x close

รร.นายเรืออากาศ เปิดสมัครสอบเตรียมทหาร 2558


 รร.นายเรืออากาศ เปิดสมัครสอบเตรียมทหาร 2558
รร.นายเรืออากาศ เปิดสมัครสอบเตรียมทหาร 2558


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

         สมัครสอบเตรียมทหาร 2558 โรงเรียนนายเรืออากาศ เปิดรับสมัครนักเรียนเตรียมทหาร ถึงวันที่ 15 มีนาคม ดูรายละเอียด สอบเตรียมทหาร 2558 พร้อมข้อสอบเตรียมทหาร ที่นี่

         โรงเรียนนายเรืออากาศ เปิดรับสมัครและสอบคัดเลือกบุคคลภายนอกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร ประจำปี 2558 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้


กำหนดการสมัครสอบเตรียมทหาร 2558

สมัครสอบเตรียมทหาร 2558



คุณสมบัติของผู้สมัครสอบเตรียมทหาร 2558

         - สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า

         - อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 17 ปี ในปีที่จะเข้ารับการศึกษาเป็นนักเรียนเตรียมทหาร การนับอายุให้นับตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (ผู้ที่เกิด พ.ศ. 2541-2543)

การสอบคัดเลือกสอบเตรียมทหาร 2558

การสอบภาควิชาการ (คะแนนรวม 700 คะแนน)

1. ข่ายของเนื้อหาที่ใช้ในการออกปัญหาสอบฯ ครอบคลุมความรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของกระทรวงศึกษาธิการ แบ่งเป็น 2 ชุดวิชา ดังนี้

ชุดวิชาที่ 1 ใช้เวลาสอบ 1 ชั่วโมง 30 นาที ประกอบด้วย


         - วิชาภาษาอังกฤษ คะแนนเต็ม 160 คะแนน (กำหนดเกณฑ์ผ่าน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40)
         - วิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษา คะแนนเต็ม 100 คะแนน

ชุดวิชาที่ 2 ใช้เวลาสอบ 2 ชั่วโมง 30 นาที ประกอบด้วย

         - วิชาวิทยาศาสตร์ คะแนนเต็ม 220 คะแนน
         - วิชาคณิตศาสตร์ คะแนนเต็ม 220 คะแนน (กำหนดเกณฑ์ผ่าน ต้องได้คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 40)

2. การปฏิบัติในการสอบภาควิชาการ


         - แต่งกายชุดนักเรียน หรือชุดเครื่องแบบสถาบัน
         - ผู้สมัครต้องแสดงบัตรประจำตัวสอบ พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวนักเรียนที่มีรูปถ่ายของผู้สมัครและเลขบัตรประชาชน ต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมการสอบ
         - ใช้ดินสอดำชนิด 2B ขึ้นไป ไม่อนุญาตให้นำกระดาษทด กระดาษร่างหรืออุปกรณ์อื่น ๆ รวมทั้งเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเข้าไปในห้องสอบ
         - การขาดสอบภาควิชาการในชุดวิชาใดวิชาหนึ่ง จะถือว่าผู้สมัครสละสิทธิ์ในการสอบคัดเลือก
         - การออกจากห้องสอบ สามารถออกได้เมื่อหมดเวลาสอบเท่านั้น

3. เกณฑ์การพิจารณาการสอบภาควิชาการ


         - จัดเรียงลำดับตามคะแนนรวมภาควิชาการจากมากไปหาน้อย ถ้าคะแนนรวมเท่ากันให้เปรียบเทียบคะแนนวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษาตามลำดับ

การสอบรอบสอง (คะแนนรวม 300 คะแนน)

         ผู้เข้าสอบรอบสอง คือ ผู้ที่มีรายชื่อสอบผ่านภาควิชาการและรายงานตัวเข้าสอบรอบสองไว้แล้วเท่านั้น โดยต้องเข้ารับการสอบทุกรายการ ดังต่อไปนี้

1. การทดสอบความถนัดและวิภาววิสัย (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

         - การทดสอบความถนัดและวิภาววิสัย (เวลา 08.00-12.00 น.)
         - การทดสอบความถนัด เป็นการทดสอบสมรรถภาพหรือศักยภาพพื้นฐานทางสมองของบุคคลที่มีอยู่ ซึ่งได้รับการสร้างสมมาจากประสบการณ์และการฝึกตนเองเป็นเวลานาน จนเกิดเป็นทักษะที่พร้อมจะปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างเข้ารับการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
         - การทดสอบวิภาววิสัย เป็นการทดสอบสภาวะทางนามธรรมของบุคคลทางด้านคุณธรรมจริยธรรม เช่น ทัศนคติ ความสนใจ ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความยุติธรรม ความกล้าหาญ ฯลฯ

2. การปฏิบัติในการทดสอบความถนัดและวิภาววิสัย

         - ผู้สมัครต้องแสดงบัตรประจำตัวสอบ พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวนักเรียนที่มีรูปถ่ายของผู้สมัครและเลขบัตรประชาชน ต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมการสอบ
         - ใช้ดินสอดำชนิด 2B ขึ้นไป ไม่อนุญาตให้นำกระดาษทด กระดาษร่างหรืออุปกรณ์อื่น ๆ รวมทั้งเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเข้าไปในห้องสอบ

