x close

สถาบันผลิตครู ผ่านเกณฑ์แค่ 12 แห่ง




สถาบันผลิตครูผ่านเกณฑ์ได้ตั๋วแม่พิมพ์แค่12แห่ง (ไทยโพสต์)

         22 สถาบันผลิตครู ผ่านการพิจารณาของคุรุสภาให้ได้รับใบอนุญาตครูเพียงแค่ 12 สถาบัน ส่วนอีก 1 สถาบันไม่ผ่านเกณฑ์ และอีก 9 สถาบันต้องรอพิจารณาปีหน้า เหตุหลักสูตรยังไม่ผ่านการรับรอง เตือน นศ.ควรตรวจสอบข้อมูลก่อนเลือกเรียนกับสถาบันแห่งไหน "เลขาฯ คุรุสภา" แฉ มีบางมหา’ลัยขายปริญญา ป.บัณฑิต มูลค่าถึง 5 หมื่นบาท เตรียมประสาน สกอ.ลงดาบ 

         นายดิเรก พรสีมา ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า ที่ประชุมมีมติพิจารณาให้กับผู้ยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู 22 สถาบัน ซึ่งมีบัณฑิตครูจำนวน 1,000 คน ที่มีปัญหาเรื่องหลักสูตรยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนดไว้ และอาจจะไม่สามารถออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้ได้ ส่วนสถาบันที่ได้รับการพิจารณามีเพียง 13 สถาบัน ซึ่งในจำนวนนี้พบว่าผ่านเกณฑ์แค่ 12 สถาบัน และไม่ผ่านเกณฑ์ที่คุรุสภาจะออกใบอนุญาตฯ ให้ 1 สถาบัน ส่วนอีก 9 สถาบันที่เหลือไม่สามารถพิจารณาได้ทันแน่นอน ดังนั้นผู้ที่จบจาก 9 สถาบันนี้จะไม่สามารถพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ทันสมัครสอบแข่งขันครูผู้ช่วยที่จะหมดเขตในวันที่ 10 เม.ย.นี้

         “12 สถาบันที่ผ่านเกณฑ์ของคุรุสภาจะมีผู้มายื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูประมาณ 500 คน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูทั้งหมด เพราะจากการตรวจสอบมีบางส่วนที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่คุรุสภากำหนดไว้ เพราะไม่มีประสบการณ์สอน ดังนั้น ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูส่วนใหญ่จะเป็นครูที่สอนใน รร.มาแล้ว ส่วนผู้ที่จบหลักสูตร ปทส.ในวิทยาลัยอาชีวศึกษานั้น คุรุสภาจะไม่ออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้ เนื่องจากเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในการพิจารณาของบอร์ดคุรุสภาอยู่แล้ว

         ประธานคณะกรรมการคุรุสภากล่าวอีกว่า จากการที่คุรุสภาตรวจสอบบัณฑิตที่ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า มีหลายคนไปเรียนหลักสูตรในสถาบันที่มีการจัดการเรียนการสอนหลากหลาย และไม่เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตครูของคุรุสภา จึงทำให้บัณฑิตเหล่านี้มีปัญหาในการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ดังนั้น จึงอยากฝากบอกทุกคนว่า ก่อนที่จะไปลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ตรวจสอบกับเว็บไซต์ของคุรุสภา http://www.ksp.or.th/ ว่าสาขาที่จะเรียนคุรุสภาได้ให้การรับรองหรือไม่ จะได้ไม่เกิดปัญหาขึ้นมาอีกในปีต่อไป

         ขณะที่นายองค์กร อมรสิรินันท์ เลขาธิการคุรุสภา เปิดเผยว่า คุรุสภาได้รับแจ้งว่ามีการขายใบปริญญา ป.บัณฑิต ในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งทางคุรุสภาได้พยายามวางแผนล่อซื้อมานานแล้ว และเมื่อวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้มีนักศึกษา 3 รายจากมหาวิทยาลัยดังกล่าวมายื่นขอใบอนุญาตฯ ที่คุรุสภาเพื่อนำไปสอบบรรจุครูผู้ช่วย ซึ่งพบว่าทั้ง 3 รายต้องจ่ายเงินในการซื้อขายใบปริญญา 45,000 บาท และล่าสุดในวันที่ 5 เม.ย. ได้มีนักศึกษาอีก 1 รายจากมหาวิทยาลัยเดียวกันมายื่นขอใบอนุญาตฯ รายนี้ต้องจ่ายเงินถึง 50,000 บาท ซึ่งนักศึกษาทั้ง 4 รายนี้ไม่เคยเข้าเรียนในหลักสูตรดังกล่าว เพียงแค่ซื้อใบปริญญามาเท่านั้น อย่างไรก็ตามต้องถือว่านักศึกษา 4 รายนี้เป็นผู้ล่อซื้อที่กล้าแสดงตัว และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมาก โดยทางคุรุสภาเองจะรับผิดชอบค่าเสียหายให้ทั้งหมดพร้อมทั้งจะหาวิธีการเยียวยาให้ต่อไป

         เลขาธิการคุรุสภากล่าวว่า หลังจากนี้คุรุสภาจะแจ้งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในฐานะผู้รับผิดชอบอนุมัติหลักสูตร ส่วนคุรุสภาก็จะขึ้นบัญชีดำมหาวิทยาลัยเอกชนดังกล่าว โดยจะไม่รับการขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตฯ หลักสูตร ป.บัณฑิต อีกต่อไป ส่วนนักศึกษาที่ทางคุรุสภาออกใบอนุญาตฯ ให้ก่อนหน้านี้ ก็จะได้มีการพิสูจน์ต่อไปว่า ปริญญาได้มาอย่างถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็จะมีการเพิกถอนใบอนุญาตฯ ภายหลังได้ด้วย อย่างไรก็ตามเรื่องการลงโทษมหาวิทยาลัยเป็นอำนาจของทาง สกอ.แต่คุรุสภาเห็นว่ามหาวิทยาลัยควรยกเลิกสาขาที่มีการผลิตครูนี้ไปเลยดีกว่า.


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

นายดิเรก พรสีมา ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า ที่ประชุมมีมติพิจารณาให้กับผู้ยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู 22 สถาบัน ซึ่งมีบัณฑิตครูจำนวน 1,000 คน ที่มีปัญหาเรื่องหลักสูตรยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่คุรุสภากำหนดไว้ และอาจจะไม่สามารถออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้ได้ ส่วนสถาบันที่ได้รับการพิจารณามีเพียง 13 สถาบัน ซึ่งในจำนวนนี้พบว่าผ่านเกณฑ์แค่ 12 สถาบัน และไม่ผ่านเกณฑ์ที่คุรุสภาจะออกใบอนุญาตฯ ให้ 1 สถาบัน ส่วนอีก 9 สถาบันที่เหลือไม่สามารถพิจารณาได้ทันแน่นอน ดังนั้นผู้ที่จบจาก 9 สถาบันนี้จะไม่สามารถพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ทันสมัครสอบแข่งขันครูผู้ช่วยที่จะหมดเขตในวันที่ 10 เม.ย.นี้“12 สถาบันที่ผ่านเกณฑ์ของคุรุสภาจะมีผู้มายื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูประมาณ 500 คน แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูทั้งหมด เพราะจากการตรวจสอบมีบางส่วนที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่คุรุสภากำหนดไว้ เพราะไม่มีประสบการณ์สอน ดังนั้น ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูส่วนใหญ่จะเป็นครูที่สอนใน รร.มาแล้ว ส่วนผู้ที่จบหลักสูตร ปทส.ในวิทยาลัยอาชีวศึกษานั้น คุรุสภาจะไม่ออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้ เนื่องจากเรื่องนี้ไม่ได้อยู่ในการพิจารณาของบอร์ดคุรุสภาอยู่แล้วประธานคณะกรรมการคุรุสภากล่าวอีกว่า จากการที่คุรุสภาตรวจสอบบัณฑิตที่ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่า มีหลายคนไปเรียนหลักสูตรในสถาบันที่มีการจัดการเรียนการสอนหลากหลาย และไม่เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตครูของคุรุสภา จึงทำให้บัณฑิตเหล่านี้มีปัญหาในการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ดังนั้น จึงอยากฝากบอกทุกคนว่า ก่อนที่จะไปลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ตรวจสอบกับเว็บไซต์ของคุรุสภา ว่าสาขาที่จะเรียนคุรุสภาได้ให้การรับรองหรือไม่ จะได้ไม่เกิดปัญหาขึ้นมาอีกในปีต่อไปขณะที่นายองค์กร อมรสิรินันท์ เลขาธิการคุรุสภา เปิดเผยว่า คุรุสภาได้รับแจ้งว่ามีการขายใบปริญญา ป.บัณฑิต ในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ซึ่งทางคุรุสภาได้พยายามวางแผนล่อซื้อมานานแล้ว และเมื่อวันที่ 3 เม.ย.ที่ผ่านมา ได้มีนักศึกษา 3 รายจากมหาวิทยาลัยดังกล่าวมายื่นขอใบอนุญาตฯ ที่คุรุสภาเพื่อนำไปสอบบรรจุครูผู้ช่วย ซึ่งพบว่าทั้ง 3 รายต้องจ่ายเงินในการซื้อขายใบปริญญา 45,000 บาท และล่าสุดในวันที่ 5 เม.ย. ได้มีนักศึกษาอีก 1 รายจากมหาวิทยาลัยเดียวกันมายื่นขอใบอนุญาตฯ รายนี้ต้องจ่ายเงินถึง 50,000 บาท ซึ่งนักศึกษาทั้ง 4 รายนี้ไม่เคยเข้าเรียนในหลักสูตรดังกล่าว เพียงแค่ซื้อใบปริญญามาเท่านั้น อย่างไรก็ตามต้องถือว่านักศึกษา 4 รายนี้เป็นผู้ล่อซื้อที่กล้าแสดงตัว และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมาก โดยทางคุรุสภาเองจะรับผิดชอบค่าเสียหายให้ทั้งหมดพร้อมทั้งจะหาวิธีการเยียวยาให้ต่อไปเลขาธิการคุรุสภากล่าวว่า หลังจากนี้คุรุสภาจะแจ้งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ในฐานะผู้รับผิดชอบอนุมัติหลักสูตร ส่วนคุรุสภาก็จะขึ้นบัญชีดำมหาวิทยาลัยเอกชนดังกล่าว โดยจะไม่รับการขึ้นทะเบียนขอใบอนุญาตฯ หลักสูตร ป.บัณฑิต อีกต่อไป ส่วนนักศึกษาที่ทางคุรุสภาออกใบอนุญาตฯ ให้ก่อนหน้านี้ ก็จะได้มีการพิสูจน์ต่อไปว่า ปริญญาได้มาอย่างถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้องก็จะมีการเพิกถอนใบอนุญาตฯ ภายหลังได้ด้วย อย่างไรก็ตามเรื่องการลงโทษมหาวิทยาลัยเป็นอำนาจของทาง สกอ.แต่คุรุสภาเห็นว่ามหาวิทยาลัยควรยกเลิกสาขาที่มีการผลิตครูนี้ไปเลยดีกว่า.ขอขอบคุณข้อมูลจาก
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สถาบันผลิตครู ผ่านเกณฑ์แค่ 12 แห่ง โพสต์เมื่อ 8 เมษายน 2554 เวลา 14:33:35 1,766 อ่าน
TOP