เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ผลโพลชี้ เด็ก ม.ปลาย ใช้ชีวิตกับการเรียนพิเศษถึง 60.2% เพื่อเตรียมพร้อมสอบเข้ามหาวิทยาลัย พร้อมแนะ คสช. ปฏิรูปการศึกษาใหม่ ลดจำนวนชั่วโมงเรียน และปรับปรุงระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
วันนี้ (1 กรกฎาคม 2557) ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ชีวิตเด็ก ม.ปลาย สู่รั้วมหาวิทยาลัย” รับวันประกาศผลสอบ admission 57 โดยผลสำรวจดังกล่าวเป็นเก็บข้อมูลจากนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้น ม.ปลาย และที่กำลังรอศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2557 ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,231 คน
สำหรับผลสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ชีวิตเด็ก ม.ปลาย สู่รั้วมหาวิทยาลัย” มีรายละเอียด ดังนี้
1. ความเห็นเรื่องการเรียนพิเศษ
ร้อยละ 60.2 นิยมเรียนพิเศษ
โดยให้เหตุผล : เรียนในห้องเรียนไม่ค่อยเข้าใจ และเนื้อหาที่เรียนไม่ตรงกับที่จะใช้สอบเข้ามหาวิทยาลัย เป็นต้น
ร้อยละ 39.8 ไม่ได้เรียนพิเศษ
โดยให้เหตุผล : ฐานะไม่ดี ตั้งใจเรียนในห้อง และเอาเวลาไปทำกิจกรรมอย่างอื่นดีกว่า เป็นต้น
ทั้งนี้เมื่อถามเฉพาะผู้ที่เรียนพิเศษว่า
2. เมื่อถึงเวลาสอบใช้ความรู้จากที่ใดมากกว่ากันระหว่างความรู้ที่เรียนในห้องเรียนกับความรู้ที่ได้จากการเรียนพิเศษ (ถามเฉพาะผู้ที่เรียนพิเศษเท่าน้น)
ร้อยละ 59.6 บอกว่าใช้ความรู้ที่ได้จากการเรียนให้ห้องเรียนและจากที่เรียนพิเศษพอ ๆ กัน
ร้อยละ 27.9 ใช้ความรู้ที่ได้จากการเรียนพิเศษมากกว่า
ร้อยละ 12.5 ใช้ความรู้ในห้องเรียนมากกว่า
3. ความเห็นต่อการเพิ่มเนื้อหา ด้านคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกความเป็นไทย ในเนื้อหาวิชาเรียนนั้นนักเรียนส่วนใหญ่
ร้อยละ 67.3 บอกว่าเห็นด้วย
ร้อยละ 8.6 บอกว่าไม่เห็นด้วย
ร้อยละ 24.1 บอกว่าไม่แน่ใจ
4. ความเห็นต่อระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐในปัจจุบัน
ร้อยละ 64.4 เห็นว่าเหมาะสมแล้วและควรมีต่อไป
โดยให้เหตุผล : สามารถนำคะแนนเก็บในโรงเรียนมาคิดเป็นคะแนนสอบได้ทำให้เกิดการตั้งใจเรียนในโรงเรียนเพิ่มขึ้น และการสอบส่วนกลางสามารถเก็บคะแนนได้หลายครั้ง สามารถเลือกคะแนนที่ดีที่สุดได้ เป็นต้น
ร้อยละ 35.6 เห็นว่าไม่เหมาะสม ควรยกเลิก
โดยให้เหตุผล : จำนวนครั้งที่สอบมีมากเกินไป ทำให้เครียด ต้องกวดวิชามากขึ้น และต้องวิ่งรอกหาสถานที่สอบตรงเข้ามหาวิทยาลัยเพิ่มขึ้น เป็นต้น
5. ความเห็นต่อหลักเกณฑ์ที่ใช้เลือกมหาวิทยาลัยที่จะศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของรัฐ
ร้อยละ 55.5 บอกว่าจะเลือกจากคณะที่ชอบและตั้งใจจะเรียนโดยไม่สนใจเรื่องสถาบัน
ร้อยละ 25.5 จะเลือกสถาบันที่ชอบเป็นหลัก
ร้อยละ 13.1 จะเลือกคณะหรือมหาวิทยาลัยที่มีคะแนนถึง
6. ความเห็นต่อหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการเลือกมหาวิทยาลัยเอกชน หากพลาดจาก admission 57
ร้อยละ 52.1 จะพิจารณาจากการมีคณะ/หลักสูตรที่ต้องการและมีชื่อเสียง
ร้อยละ 32.9 เลือกจากชื่อเสียงของสถาบันเป็นที่ยอมรับในสังคม
ร้อยละ 30.5 เลือกจากการเดินทางสะดวกสบาย
7. ความมั่นใจต่อระบบการเรียนการสอนของไทยในปัจจุบัน ว่าจะทำให้นักเรียนมีศักยภาพดีกว่านักเรียนในประเทศอาเซียนได้มากน้อยเพียงใด
ร้อยละ 60.1 มั่นใจน้อยถึงน้อยที่สุด
ร้อยละ 25.3 มั่นใจมากถึงมากที่สุด
ร้อยละ 14.6 ระบุว่า ไม่มั่นใจเลย
8. ความคาดหวังในการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยของนักเรียน ม. ปลาย
ร้อยละ 27.5 คาดหวังว่าจะเรียนสบาย ๆ มีความสุข ไม่เครียด
ร้อยละ 15.6 คาดหวังว่าจะได้เจอสังคมที่ดีระหว่างเพื่อน และการดูแลที่ดีจากรุ่นพี่
ร้อยละ 10.4 คาดหวังว่าชีวิตจะไปด้วยดีจนจบการศึกษา
9. เรื่องที่อยากฝากให้ คสช. ปฏิรูปด้านการศึกษามากที่สุด
ร้อยละ 27.5 ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่มีหลากหลายเกินไป อยากให้ลดจำนวนการสอบลง จะทำให้นักเรียนมีโอกาสเท่าเทียมกันในการสอบ
ร้อยละ 15.8 ลดจำนวนชั่วโมงเรียน หรือคาบเรียนลง
ร้อยละ 11.4 ปรับปรุงการเรียนการสอนในห้องเรียน ให้เข้าใจง่ายขึ้น สามารถนำไปใช้ได้จริง เน้นเข้าใจมากกว่าท่องจำ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก