การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์
การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นการเสนอผลงานการดำเนินการเป็นเอกสาร จัดว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของโครงงาน เมื่อนักเรียนดำเนินการทำโครงงานจนครบขั้นตอนได้ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมทั้งแปรผล และสรุปผลแล้ว งานขั้นต่อไปที่ต้องทำคือ การเขียนรายงาน
การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีสื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง เพื่อให้คนอื่น ๆ ได้เข้าใจแนวความคิด วิธีดำเนินงานศึกษาค้นคว้าข้อมูล ผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุป และข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น
การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
1. ชื่อโครงงาน
ชื่อโครงงานเป็นสิ่งสำคัญประการแรก เพราะชื่อโครงการจะช่วยโยงความคิดไปถึงวัตถุประสงค์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ และควรกำหนดชื่อโครงการให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักด้วย
การตั้งชื่อโครงงานของนักเรียนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นิยมตั้งชื่อให้มีความกะทัดรัดและดึงดูดความสนใจจากผู้อ่าน ผู้ฟัง แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องเข้าใจปัญหาที่สนใจศึกษาอย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่การเข้าใจวัตถุประสงค์ของการศึกษาอย่างแท้จริงด้วย เช่น
โครงงานวิทยาศาสตร์ ชื่อ "ถุงพลาสติกพิชิตแมลงวันตัวน้อย" ซึ่งปัญหาเรื่องที่สนใจศึกษาคือถุงน้ำพลาสติกสามารถไล่แมลงวันที่มาตอมอาหารได้จริงหรือ จากเรื่องดังกล่าวผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ บางคนหรือบางคณะอาจสนใจตั้งชื่อโครงงานวิทยาศาสตร์ ว่า "การศึกษาการไล่แมลงวันด้วยถุงน้ำพลาสติก" หรือ "ผลการใช้ถุงน้ำพลาสติกต่อการไล่แมลงวัน" ก็เป็นได้
อย่างไรก็ตามจะตั้งชื่อโครงการในแบบใด ๆ นั้น ต้องคำนึงถึงความสามารถที่จะสื่อความหมายถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาได้ชัดเจน
2. ชื่อผู้จัดทำโครงงาน
การเขียนชื่อผู้รับผิดชอบโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งดีเพื่อจะได้ทราบว่าโครงงานนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของใครและสามารถติดตามได้ที่ใด
3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
การเขียนชื่อผู้ให้คำปรึกษาควรให้เกียรติยกย่องและเผยแพร่ รวมทั้งขอบคุณที่ได้ให้คำแนะนำการทำโครงงานวิทยาศาสตร์จนบรรลุเป้าหมาย
4. บทคัดย่อ
อธิบายถึงที่มาและความสำคัญของโครงงาน วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปต่าง ๆ อย่างย่อประมาณ 300-350 คำ
5. กิตติกรรมประกาศ (คำขอบคุณ)
ส่วนใหญ่โครงงานวิทยาศาสตร์มักจะเป็นกิจกรรมที่ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย ดังนั้นเพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศของความร่วมมือ จึงควรได้กล่าวขอบคุณบุคลากรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีส่วนช่วยให้โครงงานนี้สำเร็จด้วย
6. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ในการเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้ทำโครงงานจำเป็นต้องศึกษา หลักการทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจจะศึกษา หรือพูดเข้าใจง่าย ๆ ว่าเรื่องที่สนใจจะศึกษานั้นต้องมีทฤษฎีแนวคิดสนับสนุน เพราะความรู้เหล่านี้จะเป็นแนวทางสำคัญในเรื่องต่อไปนี้
- แนวทางตั้งสมมติฐานของเรื่องที่ศึกษา
- แนวทางในการออกแบบการทดลองหรือการรวบรวมข้อมูล
- ใช้ประกอบการอภิปรายผลการศึกษา ตลอดจนเสนอแนะเพื่อนำความรู้และ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ค้นพบไปใช้ประโยชน์ต่อไป
การเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน คือ การอธิบายให้กระจ่างชัดว่าทำไม ต้องทำ ทำแล้วได้อะไร หากไม่ทำจะเกิดผลเสียอย่างไร ซึ่งมีหลักการเขียนคล้ายการเขียนเรียงความ ทั่ว ๆ ไป คือ มีคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป
ส่วนที่ 1 คำนำ :
เป็นการบรรยายถึงนโยบาย เกณฑ์ สภาพทั่ว ๆ ไป หรือปัญหาที่มีส่วนสนับสนุนให้ริเริ่มทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ส่วนที่ 2 เนื้อเรื่อง :
อธิบายถึงรายละเอียดเชื่อมโยงให้เห็นประโยชน์ของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โดยมี หลักการ ทฤษฎีสนับสนุนเรื่องที่ศึกษา หรือการบรรยายผลกระทบ ถ้าไม่ทำโครงงานเรื่องนี้
ส่วนที่ 3 สรุป :
สรุปถึงความจำเป็นที่ต้องดำเนินการตามส่วนที่ 2 เพื่อแก้ไขปัญหา ค้นข้อความรู้ใหม่ ค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ให้เป็นไปตามเหตุผลส่วนที่ 1
7. วัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
วัตถุประสงค์ คือ กำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการให้เกิดจากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ในการเขียนวัตถุประสงค์ ต้องเขียนให้ชัดเจน อ่านเข้าใจง่ายสอดคล้องกับชื่อโครงงาน หากมีวัตถุประสงค์หลายประเด็น ให้ระบุเป็นข้อ ๆ การเขียนวัตถุประสงค์มีความสำคัญต่อแนวทาง การศึกษา ตลอดจนข้อความรู้ที่ค้นพบหรือสิ่งประดิษฐ์ที่ค้นพบนั้นจะมีความสมบูรณ์ครบถ้วน คือ ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทุก ๆ ข้อ
8. สมมติฐานของการศึกษา
สมมติฐานของการศึกษา เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงาน ต้องให้ความสำคัญ เพราะจะทำให้เป็นการกำหนดแนวทางในการออกแบบการทดลองได้ชัดเจนและรอบคอบ ซึ่งสมมติฐานก็คือ การคาดคะเนคำตอบของปัญหาอย่างมีหลักและเหตุผล ตามหลักการ ทฤษฎี รวมทั้งผลการศึกษาของโครงงานที่ได้ทำมาแล้ว
9. ขอบเขตของการทำโครงงาน
ผู้ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ต้องให้ความสำคัญต่อการกำหนดขอบเขตการทำโครงงาน เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือ ซึ่งได้แก่ การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนตัวแปรที่ศึกษา
1. การกำหนดประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ การกำหนดประชากรที่ศึกษาอาจเป็นคนหรือสัตว์หรือพืช ชื่อใด กลุ่มใด ประเภทใด อยู่ที่ไหน เมื่อเวลาใด รวมทั้งกำหนด กลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเหมาะสมเป็นตัวแทนของประชากรที่สนใจศึกษา
2. ตัวแปรที่ศึกษา การศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ ส่วนมากมักเป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล หรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่ 2 ตัวแปรขึ้นไป การบอกชนิดของตัวแปรอย่างถูกต้องและชัดเจน รวมทั้งการควบคุมตัวแปรที่ไม่สนใจศึกษา เป็นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้ทำโครงงานต้องเข้าใจ ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็นตัวแปรต้น ตัวแปรใดที่ศึกษาเป็นตัวแปรตาม และตัวแปรใดบ้างเป็นตัวแปรที่ต้องควบคุมเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบการทดลอง ตลอดจนมีผลต่อการเขียนรายงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง สื่อความหมายให้ผู้ฟังและผู้อ่านให้เข้าใจตรงกัน
