x close

เภสัช มช. พัฒนาเจลลดไข้จากสมุนไพรไทย



เภสัช มช. พัฒนาเจลลดไข้จากสมุนไพรไทย

          นักวิจัยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาตำรับเจลลดไข้จากสมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อเป็นเภสัชภัณฑ์สำหรับการลดไข้ที่ไม่ใช้ยา โดยพบว่าเจลลดไข้จากสมุนไพรมีประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิที่ผิวหนังเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์เจลลดไข้ในท้องตลาด สร้างทางเลือกของผู้ป่วยในอนาคต

          รศ.ภญ.พิมพร ลีลาพรพิสิฐ  อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้พัฒนาตำรับเจลลดไข้จากพืชสมุนไพรไทย  เปิดเผยว่า คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้ร่วมทำงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาตำรับเจลลดไข้จากพืชสมุนไพรไทย ทีมวิจัย ซึ่งประกอบด้วย รศ.ภญ.เอื้อพร ไชยวรรณ (หัวหน้าโครงการ)  ดร.ภญ.สุภาภรณ์  ปิติพร ผศ.ภญ.สุวรรณา  เวชอภิกุล รศ.ภญ.นภาพร  โออริยกุล ภญ.ผาณิต ทรงวุฒิ ภญ.ผกากรอง  ขวัญข้าว และ ภญ.มัทรีญา  เภาศรี  ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับรางวัลงานวิจัย จากมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 1-5 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา

          เจลลดไข้ เป็นเภสัชภัณฑ์เจล ใช้เป็นยาทางผิวหนัง ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะสวยงามใช้ได้สะดวกและมีประสิทธิภาพช่วยทางการรักษาที่ดี จากการสำรวจพบว่าผลิตภัณฑ์เจลลดไข้ที่มีจำหน่ายในปัจจุบันนี้ ผลิตขึ้นจากพอร์ลิเมอร์ซึ่งเป็นสารก่อเจลสังเคราะห์ มีการผสมเมนทอลเพื่อเป็นสารให้ความเย็นแก่ผิวหนังซึ่งจะไปกระตุ้นประสาทในส่วนของตัวรับความเย็น(cold receptor)โดยตรง จึงมีผลต่อการรับรู้อุณหภูมิที่ปลายประสาท ทำให้ผิวหนังรู้สึกเย็นโดยไม่ได้เกิดจากการระเหยแล้วพาความร้อนออกไปจากผิวหนัง นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังไม่มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบและมีราคาค่อนข้างแพง  

          ปัจจุบันประเทศไทยมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของพืชสมุนไพรหลายชนิด ทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการใช้สมุนไพรมากขึ้น และทีมวิจัยสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย พบว่ามีพืชสมุนไพรหลายชนิดที่ใช้ลดไข้ได้ แต่มักอยู่ในรูปแบบของยารับประทาน 

          ดังนั้นทีมวิจัยจึงคัดเลือกพืชสมุนไพรไทยที่น่าสนใจ หาได้ง่ายในท้องถิ่น มีราคาไม่แพงและใช้ได้ปลอดภัย มาสกัดด้วยกรรมวิธีที่ไม่ยุ่งยากเพี่อให้ได้น้ำมันหอมระเหยและสารก่อเจลจากธรรมชาติ เพื่อพัฒนาแผ่นแปะเจลลดไข้โดยใช้พืชสมุนไพรท้องถิ่นที่มีคุณสมบัติลดอุณหภูมิทางผิวหนัง เป็นการพัฒนาต่อยอดจากภูมิปัญญาพื้นบ้านมีการนำพืชสมุนไพรหลายชนิดมาใช้ประโยชน์กันตั้งแต่สมัยโบราณ  ซึ่งจะเป็นการเพิ่มคุณสมบัติด้านยา โดยศึกษาถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาไปพร้อมๆกับ การศึกษาความปลอดภัยของการใช้สมุนไพร 

