูณกับค่าน้ำหนักของวิชานั้นๆ


 การคิดคะแนน GPAX และ GPA กลุ่มสาระ 

          ในการคัดเลือก กำหนดให้ใช้ผลการเรียนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (GPAX) ร้อยละ 10 และผลการเรียนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายแยกตามกลุ่มสาระ (GPA กลุ่มสาระ) ร้อยละ 20 การคิดคะแนนส่วนนี้ให้คิดเทียบคะแนนเต็มเป็น 100 คะแนน 

          1. ให้นำผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) และผลการเรียนเฉลี่ยตามกลุ่มสาระ (GPA กลุ่มสาระ) คูณด้วย 25 เพื่อแปลงค่าผลการเรียนเฉลี่ยเป็นคะแนนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน (คิดโดยเทียบ GPA = 4 มีค่าเท่ากับ 100 คะแนน  ดังนั้น GPA ของผู้สมัครจึงมีค่าเท่ากับ (GPA ของผู้สมัคร X 100 หารด้วย 4) หรือ มีค่าเท่ากับ GPA ของผู้สมัคร คูณด้วย 25) 

          2. ให้นำผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) และผลการเรียนเฉลี่ยตามกลุ่มสาระ (GPA กลุ่มสาระ) ที่แปลงค่าเป็นคะแนน แล้ว คูณกับ ค่าน้ำหนัก ของ GPAX และ GPA กลุ่มสาระตาม ที่คณะ / ประเภทวิชานั้นๆ กำหนด 

          3. นำค่าคะแนน GPA กลุ่มสาระ ที่แปลงเป็นคะแนนและคูณด้วยค่าน้ำหนักเรียบร้อยแล้วมารวมกัน จะได้คะแนนรวม GPA กลุ่มสาระ 

          4. คะแนนเต็ม GPAX เท่ากับ 100 X 10 = 1000 คะแนนเต็ม GPA กลุ่มสาระแต่ละกลุ่ม เท่ากับ 100 คูณด้วย ค่าน้ำหนักของกลุ่มสาระนั้น


 การคิดคะแนนรวม 

          คะแนนรวม = คะแนน GPAX + คะแนน GPA กลุ่มสาระ + คะแนน O-NET + คะแนน A-NET และ / หรือ คะแนนวิชาเฉพาะ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
และ eduzones.com

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
วิธีคิดคะแนน admission 53 อัปเดตล่าสุด 1 เมษายน 2553 เวลา 01:58:39 1,921 อ่าน
TOP