10. วิธีดำเนินการ
วิธีดำเนินการ หมายถึง วิธีการที่ช่วยให้งานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน ตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการกระทั่งสิ้นสุดโครงการ ซึ่งประกอบด้วย
1. การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
2. การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ข้อมูล
ในการเขียนวิธีดำเนินการให้ระบุกิจกรรมที่ต้องทำให้ชัดเจนว่าจะทำอะไรบ้าง เรียงลำดับกิจกรรมก่อนและหลังให้ชัดเจน เพื่อสามารถนำโครงการไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและถูกต้อง
11. ผลการศึกษาค้นคว้า
นำเสนอข้อมูลหรือผลการทดลองต่าง ๆ ที่สังเกตรวบรวมได้ รวมทั้งเสนอผล การวิเคราะห์ข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ด้วย
12. สรุปผลและข้อเสนอแนะ
อธิบายผลสรุปที่ได้จากการทำโครงงาน ถ้ามีการตั้งสมมติฐาน ควรระบุด้วยว่าข้อมูลที่ได้สนับสนุนหรือคัดค้านสมติฐานที่ตั้งไว้ หรือยังสรุปไม่ได้ นอกจากนี้ยังควรกล่าวถึงการนำผลการทดลองไปใช้ประโยชน์ อุปสรรคของการทำโครงงานหรือข้อสังเกตที่สำคัญหรือข้อผิดพลาดบางประการที่เกิดขึ้นจากการทำโครงงานนี้ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไข หากมีผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ทำนองนี้ต่อไปในอนาคตด้วย
13. เอกสารอ้างอิง
เอกสารอ้างอิง คือ รายชื่อเอกสารที่นำมาอ้างอิงเพื่อประกอบการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการเขียนรายงานการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ควรเขียนตามหลักการที่นิยมกัน
ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง "กรดจากน้ำผลไม้"
จัดทำโดย
1. นางสาวเยาวรัตน์ ตอสูงเนิน เลขที่ 32
2. นางสาวสไบนาง สนิทภักดี เลขที่ 42
3. นางสาวสุมินตรา ขวัญถาวร เลขที่ 45
ครูที่ปรึกษาการจัดทำโครงงาน
คุณครูสราวุธ โครตมา
โรงเรียนภูเขียว
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 2
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานวิทยาศาสตรื เรื่อง กรดจากน้ำผลไม้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการทดลองหาระดับความเป็นกรดของน้ำผลไม้แต่ละชนิดที่มาผสมกันและทดสอบความสามารถในการกัดกร่อนของน้ำผลไม้ที่ผสมกันแล้วนำมาเติมเกลือละลายน้ำว่ามีฤทธิ์ในการขจัดคราบสกปรกของเหรียญหรือไม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากท่านคุณครู สราวุธ โครตมา ครุประจำวิชาและได้รับการสนับสนุนจากผุ้อำนวยการโรงเรียนภูเขียวและขอขอบพระคุณที่ได้ให้คำปรึกษาในการจัดทำโครงงานและได้รับความอนุเคราะห์จากพ่อแม่ผู้ปกครองที่ได้ให้ข้อเสนอแนะ แนะนำเอกสารตำราต่าง ๆ ให้ศึกษาค้นคว้า
คณะผู้จัดทำ ขอขอบพระคุณทุกท่านดังที่ได้กล่าวถึงมาข้างหน้าและที่ไม่ได้กล่าวถึงไว้ ณ ที่นี้เป็นอย่างสูง
คณะผู้จัดทำ
บทคัดย่อ
โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง กรดจากน้ำผลไม้ การทดลองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ทดสอบหาระดับความเป็นกรดและความสามารถในการกัดกร่อน โดยแบ่งการทดลองออกเป็น2ตอนดังนี้ คือ ตอนที่ 1 ศึกษาหาระดับค่าความเป็นกรด โดยการนำน้ำมะนาวผสมกับน้ำสับปะรด น้ำมะนาวผสมกับน้ำส้ม และน้ำสับปะรดผสมกับน้ำส้ม เพื่อทดสอบหาระดับค่าความเป็นกรด ว่าน้ำผลไม้ที่ผสมกันนั้น แบบใดมีค่าความเป็นกรดเรียงลำดับจากค่า และในตอนที่ 2 จะศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการกัดกร่อนของน้ำผลไม้ที่ผสมกันในตอนที่ 1 โดยการเติมเกลือละลายน้ำลงไปในน้ำผลไม้ที่ผสมกันไว้ทั้ง 3 แบบ แล้วหลังจากนั้นนำเหรียญที่มีคราบสกปรกมาใส่ในน้ำผลไม้ทั้ง 3 แบบ และสังเกตผลการทดลอง
บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ประชาชนส่วนใหญ่นิยมดื่มน้ำผลไม้เพื่อคลายร้อยและกระหาย บางครั้งก็นำนำผลไม้มาแปรรูปซึ่งเป็นการถนอมอาหารอีกรูปแบบหนึ่งหรือนำมารับประทานแทนของว่างก็ได้ กลุ่มของดิฉันจึงได้นำข้อมุลเหล่านี้มาคุยและปรึกษากันกับสมาชิกภายในกลุ่มว่าเราสามารถนำผลไม้บางชนิดที่มีฤทธิ์ความเป็นกรดมาขจัดคราบสกปรกบนเหรียญได้หรือไม่และถ้าต้องจัดระดับค่าความเป็นกรดเมื่อนำน้ำผลไม้มาผสมกับนั้นจะสามารถเรียงลำดับว่าอับว่าอันไหนมีค่าความเป็นกรดสูงสุดจากข้อสงสัยต่าง ๆ เหล่านี้กลุ่มของดิฉันจึงได้คิดค้นจัดทำโครงงานนี้ขึ้นมา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาหาระดับค่าความเป็นกรดของน้ำผลไม้เมื่อนำมาผสมกัน
2. เพื่อศึกษาว่ากรดจากน้ำผลไม้ที่ผสมแล้วเติมเกลือละลายน้ำลงไปจะมีความสามารถในการขจัดคราบสกปรกหรือไม่
3. เพื่อศึกษาหาความสามรในการกัดกร่อนของน้ำผลไม้เมื่อนำเกลือละลายน้ำมาผสม
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ทราบถึงระดับกรดเมื่อทำการทดสอบจากน้ำผลไม้เมื่อนำมาผสมกัน และเรียงลำดับค่าจากมากไปหาน้อย
2. ได้ทราบถึงความสามารถในการขจัดคราบสกปรกของน้ำผลไม้ที่ผสมกันแล้วเติมเกลือละลายน้ำลงไปว่าสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการทำความสะอาดได้จริง
3. ได้ทราบถึงความสามรถในการการกัดกร่อนของน้ำผลไม้ที่ผสมกับแล้วนำเกลือละลายน้ำมาผสมว่า มีฤทธิ์กัดกร่อนจนสามารถขจัดสกปรกได้
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
1. ศึกษาหาระดับค่าความเป็นกรด ของน้ำผลไม้ที่นำมาผสมกัน
2. ศึกษาหาความสามารถในการกัดกร่อนของน้ำผลไม้ที่ผสมกัน แล้วเติมเกลือละลายน้ำลงไปและความสามารถในการขจัดคราบสกปรกบนเหรียญ
สมมุติฐานของการศึกษา
ตอนที่ 1 วัตถุดิบที่นำมาทดลอง มื่อนำมาผสมกันจะทำให้ระดับค่าความเป็นกรดเปลี่ยนไป
ตอนที่ 2 ระดับค่าความเป็นกรด เมื่อนำเกลือละลายน้ำมาผสมลงไปจะทำให้ความสามารถในการกัดกร่อนและขจัดคราบสกปรกได้ดียิ่งขึ้น
ตัวแปร
ตัวแปรต้น
ตอนที่ 1 น้ำมะนาว น้ำสับปะรด น้ำส้ม
ตอนที่ 2 น้ำมะนาว น้ำสับปะรด น้ำส้ม เกลือละลายน้ำ
ตัวแปรตาม
ระดับค่า ph ที่วัดได้จากการทดลอง
ตัวแปรควบคุม
ตอนที่ 1 ปริมาณน้ำมะนาว ปริมาณน้ำสับปะรด ปริมาณน้ำส้ม
ตอนที่ 2 ปริมาณน้ำมะนาว ปริมาณน้ำสับปะรด ปริมาณน้ำส้ม ปริมาณเกลือละลายน้ำ
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ส้ม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร : Plantae
ส่วน : Magnoliophyta
ชั้น : Magnoliopsida
ชั้นย่อย : Rosidae
อันดับ : Sapindales
วงศ์ : Rutaceae
สกุล : Citrus
ส้ม เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Citrus วงศ์ Rutaceae มีด้วยกันนับร้อยชนิด เติบโตกระจายอยู่ทั่วโลก โดยมากจะมีน้ำมันหอมระเหยในใบ ดอก และผล และมีกลิ่นฉุน หากนำใบขึ้นส่องกับแสงแดด จะเห็นจุดเล็ก ๆ เต็มไปหมด ซึ่งจุดเหล่านั้นก็คือแหล่งน้ำมันนั่นเอง ส้มหลายชนิดรับประทานได้ ผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน มักจะมีแคลเซียม โปแทสเซียม ไวตามินเอ และไวตามินซี มากเป็นพิเศษ ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น มะนาว มะกรูด
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร : Plantae
ส่วน : Magnoliophyta
ชั้น : Magnoliopsida
อันดับ : Sapindales
วงศ์ : Rutaceae
สกุล : Citrus
สปีชีส์ : C. aurantifolia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Citrus aurantifolia Swing.
