x close

เปิดตัวเชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 66


เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี

เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี



เปิดตัวเชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 66

          รายชื่อทีมผู้นำเชียร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ครั้งที่ 66

 ผู้นำเชียร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี
พงษ์วัฒน์ ภัทรวิชญ์กุล (บอล) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4


เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี
มนัสนันท์ จิตติจรุงลาภ (โบว์) คณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 2

เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี
เสาวรภย์ ปรีชาวุฒิ (เดียร์) คณะนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 3


เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี
อลิสา บัวแก้ว (กิ๊ฟ) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (BBA) ชั้นปีที่ 2


เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี
ชญานุช บุญธนาพิบูลย์ (อิ๊งค์) คณะ นิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 1


เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี
ศุภฤกษ์ ทาอุปรงค์ (เจมส์) คณะรัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 4


เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี
กอบัว กัมปนานนท์ (กอบัว) คณะนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 2


เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี
สุพงษ์ จิระธรรมนิตย์ (ตี๋เล็ก) คณะ นิติศาสตร์ ชั้นปีที่ 4


เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี
รุ่งตะวัน อัสดรวุฒิไกร (นิว) คณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่ 2


เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี
ธนพงศ์ จารุรัตน์มงคล (นิค) คณะ นิเทศศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ ปี 3


เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี
ธีธัช ควรตระกูล (พีท) คณะนิเทศศาสตร์ ภาคภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 1


เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี
กรณิศ ศักดิ์ศรชัย (แตงไทย) คณะนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 3

เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี
ปรินทร์ ทรัพย์ไสวผล (เติ้ล) คณะบัญชี ชั้นปีที่ 3




 ประธานเชียร์ประจำงานฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 66

          ชื่อ นายศิวดล บุญช่วย 

          ชื่อเล่น จิ๋ม 

          การศึกษา  กำลังศึกษาอยู่คณะวิทยาศาสตร์  ภาควิชาจุลชีววิทยา ชั้นปีที่  4

เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี
ศิวดล บุญช่วย


 จุฬาฯ คทากร – ที่มาที่ไป



เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี

 

          จุฬาฯคทากร คือ นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้ได้รับคัดเลือกให้ทำหน้าที่ถือคทาเดินนำขบวนพาเหรดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยในอดีตหน้าที่เดินถือคทาจะทำโดยดรัมเมเยอร์ ซึ่งถือว่ามีความสำคัญในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์เป็นอย่างมาก แต่ต่อมาในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมือง 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ทำให้ต้องมีการงดจัดงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ ไปหลายปี และดรัมเมเยอร์ของมหาวิทยาลัยทั้งสองก็หายไปในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย

          กระทั่งปี 2550 มีนิสิตคณะนิติศาสตร์คนหนึ่ง ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลขบวนพาเหรดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 64 ได้มีแนวคิดที่จะสร้างวัฒนธรรมการคัดเลือกนิสิตจุฬาฯ เพื่อทำหน้าที่ดรัมเมเยอร์เดินนำขบวนพาเหรดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกครั้ง เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสำคัญของหน้าที่นี้ อีกทั้งเพื่อให้นิสิตจุฬาฯ ในยุคปัจจุบัน ได้มีโอกาสทำหน้าที่สำคัญดังกล่าว จึงได้มีการวางรากฐานเกี่ยวกับกระบวนการคัดเลือกไว้เป็นครั้งแรก จนกระทั่งได้นิสิตจุฬาฯ เพื่อทำหน้าที่ดรัมเมเยอร์ในงานฟุตบอลประเพณีในครั้งนั้นเป็นรุ่นแรกจำนวน 5 คน แต่ต่อมาปรากฏว่ามีการเลื่อนจัดงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ครั้งที่ 64 ออกไป ทำให้นิสิตจุฬาฯ ที่ได้รับการคัดเลือกไว้แล้วเป็นรุ่นแรก ยังไม่ได้ทำหน้าที่ดรัมเมเยอร์เดินนำขบวนพาเหรดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในงานฟุตบอลประเพณีครั้งนั้น 

          ในปี 2551 ได้มีการคัดเลือกนิสิตจุฬาฯ เพื่อทำหน้าที่ดรัมเมเยอร์อีกครั้ง จำนวน 5 คน ด้วยเหตุผลคือเพื่อเป็นการดำรงวัฒนธรรมการคัดเลือกดรัมเมเยอร์ไว้ให้มีความต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ทำให้งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 65 ที่ผ่านมามีนิสิตจุฬาฯ ที่ได้รับคัดเลือกให้ทำหน้าที่ดรัมเมเยอร์เดินนำขบวนพาเหรดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้งสิ้น 10 คน ที่ได้จากการคัดเลือกเป็นรุ่นแรกไว้แล้วในปี 2550 ร่วมกับรุ่นที่ 2 ที่ได้คัดเลือกในปี 2551

          และในโอกาสนั้นถือเป็นการเปิดตัวครั้งแรก (Grand Opening) ในรอบกว่า 3 ทศวรรษ ภายใต้ชื่อเรียกใหม่อย่างเป็นทางการว่า "จุฬาฯ คทากร" โดยมีการนำรูปแบบการเดินเป็นขบวนซึ่งดัดแปลงมาจาก กองทัพดรัมเมเยอร์ ที่โด่งดังในอดีตกลับมาอีกครั้ง และนอกจากนั้น จุฬาฯคทากร ยังมีการแสดงควงคทาประกอบเพลง มหาจุฬาลงกรณ์ และเพลงต่างๆ ของมหาวิทยาลัย รวมทั้งฝึกซ้อมควงคทา เพื่อกระชับความสัมพันธ์ในเพลงชั่วดินฟ้า ร่วมกับดรัมเมเยอร์แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อีกด้วย



เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี

เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี

เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี

เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี

เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี

เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี

เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี

เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี

 

กระบวนการคัดเลือก

          สำหรับการคัดเลือกจุฬาฯคทากร จะเริ่มจากการให้แต่ละคณะส่งตัวแทนมาคณะละ 2 คนโดยเป็นนิสิตชาย 1 คน และนิสิตหญิง 1 คน ขั้นตอนแรกนี้เป็นการกระจายโอกาสและการมีส่วนร่วมของแต่ละคณะในการคัดเลือกนิสิตในคณะตนเองที่มีความเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้แต่ละคณะจะมีวิธีการสรรหานิสิตในคณะตนเองที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นนายกสโมสรนิสิตแต่ละคณะจะเป็นผู้ส่งรายชื่อนิสิตในสังกัดคณะที่ได้ผ่านการสรรหาแล้วเพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกโดยคณะกรรมการต่อไปดังนี้

          -รอบที่ 1 การสัมภาษณ์เพื่อวัดทัศนคติรวมทั้งความรู้รอบตัวของแต่ละคน

          -รอบที่ 2 การฝึกซ้อมเดินและถือคทา เพื่อทำให้แต่ละคนได้รู้ถึงทักษะเบื้องต้นของการเป็นคทา

          -รอบสุดท้าย เป็นการให้แต่ละคนได้แสดงความสามารถและวิสัยทัศน์ต่อการเป็นจุฬาฯคทากร รวมถึงการแสดงความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานต่างๆ

ทำเนียบจุฬาฯคทากร

รุ่นที่ 1 (2550)


          นายจารุพงษ์ วงศ์โฆษวรรณ (นิค) คณะเภสัชศาสตร์
          นางสาวพิมพ์พลอย วิเชียรปราการ (ฝ้าย) คณะวิศวกรรมศาสตร์
          นางสาวภานรินทร์ จันทร์แจ่มจรูญ (นุ้ย) คณะวิทยาศาสตร์
          นางสาวณัฐธยาน์ สุวรรณโรจน์ (เอ๋ย) คณะศิลปกรรมศาสตร์
          นางสาวกวิสรา ยุ่นประยงค์ (ก้อย) คณะอักษรศาสตร์

รุ่นที่ 2 (2551)

          นายอัครวินท์ อัคราวณิชย์ (วิน) คณะทันตแพทยศาสตร์
          นายภัทรศักดิ์ มโนรมย์ภัทรสาร (ภัทร) คณะวิศวกรรมศาสตร์
          นางสาวทิตา ปทุมเทวาภิบาล (ทิตา) คณะเศรษฐศาสตร์ 
          นางสาวภัทริน ลาภกิตติกุล (เบลล์) คณะเภสัชศาสตร์
          นางสาวภณิตา ศิลปวิทยาดิลก (มิ้นท์) คณะอักษรศาสตร์

รุ่นที่ 3 (2552) รุ่นปัจจุบัน

          นายณัฐพงศ์ ชินโสภณทรัพย์ (โบ๊ท) คณะทันตแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 4
          นายปเนต พฤฒิกุล (บิ๊ท) คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 3
          นายปณต สายน้ำทิพย์ (บูม) คณะแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 2
          นายพิสุทธิ์ อารมณ์ดี (แก๊ป) คณะเศรษฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 2
          นางสาวหทัยวรรณ งามสุคนธภูษิต (ผึ้ง) คณะทันตแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 3
          นางสาวภัณฑิลา ปัญญามีเสมอ (แอน) คณะวิทยาศาสตร์ ชั้นปีที่ 2
          นางสาววริษฐา นาครทรรพ (ออม) คณะอักษรศาสตร์ ชั้นปีที่ 1
          นางสาวอภิศรา ทัตติ (กุ๊กกิ๊ก) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ชั้นปีที่ 1

เชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี



โลโก้งานบอล

         โลโก้งานบอลในปีนี้ ประกอบขึ้นจากเส้นแรงอันหมายถึง ทุกคนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นนิสิตปัจจุบัน ศิษฏ์เก่า บุคลากร สื่อ รวมไปถึงบุคคลภายนอก ที่ต่างเป็นแรงหลัก ที่จะผลักดันลูกฟุตบอลไปข้างหน้า มีตัวอักษร ซี และ ยู ที่กำลังทำท่าเตะอยู่ คือผลลัพธ์ของ การร่วมมือกันของทุกฝ่าย ให้งานฟุตบอลประเพณีประสบความสำเร็จ โดยเส้นแรง 2 เส้น สามารถมองเป็นเลข 66 ได้ อีกทั้งยังออกแบบ ให้เป็นรูปดอกจามจุรี อันเป็นดอกไม้ประจำ มหาวิทยาลัย สะท้อนความสง่างามของสถาบันแห่งนี้ ท่ามกลางปณิธานแรงกล้าที่จะเป็นที่หนึ่ง








เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เปิดตัวเชียร์ลีดเดอร์ จุฬาฯ ฟุตบอลประเพณี จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 66 โพสต์เมื่อ 22 มกราคม 2553 เวลา 15:24:15 4,396 อ่าน
TOP