เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดตัวโปรแกรม-มาตรการ ตรวจสอบการคัดลอกวิทยานิพนธ์ หลังพบมีรูปแบบการคัดลอกที่หลากหลาย
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2556 ม.ร.ว.กัลยา ติงศภัทิย์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดว่า เรื่องการคัดลอกผลงานทางด้านวิชาการถือเป็นเรื่องที่ต่างประเทศให้ความสำคัญอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันจะพบว่ามีรูปแบบการคัดลอกที่หลากหลายวิธี ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดนโยบายในการตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการ โดยการใช้โปรแกรมที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้นเอง ซึ่งตัวโปรแกรมที่ทำการพัฒนาขึ้นมานั้น จะใช้ได้ดีกับการตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เพราะรายวิชาเหล่านี้ต้องมีการแก้ไขข้อมูลอยู่เสมอ ขณะที่วิทยานิพนธ์ด้านประวัติศาสตร์ยังต้องอาศัยอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบอยู่ เพราะข้อมูลเหล่านี้ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง
ทั้งนี้ ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำการทดลองโปรแกรมดังกล่าว โดยใช้ตรวจสอบวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา ที่เป็นรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์แล้ว จำนวน 15,000 ผลงาน ซึ่งหากตรวจสอบแล้วพบว่ามีการคัดลอกผลงานวิชาการของคนอื่นมาไว้ในผลงานของตนเอง ทางมหาวิทยาลัยก็จะขอเรียกคืนใบปริญญาคืนทันที
ด้าน นายอมร เพชรสม คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ขณะนี้ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำมาตรการ 3 มาตรการ ออกมาใช้ในการป้องกันการคัดลอกผลงานวิชาการแล้ว ประกอบด้วย
1. มาตรการสร้างจิตสำนึก อาทิ การอบรม และเปิดสอนรายวิชาจริยธรรมการวิจัยให้กับนิสิตทุกคน รวมถึงอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ด้วย
2. มาตรการป้องปราม โดยกำหนดให้นิสิตเขียนวิทยานิพนธ์ด้วยโปรแกรมซียู อี-ธีสิส (CU e-Thesis) ซึ่งนิสิตทุกคนจะต้องส่งแบบรายงานความก้าวหน้าเป็นระยะ
3. มาตรการติดตามตรวจสอบด้วยโปรแกรมเทิร์นอิทอิน (Turn it in) และโปรแกรมอักขราวิสุทธิ์ ซึ่งทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้พัฒนาขึ้นเอง โดยจะเริ่มใช้โปรแกรมดังกล่าว ในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2556
สำหรับการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบันไม่สามารถคัดลอกผลงานกันเองได้แล้ว
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก