x close

เทคนิคการเลือกหัวข้อเรื่องสำหรับการทำโครงงาน

รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์


 

เทคนิคการเลือกหัวข้อเรื่องสำหรับการทำโครงงาน 

โดย
คุณครูพีรพัฒน์ ขุนซาง

 

           เมื่อนักเรียนคิดหัวข้อเรื่อง หรือแนวทางกว้าง ๆ สำหรับเป็นหัวข้อโครงงานแล้ว สิ่งสำคันเป็นอย่างยิ่งที่นักเรียน หรือครูที่ปรึกษาจะต้องคำนึงถึง มีดังต่อไปนี้

            1. ความยากง่ายเหมาะสมกับระดับความรู้ของนักเรียนหรือไม่

           ในการจัดทำโครงงานนั้น ความยากง่ายจะต้องเหมาะสมกับระดับความรู้ของนักเรียนว่าอยู่ในระดับช่วงชั้น ได ในระดับช่วงชั้นที่ 1 หรือ ช่วงชั้นที่ 2 เรื่องที่จะนำมาทำโครงงานจะต้องไปยากจนเกินไป จะเป็นเป็นเรื่องที่นักเรียนสมมารถทำได้ในระดีบของนักเรียน ส่วนนักเรียนที่ระดับสูงขึ้น เรื่องที่จะทำต้องยากขึ้นอีกกว่าระดับช่วงชั้นที่ 1 หรือ 2 ยิ่งระดับสูงขึ้นจะต้องมีความละเอียดของโครงงานซับซ้อนยิ่งขึ้น

            2. เป็นเรื่องที่แปลกใหม่ น่าสนใจ

           ในการตัดสินใจในการทำโครงงานนั้น เรื่องที่จัดทำมีความแปลกใหม่น่าสนใจหรือไม่ เคยเป็นโครงงานที่มีผู้อื่นเคยทำมาก่อนหรือไม่  และเป็นเรื่องที่ผู้อ่านเห็นแล้วสนใจในเรื่องที่เราทำ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้อื่นได้

            3. มีความเป็นไปได้สูง

           โครงงานที่นักเรียนจัดทำขึ้นมานั้น ถ้าทำแล้วมีโอกาสที่จะสำเร็จสูง  ไม่ใช่ว่าทำไปแล้วล้มเหลว ซึ่งจะขึ้นอยู่กับครูที่ปรึกษาโครงงาน ควรให้คำแนะนำว่า หัวข้อโครงงานที่นักเรียนนำมาปรึกษานั้น ถ้านักเรียนทำแล้ว จะเสียเวลาหรือไม่ ความสำเร็จของโครงงาน มีหรือป่าว การลงทุนมากหรือน้อย  และตัวนักเรียนเองจะต้องใช้วิจารณญาณ เกี่ยวกับการทำโครงงานของตนเองว่า โอกาสแห่งความสำเร็จของโครงงานของเรา มีหรือไม่

            4. มีความชัดเจน

           โครงงานของนักเรียนที่จะจัดทำขึ้นมานั้น ต้องมีความชัดเจน มีความเฉพาะเจาะจง ว่าเป็นการศึกษาเรื่องใด ยกตัวอย่างเช่น โครงงานเรื่องการใช้สมุนไพรกำจัดแมลง ก็ ควรบอกให้ช้ชัดลงไปว่า เราจะใช้สมุนไพรชนิดใด ประเภทใด กำจัดแมลงจำพวกไหน ก็ควรบอกให้ชัดเจน

            5. มีแหล่งความรู้

           ในการทำโครงงานของนักเรียนนั้น ผู้จัดทำโครงงานเอง  ก็ควรศึกษาหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ว่าหนังสือ หรือแหล่วความรู้ที่เราจะศึกษามีหรือเปล่า ถ้าหาหนังสือหรือตำราไม่ได้ เราสามารถได้สอบถามจากผู้รู้ได้หรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ค่อนข้างสำคัญมากที่ครูที่ปรึกษาและผู้จัดทำโครงงานจะต้องคำนึงถึง

            6. วัสดุอุปกรณ์ในการทำโครงงาน

           ในการทำโครงงานทุกครั้ง เราจะต้องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำ ครูที่ปรึกษาและผู้จัดทำโครงงงานจะต้องจัดหา ซึ่งจะต้องคิดว่า อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้น สามารถหาได้ในท้องถิ่นหรือไม่ หรือสามารถยืมจากห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่

            7. ควมปลอดภัยในการทำโครงงาน

           สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ครูปรึกษาและตัวผู้จัดทำโครงงานเองจะต้องคำนึงถึงคือความปลอดภัยในการทำโครงาน ว่าโครงงานที่เราจัดทำขึ้นมานั้น มีความปลอดภัยต่อตนผู้จัดทำเองหรือผู้อื่นหรือไม่ เช่น การทดลองสังเกตลักษณะของดวงอาทิตย์  การทดอลงสังเกตพฤติกรมของงูพิษชนิดต่าง ๆ  เป็นต้น ครูที่ปรึกษาจะต้องพิจารณาให้ดีว่าโครงงานที่นักเรียนเสนอมานั้นเหมาะสมหรือไม่ หรือการนำสารเคมีชนิดต่าง ๆ หรือเครื่องจักรกลมาใช้ในการทำโครงงาน จะต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง

            8. งบประมาณในการจัดทำโครงงาน

           งบประมาณในการจัดทำโครงงานนั้นครูที่ปรึกษา ก็ควรพิจารณาให้ดีว่าโครงงานที่นักเรียนเสนอมานั้นใช้งบประมาณมากจนเกินไปไหม ตัวอย่างเช่น "การทดลองหาสูตรอาหารในการเลี้ยงสุกรให้โตวัย" ซึ่งในการทดลองนั้นจะต้องซื้อสุกรมาหลายตัวและอาหารที่จะต้องนำมาผสมกันนั้นจะต้องใช้ในปริมาณมาก ซึ่งจะต้องพิจารณาให้ดีว่างบประมาณที่จะใช้ในการทำโครงงานเหมาะสมหรือไม่

           9. เวลาที่ใช้ในการทำโครงงาน

           เวลาที่ใช้ในการทำโครงงานของนักเรียนนั้นไม่ควรใช้เวลาในการทำมากจนเกินไป นักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 1 และ 2 ก้อไม่ควรเกิน 2 สัปดาห์ และระดับที่สูงกว่านั้น ไม่ควรเกิน 1 เดือน

           ทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เทคนิควิธีการเลือกหัวข้อที่จะทำโครงงานของนักเรียนให้ประสบความสำเร็จ มีควาเป็นไปได้สูงนั้น ผู้จัดทำหรือครูที่ปรึกษาโครงงานจะต้องคำนึงถึง ดังที่ได้นำเสนอมานั้น พอจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจของผู้จัดทำและครูที่ปรึกษาได้




ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
School.obec.go.th

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เทคนิคการเลือกหัวข้อเรื่องสำหรับการทำโครงงาน อัปเดตล่าสุด 25 มกราคม 2553 เวลา 12:22:39
TOP