          ซึ่งทีมวิจัยได้ทำการคัดเลือกสมุนไพร คือ ว่านหางจระเข้ ผักปลัง  เครือหมาน้อย  และพัฒนาตำรับโดยใช้ เปปเปอร์มิ้นท์ เป็นองค์ประกอบ โดยสมุนไพรที่นำมาทำการวิจัย มีสรรพคุณทางยาและมีคุณสมบัติในการพัฒนาเจล คือ ว่านหางจระเข้  ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe vera Linn.    ส่วนที่ใช้เป็นวุ้นจากใบ ซึ่งมีสารสำคัญคือ Glycoprotein เช่น Aloctin A Aloctin B ,Aloin  Aloe-emodin ว่านหางจระเข้ใช้การรักษาแผลที่ผิวหนังซึ่งเกิดจากความร้อน วุ้นจากใบมีฤทธิ์ลดไข้ บรรเทาอาการระคายเคืองทำให้ผิวหนังนุ่มชุ่มชื้น และใช้เป็นสารก่อเจลจากธรรมชาติ 

          เครือหมาน้อย ชื่อวิทยาศาสตร์  Cissampelos pareira Linn. var. hirsutus  ส่วนที่ใช้ คือส่วน ใบ ซึ่งใบของเครือหมาน้อย มีสารสำคัญคือ เพคติน มีวิธีการใช้แบบพื้นบ้าน คือ ขยี้ใบเครือหมาน้อยให้เป็นวุ้น แล้วนำมาพอกรักษาฝี อาการปวดบวมตามข้อ หรืออาการอักเสบของผิวหนัง ผดผื่น คัน รวมทั้งจากแมลงสัตว์กัดต่อย  ส่วนราก มีรสหอมเย็น มีสรรพคุณแก้ไข้ ดีซ่าน เป็นยาอายุวัฒนะ

          ผักปลัง หรือผักปั๋ง(ภาคเหนือ) ชื่อวิทยาศาสตร์ Basella rubra Linn. เมือกจากใบผักปลัง มีสารสำคัญคือมีโปรตีน 1.2% เมือกผักปลังสามารถลดอุณหภูมิ แก้ร้อนใน  ส่วนน้ำมันหอมระเหยเปปเปอร์มิ้นท์ มีสรรพคุณลดไข้ แก้ปวดหัว ทำให้สดชื่น ช่วยผ่อนคลาย  โดยเลือกใช้ชนิดที่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ เพราะมีประสิทธิภาพดี ปลอดภัยต่อผู้ใช้

          ผลการวิจัยพบว่า เจลลดไข้สมุนไพร ประกอบด้วยสมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดไข้ คือ ผักปลัง น้ำมันเปปเปอร์มิ้นท์ ส่วนสารก่อเจลจากธรรมชาติทำมาจาก ว่านหางจระเข้ ผักปลัง และเครือหมาน้อย  ซึ่งตำรับที่มีประสิทธิภาพเหมาะสม เป็นตำรับที่มีอัตราส่วนของสารสำคัญ คือ วุ้นว่านหางจระเข้: เมือกผักปลัง: วุ้นเครือหมาน้อย: น้ำมันเปปเปอร์มิ้นท์ เท่ากับ ๑:๑:๑:๑  และตำรับเจลพื้นที่ให้ลักษณะแผ่นแปะที่ดีที่สุด คือ Chitosan ๔% Carbopol ๔% และ HPMC ๔%  

          จากการ เปรียบเทียบเจลลดไข้ที่พัฒนากับเจลพื้นและเจลลดไข้ในท้องตลาด พบว่าตำรับเจลลดไข้ที่พัฒนามี pH อยู่ในช่วง pH ๕-๖ ส่วนความคงสภาพที่สภาวะเร่งพบว่าตำรับเจลลดไข้ที่พัฒนามีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักลดลงเล็กน้อย แผ่นเจลมีสีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และมีการติดผิวลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับเจลก่อนการทดสอบ และพบว่าตำรับเจลลดไข้ที่พัฒนามีประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิที่ผิวหนัง และได้รับความพึงพอใจในอาสาสมัครเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์เจลลดไข้ที่มีขายในท้องตลาด โดยไม่พบการระคายเคืองในอาสาสมัคร 