มะนาว (อังกฤษ: lime) เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง ผลมีรสเปรี้ยวจัด จัดอยู่ในสกุล ส้ม (Citrus) ผลสีเขียว เมื่อสุกจัดจะเป็นสีเหลือง เปลือกบาง ภายในมีเนื้อแบ่งกลีบ ๆ ชุ่มน้ำมาก นับเป็นผลไม้ที่มีคุณค่า นิยมใช้เป็นเครื่องปรุงรส นอกจากนี้ยังถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการและทางการแพทย์ด้วย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร : Plantae
ส่วน พืชดอก : Magnoliophyta
ส่วนไม่จัดอันดับ : Angiosperms
ชั้นไม่จัดอันดับ : Monocots
ชั้น พืชใบเลี้ยงเดี่ยว : Liliopsida
อันดับไม่จัดอันดับ : Commelinids
อันดับ : Poales
วงศ์ : Bromeliaceae
วงศ์ย่อย : Bromelioideae
สับปะรด (ชื่อทางวิทยาศาตร์: Ananas comosus) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่ง ลำต้นมีขนาดสูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร การปลูกก็สามารถปลูกได้ง่ายโดยการใช้หน่อหรือที่เป็นส่วนยอดของผลที่เรียก ว่า จุก มาฝังกลบดินไว้ และออกเป็นผล เปลือกของผลสับปะรดภายนอกมีลักษณะคล้ายตาล้อมรอบผล
บทที่ 3
วิธีดำเนินการโครงงาน
อุปกรณ์และวีธีการทดลอง
1. วัสดุ
1.1 น้ำมะนาว
1.2 น้ำสับปะรด
1.3 น้ำส้ม
1.4 เกลือละลายน้ำ
1.5 เหรียญหนึ่งบาท 3 แหรียญ
2. อุปกรณ์
2.1 มีด
2.2 แก้วขนาดกลาง 3 ใบ
2.3 ชามใบเล็ก 2 ใบ
2.4 ช้อน 2 คัน
2.5 เขียง
2.6 กระดาษลิตมัส
ขั้นตอนและวิธีการดำเนินงาน
1. ขั้นตอนการเตรียมวัสดุ
1.1 นำมะนาว สับปะรดและส้มมาคั้นให้ได้น้ำและกรองเอาตะกอนทิ้ง
1.2 นำเกลือมาละลายน้ำละอาดทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที
ขั้นตอนการทดลอง
ตอนที่ 1 ศึกษาระดับค่าความเป็นกรดของน้ำผลไม้เมื่อนำมาผสมและเรียงลำดับจากค่ามากไปหาค่าน้อย
1.1 นำมะนาว ส้ม สับปะรด มาคั้นให้ได้น้ำ
1.2 เมื่อได้น้ำผลไม้ทั้ง 3 ชนิด แล้วให้นำมาผสมกันตามสัดส่วนดังนี้
1.2.1 นำน้ำสับปะรดไปผสมกับน้ำมะนาว ในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะเท่ากัน
1.2.2 นำน้ำส้มไปผสมกับน้ำมะนาว ในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะเท่ากัน
1.2.3 นำน้ำส้มไปผสมกับน้ำสับปะรด ในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะเท่ากัน
1.3 เมื่อนำไปผสมตามสัดส่วนแล้ว คนให้เข้ากันแล้วทดสอบหาระดับค่าความเป็นกรดด้วยกระดาษลิตมัส
1.4 บันทึกผลการทดลองที่ได้ โดยการเรียงลำดับระดับค่าความเป็นกรด จากค่ามากไปหาค่าน้อย
ตอนที่ 2 ศึกษาหาความสามารถในการกัดกร่อนและขจัดคราบสกปรกบนเหรียญ เมื่อนำเกลือละลายน้ำผสมลงไป
2.1 ให้นำเกลือละลายน้ำที่ได้ไปผสมกับน้ำผลไม้ในตอนที่1 ในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ
2.2 คนให้เข้ากัน แล้วนำเหรียญที่มีคราบสกปรกใส่ลงไปในน้ำผลไม้ที่ผสมเกลือละลายน้ำไว้
