x close

คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย




คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 ประวัติความเป็นมา

         
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อตั้ง มานานกว่า 90 ปี ได้กำเนิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยทรงพระราชทานให้สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ตั้งโรงเรียนแพทย์ปรุงยา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2456 ได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเป็นลำดับ จนกลายเป็นคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปัจจุบัน

          วันจัดตั้ง วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2456 

          สีประจำคณะ สีเขียวมะกอก 

          สัญลักษณ์ประจำคณะ งูศักดิ์สิทธิ์พันถ้วยยาไฮเกีย 

          สถานปฏิบัติการ โอสถศาลา 

          เว็บไซต์ http://www.pharm.chula.ac.th/

 หลักสูตรการศึกษา

          คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แบ่งการเรียนการสอนเป็น 3 ระดับ คือ ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาตรี และ ระดับปริญญาเอก ดังรายละเอียดต่อไปนี้

      หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
 
ใช้ระยะเวลาศึกษา 6 ปี

          การจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี มี 2 หลักสูตร คือ 

          1. หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม (6ปี) 

          2. หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ 

          เนื่องจากหลักสูตรทั้ง 2 มีลักษณะการเรียนการสอนรวมถึงเนื้อหาในการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างชัดเจน ผู้สมัครจึงต้องทำการตัดสินใจและคัดเลือกหลักสูตรที่ต้องการเข้าศึกษาต่อ ตั้งแต่ในระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรทั้งสองแล้ว ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเข้าสอบเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชศาสตร์ จากสภาเภสัชกรรมได้

          หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตเพื่อการเทียบโอน 

          คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ยังเปิดหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม โดยเป็นหลักสูตรเพื่อการเทียบโอน (เทียบโอน 2 ปี) สำหรับผู้เข้าศึกษาที่สำเร็จการศึกษา เภสัชศาสตรบัณฑิต 

      หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต ใช้ระยะเวลาศึกษา 2 ปี

          คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดหลักสูตรการเรียนการสอน ในหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต จำนวน 11 สาขาวิชา และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (นานาชาติ) จำนวน 2 สาขาวิชา ดังนี้  

          หลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต จำนวน 11 สาขาวิชา ได้แก่

          1. สาขาวิชาเภสัชกรรม
          2. สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
          3. สาขาวิชาเภสัชอุตสาหกรรม
          4. สาขาวิชาเภสัชเคมี
          5. สาขาวิชาอาหารเคมีและโภชนศาสตร์การแพทย์
          6. สาขาวิชาเภสัชพฤกษศาสตร์
          7. สาขาวิชาเภสัชเวท
          8. สาขาวิชาจุลชีววิทยา
          9. สาขาวิชาสรีรวิทยา
          10. สาขาวิชาเภสัชวิทยา
          11. สาขาชีวเวชเคมี

          หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่

          1. สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม (นานาชาติ) 
          2. สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร (นานาชาติ)

      หลักสูตรระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต ใช้ระยะเวลาศึกษา 2 ปี

          คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดหลักสูตรการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต จำนวน 5 สาขาวิชา และหลักสูตรระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) จำนวน 3 สาขาวิชา ดังนี้

          หลักสูตรระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต จำนวน 5 สาขาวิชา ได้แก่

          1. เภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรม 
          2. วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชเคมีและ ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ
          3. วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ชีวภาพ
          4. วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาชีวเวชเคมี
          5. เภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาล

          หลักสูตรระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) จำนวน 3 สาขาวิชา ได้แก่

          1. วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม (นานาชาติ)
          2. วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและบริหาร (นานาชาติ)
          3. เภสัชศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม (นานาชาติ)

 การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต

         
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีเกณฑ์กำหนดในการรับบุคคลเข้าศึกษา ในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (ปริญญาตรี) ทั้งสิ้น 4 โครงการ ดังนี้

          1. โครงการรับผ่านระบบแอดมิสชันของคณะกรรมการการอุดมศึกษา เปิดรับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ช่วงชั้นที่ 4) ทั่วไปที่ผ่านการสอบในระบบแอดมิสชัน

          2. โครงการรับตรงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้คะแนนสอบแอดมิสชันในการเลือกคณะได้ 4 คณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

          3. โครงการพัฒนากีฬาชาติ ตามนโยบายจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มุ่งส่งเสริมการพัฒนานักกีฬาของชาติให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ โดยเปิดรับผ่านการสมัครโครงการพัฒนากีฬาชาติตามระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

          4. โครงการจุฬาฯ ชนบท เปิดรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่พักอาศัยในต่างจังหวัด โดยนิสิตในโครงการนี้จะได้รับเงินอุดหนุนค่าการศึกษาตลอดการศึกษา

 สถานที่ติดต่อ

          คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
          254 ถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
          โทร. 02-215-0871-7 โทรสาร. 02-255-8227 
          เว็บไซต์ http://www.pharm.chula.ac.th/


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อัปเดตล่าสุด 12 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 17:12:59 10,548 อ่าน
TOP