การสอบพลศึกษา (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

         ผู้เข้าสอบรอบสองต้องเข้ารับการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย จำนวน 8 สถานี โดยต้องทำการสอบให้ครบทุกสถานี ถ้าขาดสอบสถานีใดสถานีหนึ่งถือว่าสอบตกให้คัดออก โดยแบ่งเวลาการสอบเป็น 2 ช่วง ดังนี้

         - ภาคเช้าตั้งแต่เวลา 08.30-12.00 น. จะทำการสอบสถานีที่ 1-7
         - ภาคบ่ายตั้งแต่เวลา 13.00-16.00 น. จะทำการสอบสถานีที่ 8

สถานีที่ 1 นั่งงอตัว

         อุปกรณ์การสอบ มีกล่องไม้สูงจากพื้น 30 เซนติเมตร ติดไม้วัดยาว 60 เซนติเมตร ด้านบนของกล่องในแนวนอน ให้ผู้เข้าสอบนั่งเหยียดขาตรง เท้าทั้งสองตั้งฉากกับพื้นและชิดกัน ฝ่าเท้าจรดแกนกลางของที่ตั้งเครื่องวัด แขนทั้งสองข้างเหยียดตรงขนานกับพื้นฝ่ามือวางอยู่บนเครื่องวัด พร้อมแล้วให้ก้มตัวเลื่อนฝ่ามือไปข้างหน้าตามแนวเครื่องวัด จนไม่สามารถก้มตัวเลื่อนฝ่ามือปลายนิ้วมือต่อไปได้ เข่าเหยียดตรงตลอดเวลา ห้ามโยกตัวหรืองอตัวแรง ๆ

สถานีที่ 2 ยืนกระโดดไกล

         ให้ผู้เข้าสอบยืนบนจุดที่กำหนดบนเครื่องวัด ปลายเท้าทั้งสองชิดเส้นเริ่มเหวี่ยงแขนทั้งสองข้างไปด้านหลังพร้อมกับย่อตัวลงหาจังหวะ เมื่อได้จังหวะแล้วให้เหวี่ยงแขนทั้งสองข้างไปข้างหน้า พร้อมกระโดดด้วยเท้าทั้งสองไปข้างหน้าให้ไกลที่สุด

สถานีที่ 3 ลุกนั่ง 30 วินาที

         ให้ผู้เข้าสอบนอนหงายบนเบาะ ฝ่ามือทั้งสองสอดประสานกันที่ท้ายทอย กางศอกทั้งสองข้างสัมผัสกับเบาะ เข่าทั้งสองงอตั้งเป็นมุมฉาก เท้าทั้งสองวางห่างกันพอประมาณ ผู้ช่วยคุกเข่าอยู่ปลายเท้าของผู้ทดสอบ โดยใช้มือทั้งสองกดข้อเท้าของผู้เข้าสอบไว้ให้ส้นเท้าติดพื้น เมื่อพร้อมแล้วกรรมการให้สัญญาณ เสียงนกหวีดผู้เข้าสอบลุกขึ้นสู่ท่านั่งพร้อมกับก้มศีรษะลงระหว่างเข่าทั้งสองให้แขนทั้งสองช่วงศอกด้านในสัมผัสกับเข่าด้านนอกแล้วกลับนอนลงสู่ท่าเดิม ศอกทั้งสองข้างสัมผัสกับเบาะ ทำเช่นนี้ติดต่อกันภายใน 30 วินาที ขณะปฏิบัติฝ่ามือต้องประสานที่ท้ายทอยตลอดเวลา และขณะที่ลุกขึ้นสู่ท่านั่งห้ามเอียงตัวไปมา

สถานีที่ 4 วิ่งเก็บของ


         เป็นการวิ่งบนทางเรียบห่างกัน 10 เมตร เส้นเริ่มต้นและเส้นปลายทางมีวงกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 50 เซนติเมตร ที่วงกลมปลายทางมีไม้ 2 ท่อน (ขนาด 5x0.5x10 เซนติเมตร) วางตรงจุดกำหนดกลางวงกลมปลายทาง ผู้เข้ารับการทดสอบวางเท้าข้างหนึ่งข้างใดอยู่ภายในวงกลมเริ่มต้น เมื่อได้ยินสัญญาณเสียงนกหวีดให้ผู้เข้ารับการสอบวิ่งจากวงกลมเริ่มต้นไปยังวงกลมปลายทางหยิบไม้ท่อนที่ 1 วิ่งกลับมาวางไว้ในวงกลมเริ่มต้น ต้องวางไม้ให้อยู่ในวงกลม ห้ามโยนท่อนไม้เข้าวงกลม แล้ววิ่งกลับไปเก็บไม้ท่อนที่ 2 วิ่งกลับมาผ่านวงกลมเริ่มต้น (โดยไม่ต้องวางท่อนไม้ท่อนที่ 2 ในวงกลมเริ่มต้น)