2.3 ทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที แล้วสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
2.4 นำเหรียญออกมาล้างน้ำสะอาด เช็ดให้แห้งนำมาเปรียบเทียบกัน แล้วบันทึกผลการ ทดลองที่เกิดขึ้น
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล/ผลการจัดทำโครงงาน
ผลการทดลอง
ตอนที่ 1 ระดับค่าความเป็นกรดของน้ำผลไม้เมือนำมาผสมกันเรียงลำดับจากค่ามากไปหาค่าน้อยเป็นนดังนี้
ตอนที่ 2 ความสามารถในการกัดกร่อนและขจัดคราบสกปรกบนเหรียญเมื่อนำน้ำน้ำเกลือละลายน้ำผสมลงไป
แก้วที่ 1 น้ำส้ม + น้ำมะนาว
แก้วที่ 2 น้ำมะนาว + น้ำสับปะรด
แก้วที่ 3 น้ำส้ม + น้ำสับปะรด
เหรียญหนึ่งบาทที่สกปรกจำนวน 3 เหรียญ
- เหรียญที่มีสกปรกใส่ในแก้วน้ำผลไม้ผสมเกลือละลายน้ำ
- เหรียญที่ผ่านการแช่น้ำผลไม้ผสมเกลือละลายน้ำ 30 นาที
บทที่ 5
สรุปผลและอภิปรายผลการดำนินการจัดทำโครงงาน
จากผลการทดลองสรุป ได้ดังนี้
1. เมื่อนำน้ำส้มผสมกับน้ำมะนาวจะได้ค่า pH เท่ากับ 4.0
2. เมื่อนำน้ำมะนาวผสมกับน้ำสับปะรดจะได้ค่า pH เท่ากับ 3.0
3. เมื่อนำน้ำสมผสมกับน้ำสับปะรดจะได้ค่า pH เท่ากับ 4.5
แสดงว่ามื่อนำน้ำมะนาวมาผสมกับน้ำสับปะรดจะพบว่าค่าความเป็นกรดสูงกว่า น้ำมะนาวผสมกับน้ำส้ม และน้ำส้มผสมกับน้ำสับปะรด นอกจากนี้เรายังพบว่าเมื่อนำน้ำผลไม้ที่ได้จากการผสมกันดังกล่าวทั้ง 3 ชนิด มาเติมเกลือละลายน้ำลงไปแล้วนำเหรียญที่มีคราบสกปรกใส่ลงไปตั้งเวลาไว้ประมาณ 30 นาที ภายหลัง 30 นาที นำเหรียญออกมาล้างน้ำสะอาดพบว่าเหรียญที่อยู่ในน้ำผสมไม้ที่มีค่า pH สูงที่สุดมี่ความสะอาดมากที่สุด เพราะกรดที่เข้มข้นจะมีฤทธิ์การกัดกร่อนมากที่สุดตามลำดับความเข้มข้นของกรด
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการทดลอง
1. สามารถนำน้ำผลไม้มาทำความสะอาดเหรียญที่มีคราบสกปรกได้
2. สามารถทราบถึงฤทธิ์ของกรดที่กัดกร่อนคราบสกปรกบนเหรียญได้
3. สามารถทราบว่าน้ำผลไม้ชนิดใดมีค่าความเป็นกรดมากและมีฤทธิ์การกัดกร่อนไดดีที่สุด
ข้อเสนอแนะ
1. เราอาจนำน้ำผลไม้ชนิดอื่นที่มีฤทธิ์เป็นกรดที่หาได้ง่ายตามครัวเรือนของคุณ
2. เราอาจนำการทดลองนี้ไปทดลองกับสิ่งอื่นๆที่มีคราบสกปรกติดอยู่ เช่น สร้อยคอ แหวน พวงกุญแจ
บรรณานุกรม
หนังสือเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม เล่ม 4 (เคมี ). กรุงเทพ: 2550
ตัวอย่างโครงงานวิทยาศาสตร์จากโรงเรียนอรุโณทัย จังหวัดลำปาง
นพ.ประวิตร พิศาลบุตร.นิตยสารเพื่อสุขภาพ หมอชาวบ้าน (กรดคือ ?) . ฉบับที่ 322 : กรุงเทพ:สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน บจก. , 2550
www.doctor.or.th
www.google.com
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
อาจารย์พรเทพ จันทราอุกฤษฎ์, l3nr.org,