          ผลการวิจัยที่ได้พัฒนาเป็นตำรับสมุนไพรลดไข้ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เจลสมุนไพร  เป็นยาใช้ภายนอกร่างกายซึ่งสามารถใช้ร่วมกับยารับประทานอื่นได้อย่างปลอดภัย  เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการใช้สมุนไพรเพื่อช่วยลดไข้โดยไม่เกิดอันตรกิริยากับยาอื่นซึ่งผู้ป่วยใช้รับประทานร่วมด้วย และยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีสำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานยาได้ หรือมีข้อจำกัดบางอย่างในการรับประทานยา ก็จะใช้ผลิตภัณฑ์นี้เพื่อช่วยลดอุณหภูมิร่างกายลงได้ นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยในตำรับยังมีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะด้วย ผลิตภัณฑ์เจลลดไข้นี้สามารถใช้ช่วยลดไข้ได้กับผู้ป่วยทั่วไปทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่มีอาการไข้ปานกลางหรือต่ำ หรืออาการไข้ที่ไม่นานเกิน 7 วัน และไม่มีอาการร่วมกับไข้ที่รุนแรง เช่น หนาวสั่นและปวดศีรษะมาก 

          นับเป็นตำรับจากสมุนไพรที่ใช้กรรมวิธีการสกัดที่เหมาะสม โดยประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาพัฒนาเป็นเจลลดไข้ที่มีประสิทธิภาพใช้ได้สะดวก นอกจากจะช่วยเสริมการรักษาเร่งการลดอุณหภูมิของร่างกายคนไข้ได้เร็วขึ้น ยังช่วยให้เกิดการผ่อนคลายและสดชื่นจากกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรที่มีในส่วนผสม นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรไทยคาดว่าจะมีส่วนในการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรไทย เป็นการสร้างงานและรายได้ให้แก่เกษตรสนใจทำการเพาะปลูก ซึ่งทีมวิจัยจะได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป รศ.ภญ.พิมพร  กล่าวทิ้งท้าย



ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

                    รศ.ภญ.พิมพร ลีลาพรพิสิฐ  อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้พัฒนาตำรับเจลลดไข้จากพืชสมุนไพรไทย  เปิดเผยว่า คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้ร่วมทำงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาตำรับเจลลดไข้จากพืชสมุนไพรไทย ทีมวิจัย ซึ่งประกอบด้วย รศ.ภญ.เอื้อพร ไชยวรรณ (หัวหน้าโครงการ)  ดร.ภญ.สุภาภรณ์  ปิติพร ผศ.ภญ.สุวรรณา  เวชอภิกุล รศ.ภญ.นภาพร  โออริยกุล ภญ.ผาณิต ทรงวุฒิ ภญ.ผกากรอง  ขวัญข้าว และ ภญ.มัทรีญา  เภาศรี  ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ได้รับรางวัลงานวิจัย จากมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 1-5 กันยายน 2553 ที่ผ่านมา                   ปัจจุบันประเทศไทยมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของพืชสมุนไพรหลายชนิด ทำให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในการใช้สมุนไพรมากขึ้น และทีมวิจัยสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทย พบว่ามีพืชสมุนไพรหลายชนิดที่ใช้ลดไข้ได้ แต่มักอยู่ในรูปแบบของยารับประทาน           ดังนั้นทีมวิจัยจึงคัดเลือกพืชสมุนไพรไทยที่น่าสนใจ หาได้ง่ายในท้องถิ่น มีราคาไม่แพงและใช้ได้ปลอดภัย มาสกัดด้วยกรรมวิธีที่ไม่ยุ่งยากเพี่อให้ได้น้ำมันหอมระเหยและสารก่อเจลจากธรรมชาติ เพื่อพัฒนาแผ่นแปะเจลลดไข้โดยใช้พืชสมุนไพรท้องถิ่นที่มีคุณสมบัติลดอุณหภูมิทางผิวหนัง เป็นการพัฒนาต่อยอดจากภูมิปัญญาพื้นบ้านมีการนำพืชสมุนไพรหลายชนิดมาใช้ประโยชน์กันตั้งแต่สมัยโบราณ  ซึ่งจะเป็นการเพิ่มคุณสมบัติด้านยา โดยศึกษาถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาไปพร้อมๆกับ การศึกษาความปลอดภัยของการใช้สมุนไพร           ซึ่งทีมวิจัยได้ทำการคัดเลือกสมุนไพร คือ ว่านหางจระเข้ ผักปลัง  เครือหมาน้อย  และพัฒนาตำรับโดยใช้ เปปเปอร์มิ้นท์ เป็นองค์ประกอบ โดยสมุนไพรที่นำมาทำการวิจัย มีสรรพคุณทางยาและมีคุณสมบัติในการพัฒนาเจล คือ ว่านหางจระเข้  ชื่อวิทยาศาสตร์ Aloe vera Linn.    ส่วนที่ใช้เป็นวุ้นจากใบ ซึ่งมีสารสำคัญคือ Glycoprotein เช่น Aloctin A Aloctin B ,Aloin  Aloe-emodin ว่านหางจระเข้ใช้การรักษาแผลที่ผิวหนังซึ่งเกิดจากความร้อน วุ้นจากใบมีฤทธิ์ลดไข้ บรรเทาอาการระคายเคืองทำให้ผิวหนังนุ่มชุ่มชื้น และใช้เป็นสารก่อเจลจากธรรมชาติ           ชื่อวิทยาศาสตร์  Cissampelos pareira Linn. var. hirsutus  ส่วนที่ใช้ คือส่วน ใบ ซึ่งใบของเครือหมาน้อย มีสารสำคัญคือ เพคติน มีวิธีการใช้แบบพื้นบ้าน คือ ขยี้ใบเครือหมาน้อยให้เป็นวุ้น แล้วนำมาพอกรักษาฝี อาการปวดบวมตามข้อ หรืออาการอักเสบของผิวหนัง ผดผื่น คัน รวมทั้งจากแมลงสัตว์กัดต่อย  ส่วนราก มีรสหอมเย็น มีสรรพคุณแก้ไข้ ดีซ่าน เป็นยาอายุวัฒนะ          ชื่อวิทยาศาสตร์ Basella rubra Linn. เมือกจากใบผักปลัง มีสารสำคัญคือมีโปรตีน 1.2% เมือกผักปลังสามารถลดอุณหภูมิ แก้ร้อนใน  ส่วนน้ำมันหอมระเหยเปปเปอร์มิ้นท์ มีสรรพคุณลดไข้ แก้ปวดหัว ทำให้สดชื่น ช่วยผ่อนคลาย  โดยเลือกใช้ชนิดที่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ เพราะมีประสิทธิภาพดี ปลอดภัยต่อผู้ใช้                    จากการ เปรียบเทียบเจลลดไข้ที่พัฒนากับเจลพื้นและเจลลดไข้ในท้องตลาด พบว่าตำรับเจลลดไข้ที่พัฒนามี pH อยู่ในช่วง pH ๕-๖ ส่วนความคงสภาพที่สภาวะเร่งพบว่าตำรับเจลลดไข้ที่พัฒนามีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักลดลงเล็กน้อย แผ่นเจลมีสีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และมีการติดผิวลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับตำรับเจลก่อนการทดสอบ และพบว่าตำรับเจลลดไข้ที่พัฒนามีประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิที่ผิวหนัง และได้รับความพึงพอใจในอาสาสมัครเทียบเท่ากับผลิตภัณฑ์เจลลดไข้ที่มีขายในท้องตลาด โดยไม่พบการระคายเคืองในอาสาสมัคร                   นับเป็นตำรับจากสมุนไพรที่ใช้กรรมวิธีการสกัดที่เหมาะสม โดยประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาพัฒนาเป็นเจลลดไข้ที่มีประสิทธิภาพใช้ได้สะดวก นอกจากจะช่วยเสริมการรักษาเร่งการลดอุณหภูมิของร่างกายคนไข้ได้เร็วขึ้น ยังช่วยให้เกิดการผ่อนคลายและสดชื่นจากกลิ่นหอมของน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรที่มีในส่วนผสม นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของสมุนไพรไทยคาดว่าจะมีส่วนในการส่งเสริมการปลูกสมุนไพรไทย เป็นการสร้างงานและรายได้ให้แก่เกษตรสนใจทำการเพาะปลูก ซึ่งทีมวิจัยจะได้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป รศ.ภญ.พิมพร  กล่าวทิ้งท้ายขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เภสัช มช. พัฒนาเจลลดไข้จากสมุนไพรไทย โพสต์เมื่อ 13 ตุลาคม 2553 เวลา 14:21:17 7,063 อ่าน
TOP