สถานีที่ 5 วิ่งระยะทาง 50 เมตร

         ผู้เข้าสอบเตรียมพร้อมที่เส้นปล่อยตัว เมื่อได้ยินสัญญาณเสียงนกหวีดให้ออกวิ่งไปยังเส้นชัย โดยต้องวิ่งในช่องวิ่งของตนเองตามที่กำหนดไว้จนถึงเส้นชัย

สถานีที่ 6 ดึงข้อ

         ท่าเตรียม ให้ผู้เข้าสอบจับราวเดี่ยวด้วยมือทั้ง 2 ข้างแบบคว่ำมือ พร้อมห้อยตัวลงจนแขน ล าตัว และขาเหยียดตรง พร้อมแล้วให้ผู้เข้าสอบงอแขนดึงตัวขึ้นจนคางอยู่เหนือราว ทำติดต่อกันไปให้มากครั้งที่สุด ห้ามแกว่งตัวหรือเตะขา หรือหยุดพักระหว่างครั้งนานเกินกว่า 3-4 วินาที

สถานีที่ 7 วิ่งระยะ 1,000 เมตร

         ผู้เข้าสอบเตรียมพร้อมที่เส้นปล่อยตัว เมื่อได้ยินสัญญาณเสียงนกหวีดให้ออกวิ่งไปยังเส้นชัยตามที่คณะกรรมการกำหนดไว้

สถานีที่ 8 ว่ายน้ำ 50 เมตร

         ให้ผู้เข้าสอบพร้อมที่จุดปล่อยตัวขอบสระด้านเริ่มต้น เมื่อได้ยินสัญญาณเสียงนกหวีดปล่อยตัว ให้ออกตัวว่ายน้ำไปยังเส้นชัย

การปฏิบัติในการสอบพลศึกษา

         - ผู้เข้ารับการสอบเตรียมชุดพลศึกษา เสื้อกีฬาสีขาว กางเกงกีฬาขาสั้น รองเท้าผ้าใบพร้อมนำบัตรประจำตัวสอบมาด้วย
         - เตรียมกางเกงว่ายน้ำและอุปกรณ์ (เช่น หมวก แว่นตา) สำหรับการสอบว่ายน้ำ(ห้ามใช้กางเกงชั้นในแทนกางเกงว่ายน้ำ)

การสอบสัมภาษณ์ (คะแนนเต็ม 100 คะแนน)

         1. การสอบสัมภาษณ์ เป็นการพิจารณาลักษณะ รูปร่าง ท่าทาง ความสมบูรณ์ของร่างกาย ความองอาจ ว่องไว ปฏิภาณไหวพริบ และสภาพจิตใจ ตลอดจนคุณสมบัติความเหมาะสมที่จะเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร

         2. การปฏิบัติในการสอบสัมภาษณ์ ผู้เข้ารับการสอบแต่งกายชุดนักเรียนหรือชุดเครื่องแบบสถาบัน พร้อมนำบัตรประจำตัวสอบมาด้วย


การตรวจร่างกายและทดสอบองค์ประกอบหลักของบุคคล (ผลการตรวจผ่าน, ไม่ผ่าน)

การตรวจร่างกาย

         1. ผู้เข้าสอบรอบสองรายงานตัวที่โรงเรียนนายเรืออากาศ เวลา 07.00 น. เพื่อเดินทางไปตรวจร่างกายที่สถาบันเวชศาสตร์การบิน โดยรถของทางโรงเรียนนายเรืออากาศ (ผู้ปกครองหรือญาติ รอรับที่สถาบันเวชศาสตร์การบิน กองทัพอากาศ หลังจากตรวจร่างกายและทดสอบองค์ประกอบหลักของบุคคลเสร็จแล้ว)

         2. การตรวจร่างกายเป็นการพิจารณารูปร่าง ลักษณะการเจริญเติบโตของร่างกายสมส่วนกับอายุ สุขภาพสมบูรณ์ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและการบรรจุเข้ารับราชการตามการกำหนดลักษณะความสมบูรณ์ของร่างกายและโรคที่ขัดต่อการเข้ารับศึกษาในโรงเรียนเตรียมทหาร (ในส่วนของกองทัพอากาศ) (ตามผนวก ก)

         3. ผลการตรวจร่างกาย คือความเห็นของคณะอนุกรรมการตรวจร่างกายทางแพทย์ที่กองทัพอากาศแต่งตั้งขึ้น เพื่อตรวจร่างกายของผู้เข้ารับการสอบคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนเตรียมทหาร (ในส่วนของกองทัพอากาศ) ถือเป็นเด็ดขาด ไม่รับพิจารณาผลการตรวจร่างกายที่ผู้เข้าสอบรอบสองไปตรวจร่างกายจากสถานพยาบาลอื่นๆ




ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
โรงเรียนนายเรืออากาศ



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
รร.นายเรืออากาศ เปิดสมัครสอบเตรียมทหาร 2558 อัปเดตล่าสุด 28 มกราคม 2558 เวลา 00:49:30 2,594 อ่าน
TOP