
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ผลสำรวจสะท้อนการศึกษา ! เผยครูกั๊กความรู้บีบนักเรียนไปกวดวิชา บอกครูใส่ใจกับนักเรียนที่เรียนพิเศษมากกว่านักเรียนปกติ แต่ส่วนใหญ่ผู้ปกครองก็ยังอยากให้บุตรหลานไปเรียนพิเศษอยู่ เพื่อเตรียมพร้อมสอบในระดับที่สูงขึ้น
วันนี้ (1 กุมภาพันธ์ 2558) ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม ได้แถลงผลสำรวจความคิดเห็นต่อค่าเรียนกวดวิชา ซึ่งขณะนี้ผู้ปกครองค่อนข้างกังวลใจว่าจะต้องแบกรับค่ากวดวิชาของลูกหลานมาขึ้น เพราะทางนรัฐบาลเตรียมเก็บภาษีกวดวิชาเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้จากกลุ่มผู้ปกครอง-นักเรียนที่ถูกสำรวจ มีทั้งหมด 1,103 ราย และสำรวจเมื่อช่วงวันที่ 24-29 มกราคม ที่ผ่านมา โดยผลสำรวจระบุว่า...
- ด้านพฤติกรรมการให้บุตรหลานไปเรียนพิเศษที่โรงเรียนกวดวิชา
ร้อยละ 65.82 ระบุว่าในปัจจุบันตนเองให้บุตรหลานในปกครองไปเรียนพิเศษที่โรงเรียนกวดวิชานอกเหนือจากการเรียนในสถาบันการศึกษาปกติ
ร้อยละ 34.1 ไม่ให้ไปเรียน
- สาเหตุสำคัญสูงสุด 3 อันดับ ที่กลุ่มตัวอย่างให้บุตรหลานในปกครองไปเรียนพิเศษที่โรงเรียนกวดวิชา
ร้อยละ 82.64 ต้องการให้บุตรหลานได้เตรียมความพร้อมเพื่อการสอบในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น
ร้อยละ 80.03 ต้องการให้บุตรหลานเพิ่มทักษะความรู้ในวิชานั้น ๆ
ร้อยละ 76.58 ต้องการให้ผลการเรียนบุตรหลานดีขึ้น
- สาเหตุสำคัญสูงสุด 3 อันดับ ที่กลุ่มตัวอย่างไม่ให้บุตรหลานไปเรียนพิเศษที่โรงเรียนกวดวิชา
ร้อยละ 82.76 ไม่มีความจำเป็นต้องเรียนพิเศษเพิ่มเติม
ร้อยละ 79.31 สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
ร้อยละ 77.98 กลัวบุตรหลานไม่ได้ไปเรียนพิเศษจริง ๆ
- ในด้านความคิดเห็นต่อโรงเรียนกวดวิชา กลุ่มตัวอย่างประมาณครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็น
ร้อยละ 50.41 มีความคิดเห็นว่าโรงเรียนกวดวิชาจะมีส่วนช่วยทำให้นักเรียนนักศึกษามีทักษะความรู้ในวิชาต่าง ๆ เพิ่มขึ้นได้จริง
ร้อยละ 55.76 ไม่เห็นด้วยว่าโรงเรียนกวดวิชามีส่วนช่วยให้นักเรียนนักศึกษาใช้เวลาทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ไม่เป็นประโยชน์ เช่น เล่นเกม เที่ยวเตร่ น้อยลง
- การสอนในโรงเรียนกวดวิชาของครูอาจารย์จะส่งผลให้ครูอาจารย์เหล่านั้นให้ความสนใจ/มีสมาธิกับการสอนในชั้นเรียนน้อยลงหรือไม่
ร้อยละ 47.14 คิดว่าน้อยลง
ร้อยละ 40.71 คิดว่าไม่ส่งผล
ร้อยละ 12.15 คิดว่าไม่แน่ใจ
- การสอนของครูอาจารย์กวดวิชากับใครชั้นเรียนแตกต่างกันหรือไม่
ร้อยละ 52.67 มีความคิดเห็นว่าการสอนเพิ่มเติมในโรงเรียนกวดวิชาของครูอาจารย์จะมีส่วนทำให้ครูอาจารย์ผู้นั้นเอาใจใส่/ให้ความสนใจนักเรียนนักศึกษาที่ไปเรียนกวดวิชากับตนเองมากกว่านักเรียนนักศึกษาที่ไม่ได้ไปเรียน
ร้อยละ 48.41 เคยได้ยินบุตรหลานบ่นเกี่ยวกับครูอาจารย์ที่กั๊กวิชาในชั้นเรียนเพื่อให้นักเรียนต้องไปเรียนยังโรงเรียนกวดวิชาที่ครูอาจารย์เหล่านั้นสอนอยู่
- สำหรับเรื่องเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชา
ร้อยละ 67.72 เห็นด้วยที่จะให้มีการเก็บภาษีเงินได้กับโรงเรียนกวดวิชา
ร้อยละ 57.75 มีความคิดเห็นว่าการเก็บภาษีเงินได้กับโรงเรียนกวดวิชาจะไม่ส่งผลกับการตัดสินใจของตนเองในการให้/ไม่ให้บุตรหลานเรียนที่โรงเรียนกวดวิชา
ร้อยละ 59.75 มีความคิดเห็นว่าหากโรงเรียนกวดวิชาขึ้นค่าเรียนอันเนื่องมาจากการถูกเก็บภาษีเงินได้จะไม่ส่งผลให้มีนักเรียนนักศึกษาไปเรียนน้อยลง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก