x close

ทุน คปก.-อุตสาหกรรม ปี 2554




ทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สำหรับงานวิจัยที่เชื่อมโยงกับภาคการผลิต (ทุน คปก.-อุตสาหกรรม) ปี 2554

        สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สนับสนุนการทำงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอก โดยการสนับสนุนทุนวิจัยผ่านโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ประจำ) ปี 2554 ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

 ข้อมูลทุน คปก.-อุตสาหกรรม

        ทุน คปก.-อุตสาหกรรม เป็นทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกำลังคนและพัฒนางานวิจัยระดับปริญญาเอกสำหรับ
ภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจัดสรรเพิ่มเติมจากทุน คปก. ปกติ ประมาณ 50 ทุน

        • ผู้ที่ได้รับการจัดสรรทุน คปก. ปกติแล้ว สามารถได้รับการจัดสรรทุน คปก.-อุตสาหกรรม ได้อีกในปีเดียวกัน หาก สกว. เห็นว่าเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมและมีศักยภาพ และต้องมีนักศึกษารับทุนในขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 7 คน

        • สำหรับผู้ที่ไม่เคยได้รับทุน คปก. ปกติ จะมีนักศึกษารับทุน คปก.-อุตสาหกรรม และ/หรือทุน คปก.ประเภทเพิ่มเติมแบบกลุ่ม ในขณะใดขณะหนึ่งไม่เกิน 3 คน

        ข้อแตกต่างระหว่างทุน คปก.-อุตสาหกรรม กับ ทุน คปก. ปกติ คือ

        (1) โจทย์วิจัยต้องมาจากภาคอุตสาหกรรมหรือเพื่อแก้ปัญหาที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการคำตอบ
        (2) คุณสมบัติของอาจาu3619 .ย์ที่ปรึกษาทุน คปก.-อุตสาหกรรม อาจแตกต่างจากคุณสมบัติอาจารย์ที่ปรึกษาทุน คปก.ปกติได้ โดย คปก. จะให้ความสำคัญต่อประสบการณ์การวิจัยให้กับภาคอุตสาหกรรมด้วย ดังรายละเอียดที่ปรากฏในหลักเกณฑ์ข้อ 2.

 หลักเกณฑ์ของทุน คปก.-อุตสาหกรรม

        1. การคัดเลือกโครงการ จะพิจารณาจากปัจจัยดังต่อไปนี้

             • ศักยภาพในการสร้างความเข้มแข็งต่ออุตสาหกรรม
             • ระดับความสนใจของผู้ประกอบการต่อโครงการวิจัยที่เสนอ
             • ความสามารถของอาจารย์ที่ปรึกษาและ นศ. ที่จะทำงานวิจัยให้สำเร็จ
             • ความลึกซึ้งของการวิจัยที่เหมาะสมกับการศึกษาระดับปริญญาเอก
             • ศักยภาพที่จะทำให้เกิดการพึ่งพาตนเองทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
             • ศักยภาพการสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศ

        2. คุณสมบัติของอาจารย์ที่ปรึกษา

             2.1 มีคุณสมบัติครบที่จะเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกในหลักสูตรที่ขอทุน พำนักอยู่ในประเทศไทย และมีเวลาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาอย่างเพียงพอ

             2.2 มีประสบการณ์ในการทำวิจัยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง โดยผลงานวิจัยดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติในฐานข้อมูลที่ สกว. ยอมรับ (เป็นคุณสมบัติตามเกณฑ์พิจารณาทุน คปก. ปกติ) หรือมีประสบการณ์ในการเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์นักศึกษาระดับปริญญาโทหรือปริญญาเอก และมีผลงานวิจัยที่ทำให้กับภาคอุตสาหกรรมที่ได้ผลดี โดยมีรายงานการวิจัย หรือการเผยแพร่ผลงานในวารสาร หรือเสนอในที่ประชุม หรือสิทธิบัตรที่เป็นที่ยอมรับของ สกว.

             2.3 ถ้าเป็นผู้ที่เคยได้ทุน คปก. และ/หรือได้ทุนวิจัยอื่นๆ ของ สกว. แล้ว จะต้องมีผลการดำเนินการดี

             2.4 ผู้ที่ยังอยู่ระหว่างการรับทุนวิจัยหลังปริญญาเอก ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ หรือ ทุนพัฒนาศักยภาพอาจารย์ของสกว. จะยังไม่ได้รับการพิจารณา เว้นแต่เป็นผู้มีผลงานทางวิชาการดีเด่นเป็นพิเศษ

             2.5 เกณฑ์อื่นๆ ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการซึ่ง สกว. เห็นสมควร

          3. คุณสมบัติของนักศึกษา

             3.1 มีวุฒิปริญญาตรี หรือปริญญาโท และอายุไม่เกิน 40 ปี

             3.2 วุฒิปริญญาตรี จะต้องได้เกียรตินิยม และหรืออยู่ใน 10% แรกของชั้นวุฒิปริญญาโท จะต้อง 

                 (1) มีผลการเรียนทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโทดีเป็นที่ยอมรับของ สกว. และ

                 (2) มีผลงานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสารหรือที่ประชุม หรือ มีผลงานวิจัยที่ทำให้ภาคอุตสาหกรรมที่ได้ผลดี โดยมีการเผยแพร่หรือมีรายงานเกี่ยวกับผลงานดังกล่าว

             3.3 ผู้ที่มีผลงานวิจัยดีเด่น (พิจารณาจากคุณภาพผลงานวิจัยที่เผยแพร่ สิทธิบัตร การนำไปใช้งานได้จริง รางวัลที่ได้รับ ฯลฯ) จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ

             3.4 มีสัญชาติไทย และสามารถศึกษาวิจัยได้เต็มเวลา ในขณะที่ได้รับทุน คปก.

          4. ขอบเขตของงานวิจัย

          
โจทย์วิจัยต้องมาจากภาคอุตสาหกรรมหรือเพื่อแก้ปัญหาที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการคำตอบ และต้องเป็นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการบริหารจัดการทางเทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการคำตอบโดยมีหนังสือแสดงเจตจำนงที่จะใช้ประโยชน์จากงานดังกล่าวจากผู้ประกอบการภาคเอกชนเป็นลายลักษณ์อักษร

 เงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา

          • งานวิจัยวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการกำกับทิศทางการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ผู้แทนจากบริษัทเอกชนที่จะใช้ประโยชน์จากงานวิจัยดังกล่าว และผู้ทรงคุณวุฒิ (คณะกรรมการกำกับทิศทางการวิจัยอาจเป็นชุดเดียวกับคณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์) และ

          • สอบวิทยานิพนธ์ผ่านตามระเบียบของมหาวิทยาลัยที่ศึกษาอยู่กำหนด และ

          • พิมพ์ผลงานวิจัยอันเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกในวารสารวิชาการนานาชาติที่ สกว. ยอมรับ หรือจดสิทธิบัตร หรือ

          • ในกรณีที่ไม่สามารถเผยแพร่ผลงานโดยการตีพิมพ์ผลงานได้ เนื่องจากข้อจำกัดจากบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้อง
ผลงานวิจัยวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกต้องผ่านกระบวนการประเมินคุณภาพที่กำหนดโดย สกว.

 วิธีการสมัครขอทุน คปก.-อุตสาหกรรม รุ่นที่ 13

          ขั้นที่ 1 การสมัครของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และหลักสูตรปริญญาเอก

          อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก* จะต้องส่งเอกสารใบสมัครและเอกสารให้ สกว. (ตามที่อยู่ข้างล่าง) ด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 (นับจากวันประทับตราต้นทาง) ดังนี้

          • ข้อมูลตามแบบฟอร์ม ปก. 2.2/52 จำนวน 3 ชุด พร้อมไฟล์ข้อมูล (download ได้จาก http://rgj.trf.or.th/skv1/rgj_download.asp)

          • ข้อมูลประสบการณ์การทำวิจัยให้ภาคอุตสาหกรรมตามแบบฟอร์ม ปก.2.3 จำนวน 3 ชุด พร้อมไฟล์ข้อมูล(download ได้จาก http://rgj.trf.or.th/skv1/rgj_download.asp)

          • ผลงานวิจัย (reprint) ย้อนหลัง 5 ปี/รายงานการวิจัยที่เคยหรือกำลังทำให้ภาคอุตสาหกรรม

          • สำหรับหลักสูตรที่เปิดใหม่หรือหลักสูตรที่ยังไม่เคยส่ง ปก.2.1 ให้ สกว. ขอให้ผู้รับผิดชอบหลักสูตรปริญญาเอกส่งรายละเอียดของหลักสูตร (ปก.2.1/42) (download ได้จาก http://rgj.trf.or.th/skv1/rgj_download.asp) พร้อมเอกสารหลักสูตรและมติสภามหาวิทยาลัยที่อนุมัติหลักสูตร หรืออนุมัติการปรับปรุงหลักสูตร ให้ สกว. พิจารณาว่ามีโครงสร้างตรงกับหลักเกณฑ์ทุน คปก.หรือไม่ด้วย

          *หมายเหตุ

          สำหรับอาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้รับทุนรุ่นที่ 13 แล้ว แต่ต้องการรับทุน คปก.-อุตสาหกรรม ด้วย ขอให้ส่ง เฉพาะแบบฟอร์ม ปก. 2.3 และผลงานวิจัยที่มีเพิ่มเติม/รายงานการวิจัยที่ทำให้ภาคอุตสาหกรรม โดยมีจดหมายนำส่งว่าต้องการรับทุน คปก.-อุตสาหกรรม แจ้งให้ คปก. ทราบด้วย

          ขั้นที่ 2 การสมัครขอทุนผู้ช่วยวิจัย คปก. และการเสนอข้อเสนอโครงการ

          อาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้รับทุน คปก.-อุตสาหกรรม แล้ว มีสิทธิ์เสนอชื่อนักศึกษาและข้อเสนอโครงการมาให้ สกว.พิจารณา โดยรายละเอียดจะประกาศให้ทราบต่อไป

          ผู้สนใจสามารถขอรายละเอียดเพิ่มเติมหรือส่งเอกสารการสมัครที่ 

          โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) 
          สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 
          ชั้น 15 อาคารเอส เอ็ม ทาวเวอร์ เลขที่ 979/17-21 
          ถ. พหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท 
          กรุงเทพ 10400
 

          โทร. 0-2278-8278 หรือ 8272 หรือ 8267 โทรสาร 0-2298-0478
          เว็บไซต์ http://rgj.trf.or.th/thai/thai.asp 
          E-mail : trfrgj@trf.or.th

 ปฏิทินการดำเนินงานและวิธีการสมัครทุน คปก.-อุตสาหกรรม ปี 2554

          15 พ.ย. 53 - 15 ก.พ. 54 
          ประกาศรับสมัครอาจารย์ที่ปรึกษา ดูจาก http://rgj.trf.or.th/thai/thai.asp

         
16 ก.พ. - 15 มี.ค. 54 
          ประเมินคุณสมบัติอาจารย์ที่ปรึกษา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ

          16 มี.ค. 54 
          ประกาศผลการพิจารณาทุนสำหรับอาจารย์ที่ปรึกษา ดูจาก http://rgj.trf.or.th/thai/thai.asp

          16 มี.ค. - 31 พ.ค. 54 
          อาจารย์ที่ปรึกษาที่ได้รับทุนเสนอชื่อนักศึกษา พร้อมข้อเสนอโครงการและเอกสารจากผู้ประกอบการภาคเอกชนที่แสดงความต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ดูจาก http://rgj.trf.or.th/thai/thai.asp

          
1 มิ.ย. - 31 ก.ค. 54 
          ประเมินข้อเสนอโครงการ และคุณสมบัตินักศึกษา ประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ

         
15 ส.ค. 54 
          ประกาศผลการพิจารณาทุน ดูจาก http://rgj.trf.or.th/thai/thai.asp และทางไปรษณีย์



ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ทุน คปก.-อุตสาหกรรม ปี 2554 อัปเดตล่าสุด 18 ธันวาคม 2553 เวลา 14:55:43
TOP