กยศ. เล็งนำรายชื่อลูกหนี้จอมเบี้ยวส่งเข้าเครดิตบูโร ปี 2561 ขณะที่องค์กรนายจ้างและหน่วยงานข้าราชการบางแห่ง ทำ MOU กับ กยศ. เพื่อตรวจสอบผู้กู้ที่เข้าทำงาน
วันที่ 7 กรกฎาคม 2558 นายพชรปพน พุ่มประพันธ์ ได้เข้าพูดคุยกับ ดร.ฑิตติมา วิชัยรัตน์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ถึงเรื่องสถานะผู้กู้ยืมเงินกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ก่อนที่จะนำมาเล่าผ่านทวิตเตอร์ @Pacharapapon ว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กยศ. ยังไม่มีการออกมาตรการเด็ดขาดเพื่อมาจัดการกับผู้กู้ยืมเงิน กยศ. ที่ไม่ยอมชำระเงินคืน แต่จะเน้นการประนีประนอมแทน แถมรอบการชำระเงินคืน กยศ. เมื่อไม่นานมานี้ ก็ได้มีการจัดโปรโมชั่น ลดต้น ลดดอก และไม่เสียเบี้ยปรับ เพื่อจูงใจรุ่นพี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ให้ชำระเงินคืน กยศ.
ดร.ฑิตติมา กล่าวต่อว่า เรื่องชำระเงินคืน กยศ. นั้น จริง ๆ ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของผู้กู้ที่เรียนจบแล้ว ทำงานแล้วมากกว่า ว่าเหตุใดไม่ยอมคืนเงิน และเมื่อดูจากสถิติการคืนเงินกู้เมื่อปี 2557 พบว่า มีผู้กู้ชำระเงินคืน กยศ. น้อยกว่า จนทำให้กองทุน กยศ. เผชิญสภาวะวิกฤตขาดแคลนเงินไปปล่อยกู้ให้แก่นักเรียนและนักศึกษาที่ประสงค์จะกู้เงินเรียนในปีถัดไป เนื่องจากเงินที่ กยศ. จะให้นักศึกษากู้ยืม มาจาก
- งบประมาณประจำปี**
- เงินหมุนเวียนจากการใช้คืนของคนที่เรียนจบแล้ว
ดังนั้น หากวันนี้คุณไม่ชำระเงินคืน กยศ. ก็อาจจะทำให้นักศึกษาอีกหลายแสนคนไม่ได้เงินจากกองทุน กยศ. เพื่อเรียนต่อ
ดร.ฑิตติมา ได้กล่าวถึงมาตรการที่จะใช้กับผู้กู้ที่ไม่ยอมชำระเงิน ว่าจะมีการประสานองค์กรนายจ้าง เพื่อขอหักจากเงินเดือนกับบริษัทที่ผู้กู้ทำงานอยู่ เบื้องต้นคาดว่า ต้องใช้เวลาอีก 5-10 ปี จึงจะเริ่มทำได้ นอกจากนี้ ในปี 2561 ทาง กยศ. ยังเตรียมส่งข้อมูลผู้กู้เข้าเครดิตบูโร
เกาะติดข่าว กยศ. ทั้งหมดคลิ กเลย
ภาพจาก ทวิตเตอร์ @Pacharapapon
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ทวิตเตอร์ @Pacharapapon